ถอดบทเรียนเหตุการณ์ไฟไหม้ เจาะพฤติกรรมมนุษย์ การเอาตัวรอดตามทฤษฎีสู้ หนี เพื่อแก้วิกฤติคับขัน รวมถึง ช่วยเหลือตามหลักมนุษยชน พร้อมกับแนวทางหยุดโศกนาฏกรรมซ้ำซากจากการวางระบบปลอดภัย
จากโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่รถบัสนักเรียนจากโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี กำลังเดินทางไปทัศนศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ส่วนกลาง เกิดเหตุไฟไหม้ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ขาเข้า ใกล้กับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานีถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในสังคมไทย มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก จากผู้โดยสารทั้งหมด 44 คน ประกอบด้วยครู 6 คน และนักเรียน 38 คน เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 23 คน แบ่งเป็นนักเรียน 20 คน และครู 3 คน แม้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยได้เร่งเข้าช่วยเหลือและควบคุมเพลิง แต่เนื่องจากรถบัสติดตั้งแก๊ส NGV บนรถ ทำให้การควบคุมเพลิงเป็นไปอย่างยากลำบาก
คนในสังคมไทยผู้รับรู้เหตุการณ์แม้ไม่ใช่คนในครอบครัว ต่างก็ยากที่จะทำใจยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนหลั่งน้ำตา และหลายคนไม่กล้าแม้จะดูคลิป นี่คือปฏิกิริยา ความอลหม่านเหนือการควบคุมที่คร่าชีวิตเด็กผู้บริสุทธิ์ และครู ผู้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเยาวชน เติบโตเป็นทรัพยากรของชาติ
หลายคนต่างตั้งคำถามกับความปลอดภัยของการติดตั้งแก๊สในรถ เช่นเดียวกันกับความรับผิดชอบของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ โดยเฉพาะคนขับรถ ทันทีที่ลงจากรถ กลับหนีไปจากรถทันที แม้คนขับรถจะมาตอบในภายหลังว่าไปหาถังดับเพลิง แต่การที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ก็ถูกตั้งคำถามถึงการเอาตัวรอด
นี่คือสิ่งที่เป็นคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นมากมายจากโลกโซเชียลเข้ามาคอมเมนท์ ถึงความมีมนุษยธรรมของคนในสังคมนั้นหายไปหรือไม่อย่างไร ตรงกันข้ามกับ ครู ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือปกป้องนักเรียนจนถึงวินาทีสุดท้ายของชีวิต
ในชีวิตเราอาจจะต้องเจอกับเหตุการณ์ที่พาเราไปตกอยู่ในช่วงเวลาคับขัน มาร่วมเรียนรู้พฤติกรรมการตอบสนองเหตุการณ์ไปพร้อมกัน เพื่อร่วมกันเรียนรู้และรับมือกับเหตุการณ์สำคัญ และนำไปสู่การเผชิญหน้าแก้ไขปัญหาเพื่อตัวเราเองและสังคม
หลักการคุ้มครองชีวิต และสิทธิ์ผู้อื่น
ตามหลักมนุษยธรรม ในยามคับขัน
เหตุการณ์รถบัสไฟไหม้เป็นโศกนาฏกรรมที่สะท้อนถึงความสำคัญของการยึดถือหลักมนุษยธรรมในการจัดการกับเหตุการณ์รุนแรง ของปฏิกิริยา และการแสดงออก นี่คือบทเรียนสำคัญที่สามารถนำมาปรับใช้ได้
1.การคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัย ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกทำร้ายหรือการถูกละเมิดสิทธิ์ การมีมาตรการป้องกันและการตรวจสอบสภาพรถบัสอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้
2.การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ ผู้บาดเจ็บควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม การฝึกซ้อมแผนการอพยพและการจัดการเหตุฉุกเฉินจะช่วยให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพและศักดิ์ศรี การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนแก่ประชาชนจะช่วยลดความตื่นตระหนกและเพิ่มความเข้าใจในสถานการณ์
4.การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ควรมีมาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การทรมาน การกักขังโดยไม่ชอบธรรม หรือการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ การให้ข้อมูลและการสื่อสาร ควรมีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนแก่ประชาชน เพื่อให้ทุกคนสามารถตัดสินใจและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ฉุกเฉิน
คุณเป็นประเภทไหน เมื่อยามคับขัน
ถอดทฤษฎีมนุษย์ สู่การตั้งสติ สั่งการสู้ หนี หรือช่วยเหลือผู้อื่น
เริ่มต้นจากมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มนุษย์มักแสดงปฏิกิริยาแสดงออกต่อเหตุการณ์ได้หลายรูปแบบ เกิดภาวะฉุกเฉิน จะเริ่มต้นจากการตื่นตัว (Alertness) จิตใจจะมีความไวต่อสิ่งรอบตัว จากทฤษฎีการตอบสนองต่อความเครียด (Stress Response Theory) “การต่อสู้หรือหนี” (Fight or Flight Response) ทฤษฎีนี้ถูกพัฒนาโดยนักสรีรวิทยาชาวอเมริกันชื่อ วอลเตอร์ แคนนอน (Walter Cannon) ในช่วงปี 1920s เมื่อเกิดเหตุการณ์ มนุษย์จะเริ่มต้นจาก หัวใจเริ่มเต้นเร็วขึ้น เพื่อส่งเลือดและออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้พร้อมต่อการเคลื่อนไหว หายเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งเร้าดังนี้ คือ
- การต่อสู้ (Fight) ผู้ที่มีความมั่นใจว่าสามารถเอาตัวรอดได้ เมื่อมีสติ หรือ Mindfulness จะเลือกขจัดความกลัวในใจ อย่าไม่ประมาท เลือกที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยตรง พยายามแก้ไขปัญหาปกป้องตัวเอง และช่วยเหลือผู้อื่น
- การหนี (Flight) บางคนเลือกที่จะหลีกหนีเพื่อเอาตัวรอด เพื่อความปลอดภัยไม่ได้รับผลกระทบจากภัยฉุกเฉิน
- การหยุดนิ่ง (Freeze) จะมีคนบางประเภท ที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ตกอยู่ในพะวงคิดอะไรไม่ออก จึงเกิดภาวะช็อก แน่นิ่ง เกิดอาการชะงักงัน ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือคิดหนทางออกแก้ไขปัญหาได้ทันที
- การยอมจำนน (Fawn) แม้จะมีความพยายามในการเผชิญหน้าหรือแก้ไขปัญหาแล้ว แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ควบคุมได้ด้วยตัวเราเอง ยากต่อการรับมือ ทำให้เหตุร้าย หรือ สถานการณ์เบาบางลง จึงต้องยอมจำนนหรือทำตามคำสั่งของผู้ที่ก่อเหตุ
การตัดสินใจตอบสนองปฏิกิริยาตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นอันตรายหรือกดดัน การเข้าใจและเตรียมตัวรับมือกับปฏิกิริยาเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการเอาตัวรอดและลดความเสี่ยงในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ สัญชาติญาณความเป็นมนุษย์เมื่อเกิดเหตุร้ายหรือเหตุฉุกเฉิน อันตราย มักจะตอบสนองผ่านกระบวนการ จะค่อยๆ เรียนรู้ ก้าวข้ามตามลำดับทางอารมณ์ หรือจะติดกับอารมณ์นั้น หากเรียนรู้ และก้าวข้าม ก็นำไปสู่การมีสติ ค้นหาทางออก (Mindfulness)
สัญชาตญาณแท้จริงมนุษย์ มีพัฒนาการเรียนรู้
มนุษย์เป็นสิ่งที่มีชีวิต มีเลือดเนื้อและสัญชาตญาณขั้นพื้นฐาน เหมือนกับสัตว์ประเภทอื่น โดยมีพื้นฐานความอยากได้ เห็นแก่ตัวหรือการเอาใจตนเอง เข้าข้างตนเอง แข่งขันชิงความได้เปรียบ โอ้อวด และโหดร้าย นักปรัชญาบางท่านเขียนไว้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเกิดมาดี แต่มาเปลี่ยนนิสัยใจคอเพราะสิ่งแวดล้อม แม้มนุษย์จะเป็นผู้ที่มีจิตใจสูงเหนือกว่าสัตว์ทั่วไป แต่ก็ยังมีส่วนบกพร่องที่จะเรียนรู้ แสวงหาวิธีการดำเนินชีวิต เพราะมนุษย์ต้องการความสุขหลีกหนีจากความทุกข์ ดังนั้นมนุษย์จึงแสวงหาความสุขตอบสนองร่างกาย เช่น การกิน การดื่ม การนอน การมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการแสวงหา ความต้องการทางด้านจิตใจ คือ การพักผ่อน การท่องเที่ยว การรวมกลุ่มเข้าสังคม และ ยิ่งกว่านั้นมนุษย์ ยังมีการเรียนรู้ วิถีการสร้าง “ปัญญา” เกิดมาเพื่อทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes (1588-1679) นักปรัชญาจากมหาวิทยาลัย อ็อกฟอร์ด มีความเชี่ยวชาญภาษากรีกและลาติน เขามีชีวิตอยู่ในช่วงที่อังกฤษ มีสงครามกลางเมืองระหว่างสภาขุนนางกับกษัตริย์ สุดท้ายต้องพ่ายแพ้ให้กับกษัตริย์ ได้แสดงทัศนคติเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ในความเชื่อของเขาว่า มนุษย์มีความสามารถเท่ากันทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยธรรมชาติ มนุษย์ทะเยอทะยาน และทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง มนุษย์ไม่เคยทำอะไรเพื่อคนอื่น เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่เห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์นี่เองที่เป็นเหตุให้มนุษย์กระทำทุกอย่างเพื่อตนเอง ตามสภาวะธรรมชาติต้องการการอยู่รอด
โดยรวมแล้ว มนุษย์จึงมีหลากหลายประเภท ลักษณะของความเป็นมนุษย์ มีสัตว์ผสมอยู ่ด้วยกัน แและต้องอาศัยแรงกระตุุ้นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จากความต้องการทางร่างกาย แรงขับทางเพศ และสัญชาตญาณมนุษย์ จึงดำเนินชีวิตจากความเห็นแก่ตัว และยึดถือประโยชน์ ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมเพื่อความอยู่รอด แต่มนุษย์ก็มีข้อแตกต่างไปจากสัตว์ตรงที่สามารถ สามารถเรียนรู้ ผิด ชอบ ชั่ว ดีได้ สามารถควบคุมพฤติกรรม อุดมคติ พฤติกรรมของตัวเราเองให้มีปฏิกิริยา ในการแสดงออก และการกระทำ ต่อสิ่งนั้น
หยุดโศกนาฏกรรมซ้ำซาก
ด้วยการใส่ใจ ยึดปลอดภัยไว้ก่อน
คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่าปัญหาความไม่ปลอดภัยรถรับส่งนักเรียนยังเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงเปิดเทอมที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะทุกฝ่ายยังไม่มีมาตรการป้องกันหรือเฝ้าระวังที่ชัดเจน ทำให้ปัญหาเกิดซ้ำซาก โดยส่วนใหญ่สาเหตุมาจากความประมาทเลินเล่อ ขับรถเร็ว ใช้รถผิดประเภท ตลอดจนดัดแปลงสภาพรถ เช่น สภาพภายนอกเป็นรถตู้โดยสาร แต่ภายในถอดเบาะเดิมออกและใส่เบาะที่นั่งแบบสองแถวเข้าไปแทนเพื่อให้รับนักเรียนได้มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความไม่ปลอดภัยของเด็กนักเรียน
เคล็ดลับความปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่รถบัสและผู้โดยสาร
ทั้งนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร เคล็ดลับต่อไปนี้อาจช่วยชีวิตคุณและชีวิตผู้อื่นได้ในระหว่างอุบัติเหตุรถบัส
เคล็ดลับสำหรับผู้ขับขี่
ความปลอดภัยในการเดินทางต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนการเดินทางจะเริ่มขึ้น คนขับรถบัสและผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบสถานะการบำรุงรักษารถของตน และเป็นสิ่งสำคัญที่คนขับรถบัสทั่วไปจะต้องทำเช่นเดียวกัน
ตรวจสอบรถของคุณก่อนเดินทางไกล
ความไม่สมบูรณ์แบบเพียงเล็กน้อยในส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถยนต์อาจนำไปสู่หายนะได้ การตรวจสอบการสึกหรอทั่วไปของยางและให้แน่ใจว่ายางมีแรงดันลมที่เหมาะสมสามารถป้องกันการระเบิดได้ เมื่อรถบัสระเบิด ขนาดที่ใหญ่และความสูงจะรวมเข้ากับน้ำหนักของรถ ทำให้สูญเสียการควบคุมอย่างรวดเร็ว แม้ว่าคุณจะควบคุมรถได้ง่ายขึ้นเมื่อระเบิด แต่การตรวจสอบยางก่อนเดินทางไกลก็ยังถือเป็นแนวทางที่ดี
ตรวจสอบสภาพแวดล้อมของคุณในขณะขับรถ
น่าเสียดายที่คนขับรถบัสเชิงพาณิชย์ไม่ได้ตัดสินใจที่ดีที่สุดเสมอไปเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน การขับรถอย่างปลอดภัยอาจช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากคนขับรถบัสที่ไม่ระมัดระวังได้ การตระหนักถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวจะทำให้คุณมีความพร้อมมากขึ้นในการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
รู้จักขีดจำกัดของรถของคุณ
รถบัสเป็นยานพาหนะขนาดใหญ่และหนักที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าให้ใครมาตามท้ายคุณ เพราะรถบัสต้องจอดห่างกันมากจึงจะปลอดภัย ยิ่งคุณเว้นระยะห่างระหว่างรถกับยานพาหนะขนาดใหญ่มากเท่าไร คุณก็ยิ่งมีเวลาป้องกันอุบัติเหตุนานขึ้นเท่านั้น
ข้อแนะนำสำหรับผู้โดยสาร
ผู้โดยสารจำนวนมากพึ่งพาคนขับรถบัสเพียงอย่างเดียวเพื่อให้แน่ใจว่าการเดินทางของพวกเขาจะปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารรถบัสจะต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัย
ขึ้นรถอย่างปลอดภัย
รถโดยสารประจำทางมักจะหยุดรับผู้โดยสารบนถนนที่พลุกพล่าน ดังนั้นควรระมัดระวังขณะขึ้นรถโดยสารเพื่อป้องกันไม่ให้รถหรือยานพาหนะอื่นชน เมื่อรถโดยสารกำลังเข้าใกล้ ให้รอจนกว่ารถจะหยุดสนิทก่อนจึงค่อยเข้าไปใกล้ประตูรถ นอกจากนี้ ควรระวังอย่าก้าวเท้าเข้าไปในถนนที่พลุกพล่านโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อขึ้นบันไดรถโดยสาร ควรใช้ราวจับเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการพลัดตก
ใช้อุปกรณ์เพื่อควบคุมความปลอดภัย
หากรถบัสของคุณมีระบบความปลอดภัย อย่าลังเลที่จะใช้ระบบดังกล่าว หลายคนหลงเชื่อในความมั่นใจที่ผิด ๆ จากห้องโดยสารที่กว้างขวางของรถบัส และพวกเขาใช้โอกาสนี้ในการเคลื่อนที่ไปมาในห้องโดยสารอย่างอิสระขณะเดินทาง เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผลที่ตามมาจะเลวร้ายมากสำหรับผู้ที่ไม่ได้สวมอุปกรณ์ความปลอดภัย
อย่าให้สิ่งรบกวนใจ
คนขับรถบัสต้องมีสมาธิเพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้อย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการส่งเสียงดังหรือก่อกวนสมาธิ เพราะอาจส่งผลต่อความสามารถในการมีสมาธิของคนขับบนท้องถนน