เปิดหมุดหมาย โครงการ “พอแล้วดี The Creator” รุ่นที่ 9 การเดินทางที่เข้มข้น ในหมุดหมาย ที่ 9 ปลุกหัวใจ คนรุ่นใหม่กว่า 100 แบรนด์ ระเบิดภายใน สานต่อศาสตร์พระราชา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งธุรกิจ ฉายอัตลักษณ์ภูมิปัญญาไทย สู่พลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เกิดการพัฒนายั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
เราคงเคยได้ยินหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการ ที่ชื่อว่า “พอแล้วดี The Creator” หลักสูตรพัฒนานักธุรกิจไทย ที่น้อมนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้กับธุรกิจ หลักสูตรนี้รับจำกัดเพียงแค่รุ่นละ 15-20 คน แต่สิ่งที่พิเศษคือ ผู้ที่จะเข้าอบรมหลักสูตรล้วนเป็นผู้ประกอบการที่ยึดมั่นในศาสตร์พระราชา แนวคิดหลักทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( Sufficiency Economy Philosophy – SEP) ของในหลวงรัชกาลที่9 มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ แต่ที่พิเศษคือ หลักสูตรนี้คัดเลือกคนเข้าฝึกอบรม ที่จะต้องสัมภาษณ์คัดคนจากการพิจารณาด้วยทัศนคติ กรอบความคิด (Mindset) หลายคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจมียอดขาย และรางวัลมากมาย แต่ไม่สามารถผ่านเข้ารับอบรมได้ เพราะมีไมด์เซ็ททางธุรกิจที่มุ่งเน้นการตอบสนองกิเลส หรือ ขาดความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นสมดุล ความสมประโยชน์ของธุรกิจ ให้กับคนห่วงโซ่ โดยนำสินค้าและบริการไปพัฒนาไปเกื้อกูล สร้างคุณค่าให้กับผู้คนในสังคม และสิ่งแวดล้อม จึงถือตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
สำหรับ โครงการพอแล้วดี ได้อบรมเสร็จสิ้นไปแล้ว 9 รุ่นจนถึงปัจจุบัน พัฒนาผู้ประกอบการไปแล้วกว่า 150 แบรนด์
ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการโครงการพอแล้วดี The Creator เปิดเผยว่า โครงการ “พอแล้วดี The Creator” พัฒนาเป็นเวลากว่า 9 ปี มีเป้าหมายต้องการช่วยกันสร้างคน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชามาพัฒนา โดยเป็นศาสตร์แห่งการพัฒนา ความประพฤติการอยู่ร่วมกันของคนได้อย่างสันติสุข โดยกระตุ้นการตระหนักรู้ให้ทุกคนลุกมาปรับปรุงความประพฤติ ภายใต้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้ จึงทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล จึงเกิดการพัฒนายั่งยืนให้ทุกคนเข้าถึงความสุขอย่างสมดุลได้อย่างแท้จริง
โครงการพอแล้วดี The Creator มุ่งเน้นการสร้าง “คน” เพราะเชื่อมั่นว่า คนเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทุกการพัฒนาต้องการคน ทำหน้าที่เป็นผู้สร้าง สร้างโอกาส สร้างอนาคต สร้างการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญ เป็นผู้สานต่อ แนวคิดที่จะเกื้อกูลคนในสังคมให้รู้จักความพอดี พอประมาณ จึงค้นพบความสมดุล
กลุ่มแบรนด์ ที่เข้ามาอบรม จะต้องเป็นผู้ขับเคลื่อน เป็นเครื่องมือในการที่จะสานต่อศาสตร์พระราชา ถือเป็นศาสตร์แห่งการพัฒนาระดับโลก ศาสตร์แห่งการลงมือทำ สร้างการอยู่ร่วมกัน พัฒนาเรื่องความประพฤติ จุดสำคัญเริ่มต้นจะต้องขัดเกลาให้ผู้เข้าอบรม ได้จักตัวตน และเป้าหมายของแบรนด์ (Brand Purpose) ในการพัฒนาสินค้าและบริการ สู่การสร้างประโยชน์ให้กับสังคม
“ในหลวงรัชกาลที่9 พูดตลอดมาการรู้จักตัวเอง สร้างภูมิคุ้มกันและการมีเหตุผลนั้นมันเป็นทักษะ และนํามาสู่สิ่งที่เรียก ความประพฤติ พอแล้วดีต้องเป็นแบรนด์ที่คนจะต้องจดจํา
แบรนด์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง ทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยแบรนด์ เป็นแค่เครื่องมือในการที่จะสานต่อศาสตร์พระราชา ศาสตร์แห่งการพัฒนา ศาสตร์แห่งการลงมือทำ สร้างการอยู่ร่วมกัน พัฒนาเรื่องความประพฤติ จากการการรู้จักตัวตน”
โครงการสามารถพัฒนาสอดคล้องกันกับบริบทโลกในยุคปัจจุบัน ที่เชื่อมโยงกัน โดยพัฒนาคนจากตัวตนข้างใน ที่เมื่อเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้จากภายในก็จะไม่ใช่ทำแค่เป็นวาทกรรม แต่น้อมนำมาพัฒนาได้จริง ทำให้เกิดความยั่งยืนสอดคล้องกันกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
หมุดหมาย 9.1 พาไปสู่การ Bootcamp
สำหรับเรื่องราว ผลความสำเร็จของพอแล้วดี The Creator รุ่น ๙ ปี 2567 แล้วก้าวใหม่ก้าวต่อไปในระดับสากลของโครงการฯในปี 2568 ที่ได้มีการประเมิน ด้วยการเก็บข้อมูลกับ The Creator ที่จบการอบรมไปแล้ว รวมทั้ง พิจารณาจากบริบทการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ สังคม และ โลก ทางโครงการฯจึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรม การพัฒนา การเรียน การสอนให้เป็นรูปแบบที่เข้มข้น กระชับ จัดเต็ม ในรูปแบบ Bootcamp 3 ครั้งๆ ละ 5 วันเป็นอย่างต่ำ
โครงการพอแล้วดี The Creator ในปี 2568 ที่จะใช้เลข 9 เป็นหมุดหมายตั้งต้นเป็น รุ่นที่ 9.1 ได้ออกแบบการเรียน การอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เป็นไปในรูปแบบ Bootcamp ที่เข้มข้น คิด ทำ ปรับ จนได้ผลลัพธ์ในการวางแผนธุรกิจใหม่ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การพัฒนาธุรกิจได้เป็นจริงได้ทันที หลังจบการอบรมในรูปแบบใหม่นี้จะเป็นรูปแบบที่ทางโครงการฯ มั่นใจมากว่าจะสามารถพัฒนานักธุรกิจที่จะน้อมนำศาสตร์พระราชา ไปสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยความพอดี ทั้งในด้านกำไรทางธุรกิจ กำไรของสังคม และโลก ได้อย่างเป็นจริงยิ่งขึ้น
สำหรับแนวทางในการ Bootcamp แบ่งเป็นส่วน ที่จะต้องเข้าร่วมโครงการเข้มข้นทั้งวันทั้งคืน โดยเนื้อหาประกอบด้วย
Bootcampที่ 1 ด้วย การสร้างแบรนด์ และ การเข้าใจกลไกธุรกิจที่พอดี และ เกื้อกูลอย่างยั่งยืน ตามมาด้วย
Bootcampที่ 2 และ 3 การเข้าใจ Business Model Canvas (BMC) การตลาด ลูกค้า และ ปิดท้าย ด้วยการสื่อสารที่โดนใจลูกค้า อย่างมีเป้าประสงค์ และ รับผิดชอบไปพร้อมๆกัน
MOU ผสานหลักสูตร ป.โท นวัตกรรมทางสังคม
โครงการพอแล้วดี เป็นหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้เห็นถึงความสำคัญ การอบรมมีการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้จริง เกิดการพัฒนานักธุรกิจหัวใจเกื้อกูล ยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากกว่า 100 แบรนด์ จึงได้มีการตกลงที่จะจับมือร่วมกัน โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)โครงการพอแล้วดี The Creator กับ หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างพอเพียง มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์ ผู้ที่จบการอบรมจากโครงการพอแล้วดี The Creator เท่ากับเก็บหน่วยกิตวิชาเรียนหลักของหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างพอเพียงโดยทันที ทำให้เมื่อเข้าไปเรียนหลักสูตรดังกล่าวจะเรียนเพิ่มเติมให้จบการศึกษาได้ภายใน 2 ภาคการศึกษา
“ปีที่ 9 ถือเป็นก้าวที่สําคัญมาก ในการช่วยกันพัฒนาคน ทำให้องค์กรทางด้านการศึกษาเห็นในคุณค่า สามารถที่จะนำไปพัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรปริญญาโทได้ ถือเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของเราทุกคน รูปแบบใหม่จะช่วยพัฒนาได้ไกล ทำให้การสานต่อศาสตร์พระราชา ได้กว้างขึ้น เมื่อเกิดการผนวกกับหลักสูตรนวัตกรรมทางสังคม ถือเป็นการคิดนอกกรอบที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม พัฒนาคน”
ศาสตร์พระราชา ระเบิดจากภายใน จากหัวใจ ไปสู่ SDGs
ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ ประธานหลักสูตรฯ กล่าวว่า การน้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนาคนจากภายใน หรือ เรียกว่า ระเบิดจากภายใน ที่สอดคล้องกันกับหลักการพัฒนายั่งยืนสากล เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาคนให้เป็นผู้ขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs) หรือ IDGs (Inner Development Goals) ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล น้อมนำคำสอนของ บิดาแห่งในหลวงรัชกาลที่ 9 (สมเด็จมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน เพื่อประโยชน์สุขของคน และส่วนรวม
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายต้องการปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้พร้อมกันกับลงมือทำ ไม่เน้นการเรียนเป็นรายวิชา แต่เน้นการทำเวิร์คช็อป ที่จะทำให้เกิดคุณภาพ และสร้างผู้นำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมดีขึ้น
“สิ่งสำคัญของการพัฒนาคน จึงต้องพัฒนาตั้งแต่การรู้จักตัวตน เข้าใจตัวเอง ทำให้เกิดการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลง”
พอเพียง สร้างสรรค์ ผ่านนักคิดคนรุ่นใหม่ พอแล้วดี The Creator
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า หลักสูตรมีการพัฒนาคนจาก เนื้อแท้ความดีงาม ทำให้คนดีมาเจอกัน เป็นการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ ให้มาร่วมกันคิด ทำสิ่งดีๆด้วยกัน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ โดยน้อมนำศาสตร์แห่งพระราชา เป็นศาสตร์ที่จับต้องได้ ผู้ที่เข้าร่วมอบรม อธิบาย ผ่านกระบวนการนึกคิด จากประสบการณ์จริงที่ลงมือทำให้เกิดการสานต่อ ทำให้คนไทยโดยอยู่ร่วมกันได้อย่างพัฒนา รู้ตัวเรา มีเหตุผล บริหารความเสี่ยง ใช้หลักความรู้บนความถูกต้อง ยุติธรรม เราจึงสามารถความอยู่รอดบนแนวทางที่แท้จริงได้ต่อไป”
“หอการค้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมานาน เพื่อให้คนไทยทุกคน ยืนหยัดบนขาของตัวเองได้ ไม่ว่าธุรกิจอะไร ทำให้คนรุ่นใหม่ เปลี่ยนชีวิต และพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ นำอัตลักษณ์ท้องถิ่น ความสามารถคนท้องถิ่นผสมกัน และทำให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง ทำให้ส่งต่อมรดกภูมิปัญญาของไทยได้อย่างสร้างสรรค์ ในหลายโครงการ ทำให้รู้ว่า สิ่งที่คนไทยมีอยู่มีคุณค่าและนำไปต่อยอด ทำให้อยู่รอดได้ ไม่ใช่ขายของราคาถูก แต่สร้างมูลค่าเพิ่มบนอัตลักษณ์ความเป็นไทยเรา ทำให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”
นำทัพ 19 แบรนด์ พอแล้วดีฯ จับต้องได้ออกร้าน
ทั้งนี้ โครงการได้มีการ ร่วมมือกั้บ ดร. ประสาน ภิรัช บุรี ผู้ก่อตั้งแลหะประธานกิตติมศักดิ์ ภิรัชบุรี กรุ๊ป คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย คุณศุภิตา อ่อนบรรจง ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) และคุณวิลาวัณย์ หาทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มานิตย์ กรุ๊ป จำกัด จัดงานความสำเร็จของโครงการ พอแล้วดี The Creator ที่ สมาการ์เด้น ชั้น 1 ไบเทคบุรี บางนา ภายในงานพบ 19 นักธุรกิจ โครงการพอแล้วดี The Creator รุ่น ๙ ปี 2567 นักธุรกิจภายใต้ “ความพอดี” ตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
- ดิอัตลักษณ์ เอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารอย่างถึงอัตลักษณ์ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ปังสยาม พ.ศ.๒๕๑๕ ผู้ผลิตและจำหน่ายเบเกอรี่ ที่สานต่อจากอากง อาม่า ในการรักษาคุณภาพ
- Wabi Sabi เบอเกอรี่โฮมเมด ที่รักการทำขนมภายในครอบครัว และส่งมอบให้ผู้อื่นด้วยความเรียบง่าย
- มากมิตร คิชเช่น การรวมตัวของเจ้าของร้านอาหาร เพื่อสนับสนุนกับผ่านระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน
- Intuit Leader ธุรกิจพัฒนาคนสำหรับองค์กร โดยใช้หลักพุทธศาสนา
- เออ-ดี ออการ์ไนเซอร์ ที่ทุกความคิดสร้างสรรค์เพื่อช่วยเหลือชุมชน และช่วยคนตัวเล็กๆ
- สัปปายะ คลินิกแพทย์แผนไทย ที่สร้างพื้นที่ให้ผู้ป่วยให้มีความสุขกับการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ
- Jinta ไอศกรีมโฮมเมดที่นำเสนอคุณค่าของวัตถุดิบจากทั่วถิ่นไทย ผ่านรสชาติที่สร้างสรรค์
- สาธุ แบรนด์แฟชั่นงานคราฟ ที่ผลิตจากวัตถุดิบบริสุทธิ์จากธรรมชาติ และเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด
- ศรีธนรักษ์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอิฐ ราชบุรี ผ่านการส่งต่อภูมิปัญญาในการทำอิฐราชบุรีจากรุ่นสู่รุ่น
- Chocoholic ผู้คัดสรรเมล็ดโกโก้จากเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในไทย เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ระดับโลก
- ปฐมสุข ผู้สร้างกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร Regenerative Farm ให้เกษตรกรกลับมารักและดูแลผืนดิน
- ANGO ธุรกิจโฮมเดคคอเรชั่น โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล ผลิตด้วยมือ โดยช่างฝีมือ
- Rice Hub ผู้สร้างข้าวไทยให้เป็นข้าวพิเศษสำหรับโลก ให้ชาวนาไทยได้ยืนหยัดอย่างภาคภูมิ
- The Pride Clinic ศูนย์กายภาพบำบัดและคลินิกเฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท ที่ฟื้นฟูกายและจิตใจ
- Marketing I Can ที่ปรึกษาด้านการตลาด ที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบระยะยาวทั้งธุรกิจและสังคม
- Bananaland @Phuho แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ที่สอนให้คนพัฒนาตนเองและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
- Touring Center บริษัทนำเที่ยว ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่เชียงใหม่และภาคเหนือ
- Sapience ที่ปรึกษาการสร้างกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา โดยมุ่งเน้นสมดุล เพื่อสร้างคำตอบที่สร้างสรรค์และยั่งยืน
ปิดท้ายงานด้วยการนำเสนองานกลุ่มเพื่อสังคมของพอแล้วดี The Creator ทั้ง ๙ รุ่น ๙ ทีม “พอแล้วดี Social Project Pitching” กับทางผู้สนับสนุนโครงการฯ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอัดแน่นทั้ง 4 วัน (12-15 ธันวาคม) ภายใต้งาน “พอแล้วดี MARKET” อันประกอบไปด้วย
- การออกร้านของนักธุรกิจผู้สานต่อศาสตร์พระราชา
- เวิร์คชอป กว่า 10 หัวข้อที่เชื่อมโยงกับชีวิตที่จะเติบโตแบบเกื้อกูล ยั่งยืน และได้ประโยชน์ไปใช้งานจริงๆ
- กิจกรรม “พอแล้วดี Talk ๙ รุ่น” ที่ทั้ง ๙ นักธุรกิจจะมาพูดถึงการพัฒนาก้าวต่อไปที่ใหม่กว่าทางธุรกิจที่มีผลกำไรในทุกมิติของความยั่งยืน
- รวมถึงการเปิดประสบการณ์ไปกับมื้ออาหารที่เล่าเรื่องราวของชีวิต วัฒนธรรม ผ่าน 15 เมนู