เคล็ดลับเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุขในชีวิตประจำวัน สร้างอารมณ์ดีจากภายใน

เคล็ดลับเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุขในชีวิตประจำวัน สร้างอารมณ์ดีจากภายใน

ความสุขจากฮอร์โมนแห่งความสุขในร่างกายเรา ช่วยปรับสมดุลอารมณ์และเพิ่มพลังบวกในทุกวัน เพียงปรับกิจวัตรเล็กๆ ก็สามารถเปลี่ยนวันธรรมดาให้เต็มไปด้วยความหมายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

 

รู้ไหมว่าความสุขที่เราเคยรู้สึก ไม่ใช่แค่เรื่องของจิตใจ แต่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า ฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น เซโรโทนิน โดพามีน เอนดอร์ฟิน และออกซิโทซิน ฮอร์โมนพวกนี้ช่วยควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกพึงพอใจ รวมถึงความผูกพันและการผ่อนคลาย แต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างกัน เช่น โดพามีนช่วยกระตุ้นความรู้สึกดีและแรงจูงใจ เซโรโทนินช่วยปรับสมดุลอารมณ์ ออกซิโทซินเสริมสร้างความสัมพันธ์ และเอนดอร์ฟินช่วยลดความเครียดและเพิ่มความรู้สึกมีความสุข

เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยเพิ่มความสุขให้ตัวเองมีเยอะมาก เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลงที่ชอบ หรือทำอาหารเมนูโปรด สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุข แต่ยังลดความเครียดและความกังวลได้ด้วย เมื่อใจเราสุข ชีวิตก็สดใส พร้อมรับมือกับทุกเรื่องราวในแต่ละวัน แค่ปรับไลฟ์สไตล์นิดเดียวก็เปลี่ยนวันธรรมดาให้เต็มไปด้วยพลังบวก

 

ฮอร์โมนแห่งความสุขคืออะไร?

ฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น เซโรโทนิน โดพามีน เอนดอร์ฟิน และออกซิโทซิน คือสารเคมีในร่างกายที่ช่วยควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของเรา พวกมันทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสมดุลทางอารมณ์ ส่งเสริมสุขภาพจิตและร่างกาย แม้เราจะเรียกมันว่าฮอร์โมน แต่บางชนิดยังทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทด้วย เช่น โดพามีนและเซโรโทนิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญทั้งในการสร้างความสุข ความจำ และการเรียนรู้

ความแตกต่างระหว่างฮอร์โมนและสารสื่อประสาทอยู่ที่แหล่งผลิตและการทำงาน ฮอร์โมนผลิตจากต่อมไร้ท่อและส่งผ่านกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ เพื่อควบคุมกระบวนการระยะยาว เช่น การเจริญเติบโตหรือมีระบบการเผาผลาญการทำงาน ย่อยอาหารที่ดี ช่วยทำให้สารสื่อประสาทผลิตจากเซลล์ประสาทในสมอง ส่งสัญญาณการเรียนรู้อย่างรวดเร็วระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อกระตุ้นการตอบสนองทันที เช่น อารมณ์หรือการเคลื่อนไหว ความน่าสนใจคือ สารบางชนิด เช่น โดพามีน ทำหน้าที่ได้ทั้งสองบทบาท ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ถูกปล่อยออกมาในร่างกาย

 

บทบาทของฮอร์โมนแห่งความสุข

1.เอนโดรฟินส์ (Endorphins)
ช่วยลดความเจ็บปวดและสร้างความสุขสบายในร่างกาย มักหลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียดหรือความไม่สบายตัว เช่น การออกกำลังกายหนักหรือหัวเราะ วิธีเพิ่มเอนดอร์ฟินในร่างกายคือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หัวเราะให้บ่อยขึ้น หรือชมภาพยนตร์ตลก สมุนไพรที่ช่วยสนับสนุนการผลิตเอนดอร์ฟินส์ ได้แก่ โรดิโอลา อาชวากันดา และขมิ้น

2.โดพามีน (Dopamine)
เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ ความสำเร็จ และความสุขเมื่อบรรลุเป้าหมาย ช่วยส่งเสริมความจำและประสบการณ์เชิงบวก วิธีเพิ่มโดพามีนคือการตั้งเป้าหมายและทำให้สำเร็จ การฟังเพลงโปรด หรือเล่นเกมที่ท้าทาย สมุนไพรที่ช่วยสนับสนุนโดพามีน ได้แก่ มูคูน่า พรูเรียนส์ และแปะก๊วย

3.ออกซิโทซิน (Oxytocin)
รู้จักกันในชื่อ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ช่วยสร้างความผูกพันและความไว้ใจ มักเกิดขึ้นในช่วงการสัมผัสทางกาย เช่น การโอบกอด การสัมผัสมือ หรือการทำความดีให้ผู้อื่น วิธีเพิ่มออกซิโทซินคือการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่คุณรัก การแบ่งปันความรู้สึกดี ๆ หรือการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง สมุนไพรที่ช่วย ได้แก่ ดาเมียนา และกุหลาบ

4.เซโรโทนิน (Serotonin)
มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ช่วยสร้างสมดุลและความสงบ ส่งเสริมการนอนหลับและความสุขโดยรวม วิธีเพิ่มเซโรโทนินคือการรับแสงแดดยามเช้า การทำสมาธิ การฝึกสติ หรือการบริโภคอาหารที่มีกรดอะมิโนทริปโตเฟน เช่น ถั่วและปลา สมุนไพรที่ช่วยได้แก่ เซนต์จอห์นเวิร์ต และหญ้าฝรั่น

 

เคล็ดลับเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุขอย่างเป็นธรรมชาติ
การสร้างความสมดุลทางอารมณ์และกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุขทั้ง 4 ชนิด (เอนโดรฟินส์ , โดพามีน, ออกซิโทซิน, และเซโรโทนิน) สามารถปรับกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

-ออกไปข้างนอก
แสงแดดยามเช้าช่วยกระตุ้นการผลิตเซโรโทนินในสมอง ลองออกไปเดินเล่นกลางแจ้งประมาณ 15 นาทีต่อวัน แต่ควรทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันผิวจากรังสี UV

 

-จัดเวลาออกกำลังกาย
การออกกำลังกายไม่เพียงเพิ่มเอนโดร์ฟินส์ แต่ยังช่วยเพิ่มโดพามีนและเซโรโทนินอีกด้วย ลองตั้งเป้าหมายออกกำลังกายแบบแอโรบิก 30 นาทีต่อวัน หรือชวนเพื่อนมาออกกำลังกายด้วยเพื่อเพิ่มความสนุก

 

-หัวเราะกับเพื่อน
เสียงหัวเราะช่วยกระตุ้นเอนโดรฟินส์และโดพามีนได้ทันที แชร์เรื่องตลกหรือดูหนังตลกกับคนที่คุณรัก เพื่อสร้างสายใยความสัมพันธ์ อย่างตัวอย่างสุภาษิตเก่าที่ว่า“เสียงหัวเราะคือยาที่ดีที่สุด”

 

-ปรุงอาหารจานโปรด
อาหารจานอร่อยช่วยกระตุ้นโดพามีนและเอนโดรฟินส์ หรือการทำอาหารร่วมกับคนใกล้ชิดยังช่วยเพิ่มออกซิโทซินอีกด้วย เลือกเมนูที่มีโปรไบโอติกหรือทริปโตเฟน เช่น โยเกิร์ตหรือถั่ว เพื่อเพิ่มเซโรโทนิน เนื่องจาก โปรไบโอติก ช่วยในเรื่องการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้และส่งเสริมการผลิตเซโรโทนินที่ช่วยเรื่องอารมณ์ ส่วนทริปโตเฟน ช่วยในการผลิตเซโรโทนินและเมลาโทนิน ซึ่งมีผลต่อการควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ

 

-ฟังเพลง
ดนตรีเป็นตัวกระตุ้นโดพามีนและเซโรโทนินชั้นยอด ฟังเพลงโปรดเพื่อยกระดับอารมณ์ หรือเล่นดนตรีร่วมกับคนอื่นเพื่อเพิ่มเอนดอร์ฟิน

-ทำสมาธิ

การทำสมาธิช่วยเพิ่มโดพามีนและเซโรโทนิน ลองนั่งในที่เงียบสงบ ปล่อยให้ความคิดผ่านไป และเริ่มต้นด้วยการทำ 5 นาทีต่อวัน

 

-ลูบหัวสัตว์เลี้ยง
การให้ความรักกับสัตว์เลี้ยง สามารถเพิ่มออกซิโทซินได้ทันที ไม่ว่าคุณจะมีสัตว์เลี้ยงของตัวเองหรือแค่ได้ลูบหัวสัตว์เลี้ยงของคนอื่น

 

-นอนหลับให้เพียงพอ
การนอนหลับ 7-9 ชั่วโมงช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทั้งหมด หากนอนหลับยาก ลองจัดสภาพแวดล้อมการนอนให้สงบ ลดคาเฟอีน และจัดเวลานอนให้สม่ำเสมอ

 

-จัดการความเครียด
ความเครียดส่งผลเสียต่อฮอร์โมน ลองทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย หัวเราะ หรือทำสมาธิ

 

-ไปนวด
การนวดช่วยกระตุ้นฮอร์โมนทั้งเอนโดรฟีนส์ ออกซิโทซิน เซโรโทนิน และโดพามีน เพราะช่วยสร้างความผ่อนคลาย ให้กับกล้ามเนื้อที่เหนื่อยล้า และจิตใจ

 

ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมสร้างความสุขมากขึ้น โดยเราสามารถใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยติดตามและวางแผนกิจกรรมที่ส่งผลดีต่ออารมณ์ เช่น แอปพลิเคชันเพื่อการทำสมาธิ การออกกำลังกาย หรือการบันทึกความก้าวหน้าทางเป้าหมายชีวิต เพื่อกระตุ้นการหลั่งสารเคมีแห่งความสุขต่างๆ อีกทั้งการตั้งเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนและใช้เทคโนโลยีในการติดตามจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจ และให้คุณสามารถวัดผลความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ช่วยเสริมสร้างความสุขได้ในระยะยาว

 

ที่มาข้อมูล : verywellmind, healthline