ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ผนึกพันธมิตรสายเขียว รวมพลัง ปรับพฤติกรรมตระหนักรู้ บริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤติโลกร้อน สู่โลกยั่งยืน
รู้สึกกันบ้างไหมว่า โลกร้อนขึ้นในวันนี้ ผลกระทบมาถึงเราทุกคน ทั้งอากาศร้อน ฝนตกหนัก น้ำท่วม ฝุ่นพีเอ็ม2.5 ทำอากาศที่เราหายใจไม่บริสุทธิ์ ภูมิแพ้กลายเป็นโรคประจำตัวที่ต้องอาศัยอยู่กับภาวะไม่ปกติสุขของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change)
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ที่เห็นชัดเจนคือ น้ำท่วมซ้ำซากที่ไม่ใช่ปัญหาใหม่ของคนเมืองกรุง แต่สิ่งที่มากขึ้นกว่าเดิมคือมันหนักขึ้น รวมถึงควันพิษในอากาศ ที่ล้วนเป็นผลมาจากโลกร้อนขึ้น แม้จะมีการเผาไหม้พืชผลทางการเกษตรในชนบท หรือบนเขา แต่ผลกระทบได้ลุกลามมาถึงคนในเมืองกรุงแล้ว เราทุกคนต้องต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนร่วมกัน
ทุกคนต่างต้องลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อให้โลกที่เราอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม พร้อมกันกับร่วมมือกันออกแบบโครงสร้างบ้านเมืองใหม่ สภาวะแวดล้อมใหม่ที่ทัุกคนอยากเห็นในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า เมืองหลวงของไทย และประเทศไทยต้องดีกว่าวันนี้
ผลกระทบจากวันนี้เป็นการกระทำของเมื่อวาน และผลกระทบในอนาคต คือการเริ่มต้นทำตั้งแต่วันนี้
ปัญหามลพิษและอุณหภูมิที่ร้อนมากขึ้น เกิดจากประชาชนขาดการตระหนักรู้ เราจึงต้องยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของผู้เริ่มต้นสร้างปัญหา ต้นเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน จึงเกิดแนวคิดการจัดตั้ง ชุมชนคนสายกรีน “Green Community สรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี สู่สังคมที่ยั่งยืน” ชวนทุกคนมาร่วมเรียนรู้และผนึกกำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ในการทำให้โลกนี้น่าอยู่ สิ่งแวดล้อมที่ดี โลกที่ยั่งยืนไปด้วยกัน
โดยผนึกพันธมิตรสายกรีน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ประกอยด้วย กรุงเทพมหานคร, CHULA Zero Waste, บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน),โรงแรมศิวาเทล GC YOU เทิร์น และเครือข่ายพันธมิตรสายกรีน มารวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ สร้างคุณค่าแก่สังคม ในการร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน เพื่อส่งต่อโลกที่น่าอยู่ต่อไปแก่คนรุ่นหลังกับงาน Green Community
ภายในงาน มีเวที Green Talk เสวนา Sustrends to Sustain ที่เป็นเทรนด์สู่ความยั่งยืน บอกเล่าที่มาการเกิดภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติ ร่วมถึงวิธีการเป็นส่วนหนึ่งของสายกรีน ที่เริ่มต้นจากตัวเราสู่ในสังคม โดยผู้เข้าร่วมเสวนา อาทิ
พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดมุมให้เห็นภาพชัดเจนโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าเกิดขึ้นและส่งผลกระทบกับทุกน สิ่งที่ต้องทำคือลุกขึ้นมาปรับตัว แก้ไขปัญหาร่วมกัน มากกว่าการวิตกกังวลถึงปัญหา การสร้างชุมชน (Community) จึงถือเป็นทางออกที่ใช่ ในการสร้างแนวร่วมแก้ไขปัญหาโดยกระตุ้นให้เริ่มต้นจากการตระหนักรู้ส่วนบุคคล (Individual)
ปัญหาโลกร้อน เกิดจากากรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจก โดยภาคที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดคือ ภาคพลังงานสัดส่วน 60% รองลงมา คือ ภาคการขนส่ง สัดส่วน 30% จึงต้องเริ่มต้นจากการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งในระดับอุตสาหกรรมจนถึงชุมชน ตลอดจน การใช้บริการขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า ไม่ปล่อยมลพิษ
คนกทม.เตรียมตัว ไม่แยกขยะเก็บเงินค่าขยะแพงขึ้น
“ปัญหาก๊าซเรือนกระจก มีเทน จากขยะและน้ำท่วม ต้องแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ไม่ใช่เพียงแค่อาคารหรือ โรงงานติดโซลาร์ แต่จะต้องลงไปถึงระดับครัวเรือน รวมถึงการปรับเปลี่ยนการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ประหยัดไฟ และการใช้ขนส่งมวลชน เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด รวมถึงการเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า”
สำหรับปัญหาขยะทั้งในภาคธุรกิจ และครัวเรือนอีก 2 ล้านครัวเรือน ที่ต่างไม่มั่นใจในการแยกขยะ แล้วมาเทรวมในปลายทาง จึงต้องมีการนำแนวทางการจ่ายค่าขยะแพงขึ้นหากไม่แยก เริ่มต้นในปีหน้า
“มนุษย์คือสัตว์โลก ส่วนหนึ่งในระบบนิเวศวิทยาดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศเราตายแน่นอน จึงต้องมองให้เชื่อมโยงกัน ปลูกฝังเด็กๆ ทุกคน”
ร่วมใจดับ องศาเกิน 1.5 ผ่าน โรงแรม Zero Food Waste
อลิสรา ศิวยาธร CEO Sivatel Bangkok Hotel มองว่า ข้อมูลที่ชัดเจนจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ระบุว่าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศา มาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มนุษย์ทุกคนจึงได้รับผลกระทบ หลังจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้น ส่งผลกระทบกับกรุงเทพ เป็นเมืองที่ได้รับความเสี่ยง น้ำท่วม แหล่งน้ำสะอาดทำน้ำประปา จะมีปัญหาในอนาคต ดังนั้นจึงต้องร่วมมือแก้ไขปัญหา ทั้งลด และจัดการแก้ปัญหาปลายทาง
การลดขยะที่ชัดเจนของศิวาเทล เริ่มต้นไม่ใช้พลาสติก แบบใช้ครั้งเดียว (Single Used) ตั้งแต่ปี 2017 และมีการบริหารจัดการอาหาร ด้วยการจัดการปริมาณขยะ 55% เทรนพนักงานในโรงแรมให้มีการจัดการขยะที่เริ่มต้นคิดตั้งแต่ต้นทาง ฝ่ายจัดซื้อ วางแผนการทำอาหารลดปริมาณให้พอดีกับจำนวนในแต่ละวัน มีปริมาณอาหารในบุฟเฟต์น้อยลง ประมาณขยะจากเศษอาหารนำไปหมักเป็นปุ๋ย โดยใช้การเลี้ยงหนอนแมลงวัน ทำให้ลดปริมาณขยะได้ 46% พร้อมกันกับมีการบริหารจัดการปลายทาง ทำเรื่อง ธนาคารขยะทองคำ สามารถนำสัดส่วนขยะ 13% ไปรีไซเคิล ทำให้เป็นโรงแรม Zero Food Waste เป็นรูปธรรม สำเร็จภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ได้รับรางวัลล่าสุด Gold Award Corporate Responsibility 2024 จาก Pacific Asia Travel Association
“เราอยากมีสังคมที่ดีขึ้น เราอยากมีโลกที่ดีขึ้น ต้องลงมือทํา สร้างการเปลี่ยนแปลง นับถอยหลังไปด้วยกัน”
วิภวี จันโททัย Sustainability Leads บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าว่า ผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อน จึงนำมาสู่ผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ปัญหามลพิษ ยังถือว่ามีโอกาสจัดการให้ดีขึ้นได้ หากมีความร่วมมือกัน ตั้งแต่มลพิษทางอากาศ ที่อาจจะมีการแก้ไขปัญหาไปที่การเดินทางโดยเครื่องบิน
“ช่วยกันสร้าง Green Community สร้างมิตร ในการเดินสายสีเขียว ช่วยกันแก้ไขปัญหา ที่เริ่มต้นจากตัวเรา สร้างชุมชนที่น่ารัก พันธมิตรการทำงาน ทุกคนที่อยากให้ให้สังคม และโลกของเราดีขึ้น”
เอ็ม บี เค ศูนญ์การค้า ใช้เอไอ ควบคุมความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ
พุทธชาด ศรีนิศากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) เล่าถึงวิกฤตสภาพภมิอากาศ ใกล้ตัวกว่าที่คิดจริงๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเงอ เคยเลือดกำเดาไหลจากการหายใจ เมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้อากาศดีขึ้น เย็นสบาย เพราะยังไม่มีการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตร แต่ก็ยังไว้วางใจไม่ได้ เพราะปัญหาเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นทุกปี ทำให้ทุกคนต้องเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภาวะเป็นพิษ และส่งกระทบไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพ จึงต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน ช่วยกันควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศา
“เราต้องพยายามควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศา แต่ตอนนี้มันถึงแล้วและเกินแล้ว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นเราทุกคนต้องลงมือทำเริ่มจากตัวเรา ตอนนี้เลย เพื่อให้ทุกคนบนโลกมีชีวิตอยู่ต่อ เพราะโลกส่งสัญญาณมาแล้วว่าไม่ไหวแล้ว ตลอดปีที่ผ่านมา ภาวะแล้ง น้ำท่วม ดินสไลด์ ล้วนเป็นสัญญาณจากภาวะวิกฤตสภาพอากาศ ”
ทาง เอ็ม บี เค มีการลดคาร์บอนฟุตพรินท์ในศูนย์การค้าที่มีผู้เข้ามาเดินวันละกว่า 1 แสนคน จึงต้องปลุกการตระหนักรู้ โดยการขอความร่วมมือผู้เช่า ในการแยกขยะ โดยเฉพาะอาหาร ขณะเดียวกันจะเปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน และนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษ (AI) มาช่วยคำนวณปริมาณ ควบคุมการปล่อยความเย็นในเครื่องปรับอากาศ เพื่อประหยัดไฟฟ้า
“ต้องเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เน้นการบริโภคเท่าที่จำเป็น การกินไม่ให้เกิดของเหลือ (ฟู้ดเวสท์) สั่งน้อยทานน้อย ไม่ให้เหลือจนเกิดคาร์บอน หากมีขยะจากอาหารก็นำไปทำเป็นปุ๋ย โดยให้แรงจูงใจด้านอื่น ๆ กับร้านค้าที่ให้ความร่วมมือแยกขยะ รวมถึงชีวิตส่วนตัว การซื้อเสื้อผ้า หรือ ใช้ถุงพลาสติกพยายามนำมาใช้ซ้ำ”
เป้าหมาย เป็นกลางทางคาร์บอน
ทางด้านศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (MBK Center) ได้ตระหนักและได้มีการขับเคลื่อนสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ พร้อมทั้งบริหารจัดการให้มีพื้นที่สีเขียว และมีเป้าหมายในการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2040 (พ.ศ.2583) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2050 (พ.ศ.2593) โดยทาง MBK มีการรณรงค์และดำเนินการในด้านสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการบริหารจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งการบริหารจัดการ พลังงาน อากาศ นํ้า ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการของเสีย เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเป็นระบบและมุ่งสู่ความยั่งยืน
นอกจากนี้ทาง MBK ยังได้ติด Solar Rooftop เป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานสะอาด เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงพลังงาน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ไฟฟ้า และร่วมรักสิ่งแวดล้อม
จุฬา ซีโร่ เวสต์ เริ่มต้นเปลี่ยนไมด์เซ็ต คำว่า รับผิดชอบ เป็นนิสัย
กอปร ลิ้วสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบหายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปละผู้จัดการโครงการ CHULA Zero Waste กล่าวถึงโครงการ จุฬา ซีโร่เวสท์ ว่า โครงการเกิดขึ้นได้ด้วยแนวคิดจัดการขยะภายในองค์กรให้เหลือน้อยที่สุด ที่เริ่มต้นจากการปรับไมด์เซ็ท ทำให้ทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบ ขยะที่เกิดจากตัวเอง พร้อมกันกับปลูกฝังกับเด็ก เยาวชนในสถาบันการศึกษา ให้เป็นนิสัย จนทำให้เกิดความร่วมมือ และมั่นใจว่า กทม. จะนำไปแยกขยะจัดการต่อไปได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
“ให้ความสําคัญปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสํานึก การจัดการขยะและลดขยะ มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตระหนักรู้เรื่องโลกร้อนที่เกิดจากการใช้ชีวิตและการบริโภค เพื่อปลูกฝังให้มีการบริโภคพร้อมกันกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วย เพราะมันไม่ใช่เฉพาะโลกของเราคนเดียว แต่ต้องส่งต่อไปให้รุ่นลูกรุ่นหลานของเรา”
Green Community สร้างสังคมสีเขียวสู่ความยั่งยืน งานรวมพลังพันธมิตรสายกรีน พร้อมนวัตกรรมรักษ์โลกและกิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกิจกรรม 4 โซน อาทิ เสวนา Green Talk, โชว์นวัตกรรมรีไซเคิล, ตลาดสินค้ารักษ์โลก และ Workshop D.I.Y. โดย MBK Center มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2050 เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ภายในงานยังมีการแสดงโชว์วงดนตรีไทย Upcucling จากโรงเรียนสิงห์บุรี ที่ได้นำเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในท้องถิ่นมาทำเป็นเครื่องดนตรีไทยรีไซเคิล ที่สามารถเล่นดนตรีได้จริงอีก และกิจกรรมดี ๆ ภายใต้ โครงการ MBK CARE ภายในงานจะมีโซนกิจกรรมทั้งหมด 4 โซน ได้แก่
Green Showcase ที่ได้ร่วมกันขนทัพนักนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยมีบูธกิจกรรม ให้การเรียนรู้ในการแยกขยะ การทำเศษอาหารมาเป็นปุ๋ย การนำผ้าส่วนเกิน ผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาเย็บใหม่เพื่อเป็นแฟชั่นในแบบที่ไม่ซ้ำใคร
Green Market ตลาดที่รวมสินค้ารักษ์โลกไว้อย่างอย่างหลากหลาย มีมากกว่า 20 บูธ แต่ละบูธมีการจำหน่ายเสื้อผ้า ของใช้ภายในบ้าน เครื่องประดับต่าง ๆ ที่ถูกผลิตจากทรัพยากรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีสินค้าอื่น ๆ อย่างเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ผัก ที่ปลอดภัยและสามารถบริโภคได้อย่างไม่รู้สึกผิด ซึ่งทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ยังเป็นไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
Green D.I.Y เป็นโซนกิจกรรมที่เอาใจสาย D.I.Y อย่างมาก Workshop สายกรีน ที่จะพาทำพวงกุญแจจากฝาขวดน้ำพลาสติก โดยมีเครื่องทำพลาสติกของ YOLO – Zero Wast Your Life ที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ ทำให้ได้ตระหนักถึงคุณค่าและเพิ่มมูลค่าของสินค้า