ปลั๊กไฟคนไทย เพื่อคนไทย ทางเลือกลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลและออกแบบให้ซ่อมแซมได้ง่าย และมีรับประกันอายุการใช้งานตลอดการใช้งาน เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
เขียนโดย: จุฑาทิพย์ สมสุข
จากปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี ข้อมูลจาก Global E-Waste Monitor ระบุว่าในปี 2021 โลกมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 53.6 ล้านตัน และตัวเลขนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 74 ล้านตันในปี 2030 หากไม่มีมาตรการจัดการที่เหมาะสม ขยะเหล่านี้มักประกอบด้วยวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น พลาสติก โลหะหนัก และสารพิษ ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์
การเผาหรือทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการปล่อยสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม ที่สามารถปนเปื้อนดิน น้ำ และอากาศ ทำลายระบบนิเวศและก่อให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ นอกจากนี้ ยังสูญเสียทรัพยากรมีค่าจำนวนมาก เช่น ทองคำ เงิน และแพลทินัม ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
สถิติขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
ในประเทศไทย ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์สะสมมากกว่า 400,000 ตัน แต่สามารถจัดการอย่างถูกต้องได้เพียง 20% เท่านั้น อีก 80% ถูกทิ้งอย่างผิดวิธี เช่น เผา หรือฝังกลบ ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยตรง ขยะจากอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น ปลั๊กไฟและอะแดปเตอร์ คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามการบริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน
ความท้าทายที่สำคัญคือการจัดตั้งระบบรีไซเคิลและการส่งเสริมการแยกขยะที่เหมาะสมในระดับครัวเรือน รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อรีไซเคิลอุปกรณ์ที่หมดอายุการใช้งาน ซึ่งถือเป็นโอกาสในการเปลี่ยนปัญหาเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่า
ปลั๊กไฟที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีอายุการใช้งานสั้นมักถูกทิ้งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากไม่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย และส่วนใหญ่ไม่มีระบบรีไซเคิลที่เหมาะสม การเผาหรือการทิ้งขยะเหล่านี้ในหลุมฝังกลบ อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษจากสารพิษ เช่น พลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก และโลหะหนักที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
แนวทางลดขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความยั่งยืน
การลดขยะอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นได้จากการส่งเสริมการใช้ซ้ำ (reuse) การรีไซเคิล (recycle) และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนโครงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและผู้บริโภคในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบจะช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน
การลดขยะจากปลั๊กไฟทำได้อย่างไร?
1. ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย
เลือกปลั๊กไฟที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ควรเลือกที่ทำจากวัสดุทนความร้อน ไม่ติดไฟง่าย และสายไฟต้องมีขนาดใหญ่พอรองรับกำลังไฟฟ้า เช่น ขนาดขั้นต่ำ 1.5 ตารางมิลลิเมตร
2. เลือกฟังก์ชันตัดไฟอัตโนมัติ
ปลั๊กไฟที่ดีควรมีฟังก์ชันตัดไฟอัตโนมัติเมื่อกระแสไฟเกิน พร้อมสวิตช์แยกแต่ละช่องเสียบเพื่อลดความเสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจร เลือกแบบที่รองรับปลั๊กหลายรูปแบบ (Universal) เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย
3. เลือกการออกแบบเพื่อความยั่งยืน
สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลาสติกรีไซเคิล และเลือกแบบ Modular ที่สามารถซ่อมแซมได้ แทนการทิ้งทั้งชิ้น เลือกแบรนด์ที่มีการรับประกันคุณภาพและบริการซ่อมแซม เพื่อยืดอายุการใช้งาน ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และปลั๊กไฟที่ดีควรมีระบบควบคุมพลังงาน ลดไฟฟ้าสแตนด์บาย และสนับสนุนแบรนด์ที่มีบริการรีไซเคิลอุปกรณ์เก่า
นโยบายทางธุรกิจ
ปลั๊กไฟไม่มีวันเป็นขยะ
หนึ่งในผู้ผลิตปลั๊กไฟอย่าง ‘อัศวิน’ มุ่งมั่นลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการพัฒนากระบวนการผลิต ปลั๊กไฟ ที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น พลาสติกรีไซเคิล และวัสดุที่มีความคงทนสูง ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานและลดการเกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดโอกาสให้ลูกค้านำผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานกลับมาที่บริษัท เพื่อ 1.ซ่อมแซม หรือ 2.เปลี่ยนเป็นส่วนลดสำหรับการซื้อใหม่ กระบวนการนี้ไม่เพียงช่วยลดขยะ แต่ยังส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลูกค้าสามารถลงทะเบียนผ่าน QR Code ที่กล่องผลิตภัณฑ์เพื่อรับสิทธิ์รับประกัน โดยแบ่งเงื่อนไขชัดเจน 1-2 ปีเปลี่ยนใหม่ฟรี, 3-5 ปีซ่อมฟรีพร้อมอะไหล่, และ 5 ปีขึ้นไปซ่อมฟรีตลอดอายุการใช้งาน
โดยดำเนินการผ่าน สโลแกน “ปลั๊กไฟไทย เพื่อคนไทย” พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจตามหลัก ESG ซึ่ง ESG คือ Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ที่สามอย่างนี้ต้องไปด้วยกัน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุด บริษัทอัศวินจึงรับผิดชอบการจัดการขยะจากผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง เพื่อไม่ให้ลูกค้ากังวลเกี่ยวกับการกำจัดอุปกรณ์ไฟฟ้าเก่า ที่จะสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมกระบวนการผลิตของอัศวิน
นำ วัสดุรีไซเคิล เช่น พลาสติกที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลคุณภาพสูง มาผลิตปลั๊กไฟที่มีความแข็งแรงและอายุการใช้งานยาวนาน นอกจากนี้ ยังใช้ การออกแบบแบบ Modular ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถซ่อมแซมได้ง่าย โดยเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วนที่เสียหายแทนการทิ้งทั้งหมด
อีกหนึ่งความสำเร็จคือการพัฒนาเทคโนโลยี Zero Waste Production ซึ่งลดปริมาณขยะจากการผลิตลงถึง 90% และนำขยะจากการผลิตกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ทำให้โรงงานของอัศวินกลายเป็นต้นแบบด้านการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนโครงการ รีเทิร์นและรีไซเคิล เพื่อจัดการผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานอย่างยั่งยืน
ที่มาภาพ : Adsawin Thailand