คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามกระทรวงการคลังเสนอ การทบทวนหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล เพื่อความเหมาะสมและความรอบคอบในอนาคต รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและการเสริมสร้างความโปร่งใสในการสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมและประชาชน
การประชุมคณะรัฐมนตรีวันแรกของปี 2568 สำนักงบประมาณ เสนอกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 วงเงิน 3 ล้าน 7 แสน 8 หมื่นล้านบาท นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกของปี 2568 มีวาระสำคัญเข้าสู่การพิจารณา อาทิ สำนักงบประมาณ กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ หลังผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมร่วม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ ที่มีกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมกันพิจารณาประมาณการรายได้ กำหนดนโยบาย กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณฯ ปี 2569 สิ่งที่น่าจับตาสำหรับโครงการที่ต้องมีการทบทวนคือ หลักการพิจารณาการออกสลากการกุศล
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการทบทวนหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล เพื่อให้กระบวนการออกสลากเป็นไปอย่างเหมาะสม มีความรอบคอบและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมุ่งเสริมสร้างความโปร่งใส ลดการแสวงหาผลประโยชน์ และสนับสนุนโครงการที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาสังคม
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติการทบทวนหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล เพื่อให้การออกสลากในอนาคตเป็นไปอย่างเหมาะสม มีความรอบคอบและชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้:
- องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจะยังคงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564
- หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศลจะมีการทบทวนเป็นดังนี้:
ประเภทหน่วยงาน ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หรือมูลนิธิที่จดทะเบียนตามกฎหมาย หรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ลักษณะของโครงการ
– ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาด้านการศึกษา, สาธารณสุข หรือการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม
– ไม่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ หรือแม้ได้รับ ก็ต้องไม่เพียงพอ และไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ขอรับงบประมาณ
– ต้องไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากสลากการกุศลมาก่อน
– การพิมพ์สลาก จำกัดไม่เกิน 11 ล้านฉบับต่องวด
-วงเงินสนับสนุน ไม่เกิน 1,000 ล้านบาทต่อโครงการ และรวมทั้งหมดไม่เกิน 10,000 ล้านบาท
– ระยะเวลาพิจารณา การพิจารณาสลากการกุศลในครั้งถัดไปจะต้องรอจนสำนักงานสลากฯ สามารถออกสลากตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. ก่อนหน้านี้
-ข้อเสนอโครงการต้องประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจน เช่น ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลที่คาดว่าจะได้รับ การวิเคราะห์สถานะทางการเงิน และแนวทางในการติดตามผลการดำเนินงาน
-การทบทวนแนวทางนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมและประชาชนในระดับที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
มีรายงานว่า หลังจากกระทรวงการคลังเสนอ พิจารณาและการติดตามการออกสลากการกุศลที่ประชุมตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมและความรอบคอบ ชัดเจน หลังจากมีการเสนอพิจารณาวงเงินที่ใช้สนับสนุนโครงการสลากการกุศลสูงสุดโครงการละ 3,000 ล้านบาท เป็นวงเงินที่สูงกว่า ที่กระทรวงการคลังกำหนดเสนอไม่เกินโครงการละ 1,000 ล้านบาท ทำให้ที่ประชุมครม.ไม่เห็นด้วย
โดยที่ประชุมได้ให้เหตุผลว่า มติครม.เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ได้เห็นชอบหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล โดยให้มีวงเงินรวมที่ใช้ในการสนับสนุนโครงการสลากการกุศล รวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ส่วนการออกสลากการกุศลในครั้งถัดไป จะดำเนินการภายหลังจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
โดยหลังจากนั้น ครม.ได้ประชุมหารือ การออกสลาก 3 ครั้ง คือ วันที่ 26 กรกฎาคม 2565,วันที่ 7 มีนาคม 2566 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ก่อนลงมติเห็นชอบให้มีการออกสลากการกุศลเพื่อสนับสนุนโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศล รวมจำนวน 30 โครงการ วงเงิน 9,999.03 ล้านบาท
โดยมอบหมายให้สำนักงานสลากฯ ดำเนินการออกสลากการกุศล ซึ่งปัจจุบันสำนักงานสลากฯ ดำเนินการออกสลากการกุศลเพื่อสนับสนุนโครงการสลากการกุศลข้างต้นเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ทำให้การพิจารณาและการติดตามการออกสลากการกุศลครั้งต่อไป จึงต้องมีประเด็นการพิจารณาให้สอดคล้องกันกับหลักการที่ต้องมีการทบทวน เพื่อมุ่งเน้นความรอบคอบ ชัดเจนยิ่งขึ้น
วิเคราะห์เหตุผลที่ต้องทบทวน
การทบทวนการออกสลากการกุศล มีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและการใช้ทรัพยากรสาธารณะอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ.
สำหรับแนวทางการทบทวนการออกสลากการกุศลตามวิเคราะห์ วัตถุประสงค์และความสำคัญ ประกอบด้วย
1.เพิ่มความโปร่งใส
การทบทวนหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาช่วยให้กระบวนการออกสลากการกุศลมีความโปร่งใสมากขึ้น โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ขอรับการสนับสนุนและลักษณะของโครงการที่สามารถขอรับการสนับสนุนได้
2.ลดการแสวงหาผลประโยชน์
การกำหนดหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดช่วยป้องกันมิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากเงินที่ได้จากการออกสลาก อาทิ การสนับสนุนโครงการที่ไม่ตอบโจทย์สังคม หรือไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐในที่ก่อนไปแล้ว
- ส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ
การทบทวนหลักเกณฑ์ทำให้เกิดการสนับสนุนเฉพาะโครงการที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น โครงการด้านการศึกษา สาธารณสุข และการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของสังคมทั่วไป
4.ควบคุมวงเงินสนับสนุน
การกำหนดขีดจำกัดวงเงินในการสนับสนุนช่วยลดความเสี่ยงในการใช้จ่ายเงิน และสามารถบริหารจัดการงบประมาณได้อย่างมีระเบียบและมีประสิทธิภาพ
5.ตอบสนองความต้องการของประชาชน
การทบทวนนี้ช่วยให้การออกสลากการกุศลสามารถตอบสนองความต้องการและสภาพความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถนำเงินไปใช้ในโครงการที่ประชาชนต้องการและเป็นประโยชน์จริง
- ระบบติดตามและประเมินผล
การบังคับใช้แนวทางในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโครงการที่ได้รับการสนับสนุน ช่วยให้สามารถประเมินความสำเร็จของโครงการและการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เดินหน้าสลากเพื่อทุนการศึกษา หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน (ODOS)
ขณะที่ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกล่าวถึง แนวทางมติครม. ได้เห็นชอบหลักการออกสลากการกุศล งวดละ 11 ล้านฉบับ วงเงินรวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี
ทั้งนี้ ในการขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการโครงการสลากการกุศล มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน จะต้องกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอน คาดว่าน่าจะเปิดให้ส่งคำขอจัดสรรงบประมาณในช่วงปลายเดือน ก.พ. – มี.ค. 2568
“หนึ่งในนั้นจะเป็นโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน (ODOS) ด้วย ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการขับเคลื่อนเรื่องการศึกษา ดังนั้น โครงสร้างในการจัดสรรวงเงินจากโครงการสลากการกุศลครั้งนี้ จึงเน้นเรื่องการศึกษามากขึ้น คาดว่าจะมีการจัดสรรเม็ดเงินให้กับโครงการ ODOS ราว 30%”
ประโยชน์การออกสลากการกุศล
สำหรับประโยชน์ของการออกสลากการกุศล จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้ คือ
1.ช่องทางการเพิ่มรายได้
การสลากการกุศลและการยกเว้นภาษีเงินได้จะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรสามารถเพิ่มรายได้ของตนเองได้
2.การเสริมสร้างเศรษฐกิจ
โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่จะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจในชุมชนและประเทศ
3.การพัฒนาท้องถิ่น
โครงการนี้จะช่วยพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยการสร้างงานที่มีคุณภาพสูงและสามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืน