เปิดสินเชื่อแบงก์ งัด ‘แรงจูงใจ’ เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ’ปฏิวัติสีเขียว’

เปิดสินเชื่อแบงก์ งัด ‘แรงจูงใจ’ เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ’ปฏิวัติสีเขียว’


ธนาคาร ต่อจิ๊กซอว์ เคลื่อนธุรกิจสู่ “ปฏิวัติเศรษฐกิจสีเขียว” จึงออกแบบโซลูชั่นการเงิน “สินเชื่อลดโลกร้อน” (Decarbonize Loan) ตัวช่วยให้บุคคลปรับพฤติกรรม และธุรกิจ เปลี่ยนผ่านกระบวนการผลิต ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สังคมสีเขียว

 

 

ปัญหาโลกร้อน (Climate Change) คือคลื่นยักษ์แห่งการเปลี่ยนผ่าน ที่ทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน จะต้องมุ่งไปสู่วิถีชีวิตใหม่ เพราะสภาพอากาศแปรปรวน ในแต่ละปีต้องเผชิญกับอากาศที่ยากคาดเดา ทั้งภัยแล้ง (เอลนีโญ) สลับกับฝนตกหนัก (ลานีญ่า) ซับซ้อนต่อการบริหารจัดการรับมือต่อน้ำท่วม และน้ำแล้ง รวมถึงมลพิษ ฝุ่น PM 2.5 ทรัพยากรเสื่อมโทรม ขยะล้นเมืองและมหาสมุทร 

 ตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ฐานคนรวยสามารถเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน แต่คนระดับล่างจำนวนมากกลับเข้าไม่ถึงโอกาส เกิดความแตกแยกทางสังคม ทั้งหมดทั้งมวลคือผลพวงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยการเติบโตทางตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) เพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อตอบสนองจนเกินความต้องการ เพื่อเร่งให้ภาคธุรกิจแข่งกันเติบโต เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) ที่ไม่ได้เข้าใจทั้งกระบวนการปลายทาง ว่าการขับเคลื่อนเป้าหมายตัวเลขการเติบโตที่ได้มา จะส่งผลกระทบต่อ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ท้ายที่สุดปัญหาเหล่านี้ก็ส่งผลย้อนกลับมาสู่การทำธุรกิจ!!!

ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ ระบุถึงClimate change ส่งผลกระทบโดยตรงกับไทย เพราะติดอันดับ 9 ของประเทศที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดจากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, สัดส่วน 1 ใน 3 ของแรงงานในภาคการเกษตรจะได้รับผลกระทบจากClimate Change, ขีดความสามารถในการรับมือภัยทางธรรมชาติอันดับที่ 39 จาก 48 ประเทศ หากไม่เร่งทำอะไรเลย จะเกิดการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลสัดส่วน 43 %ต่อจีดีพี

ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนโลกสู่การ “ปฏิวัติสีเขียว” โดยมาจากแรงกดดันจากบริษัทขนาดใหญ่และตลาดทุน ให้ปรับกระบวนการผลิตซัพพลายเชน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เพื่อเป้าหมายมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 สัดส่วนทั่วโลกคาดว่าไม่ต่ำกว่า 50%

30% อุตสาหกรรมไทยอยู่ในโลกเก่า
เสี่ยงถูกทิ้งจากการเปลี่ยนผ่าน

ทว่า ภาคอุตสาหกรรมของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในโลกเก่าสัดส่วนถึง 30% ของจีดีพี อาทิ ยานยนต์ ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจใหม่ อาทิ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM-Carbon Border Adjustment Mechanism) ในยุโรป ส่งผลกระทบถึงทั้งซัพพลายเชนที่แม้ไม่ได้ส่งออก แต่หากเป็นซัพพลายเชนเชื่อมกับธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องถูกตัดออกจากห่วงโซ่การผลิต (ซัพพลายเชน) หากไม่เร่งดำเนินการทำอะไรปรับการผลิต

อุตสาหกรรมไทย จึงต้องขับเคลื่อนตัวเองให้ตอบโจทย์ เมกะเทรนด์ เปลี่ยนผ่านโมเดลธุรกิจใหม่ “แก้ไขปัญหาโลก” เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้พลังงานสะอาด คำนึงถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมถึงช่วยเหลือสังคมคนเปราะบาง

ส่วนธุรกิจเก่า หากไม่ปรับตัว ธุรกิจจะถูกทิ้งออกจากตลาดทั้งลูกค้า ซัพพลายเชน

แบงก์ชาติ พัฒนา “Thailand Taxonomy Phase” เพื่อจัดแยกกลุ่มประเภทธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อเป็นการจัดระบบสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน ให้กับธนาคาร

สินเชื่อสีเขียว คือสินเชื่อ ที่มีโอกาสในการเปลี่ยนผ่าน เป็นธุรกิจมีอนาคต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานหมุนเวียนต่างๆ 
สีเหลือง ธุรกิจที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใกล้เคียงกับเป็นศูนย์ แต่ยังมีโอกาสในการปรับตัว
สีแดง ธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องทยอยยกเลิก เช่น พลังงานไฟฟ้าจากฟอสซิล ถ่านหิน

ธุรกิจ SMEs จึงต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ (New Business Model) ไปสู่การพัฒนาสินค้ามุ่งตอบโจทย์เศรษฐกิจ “สีเขียว” ( Lean & Green) เป็นอุตสาหกรรมใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ และลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและโลกให้น้อยที่สุด มีการปรับ เปลี่ยนกระบวนการผลิตคู่กับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ ธุรกิจสีเขียว (Green Business) ตอบโจทย์ ไลฟ์ไสตล์ สังคมเศรษฐกิจสีเขียว รองรับการปรับพฤติกรรมสู่การรักษ์โลก ที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ การลดการใช้พลาสติก เดินทางด้วยรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือแม้แต่การซื้อบ้านใหม่ และสร้างธุรกิจ

ธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน คือ จิ๊กซอว์ สำคัญที่จะขับเคลื่อนทิศทางธุรกิจสู่ “สังคมสีเขียว” จึงต่างทยอย ออกแบบโซลูชั่นทางการเงินในรูปแบบของ “สินเชื่อลดโลกร้อน” (Decarbonize Loan) ที่จะเป็นตัวช่วยให้บุคคล และธุรกิจกลุ่มสีเขียวเคลื่อนไปข้างหน้า และสีเหลืองปรับเปลี่ยนตัวเองเปลี่ยนผ่าน รวมถึงช่วยให้ธุรกิจสีแดง ทิ้งธุรกิจมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ ตอบโจทย์ตลาดสีเขียว พร้อมกันกับสนับสนุนประชาชน ร่วมรักษ์โลก เช่น สินเชื่อบ้านประหยัดพลังงาน

สินเชื่อลดโลกร้อน ได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งในฝั่งผู้ให้บริการทางการเงิน และผู้ขอสินเชื่อ ไปดูกันว่ามีโซลูชันทางการเงินแบบไหนบ้างที่ออกแบบมาเพื่อลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan)