น้ำใจหลั่งไหล หน่วยงานรัฐ-เอกชน-สมาคม-มูลนิธิ ส่งต่อความช่วยเหลือพี่น้องคนไทยประสบภัยน้ำท่วม

น้ำใจหลั่งไหล หน่วยงานรัฐ-เอกชน-สมาคม-มูลนิธิ ส่งต่อความช่วยเหลือพี่น้องคนไทยประสบภัยน้ำท่วม

ธารน้ำใจหลั่งไหล คนไทยไม่ทิ้งกัน หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน-สมาคม-มูลนิธิต่าง ๆ ร่วมส่งความช่วยเหลือพี่น้องคนไทย ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมภาคเหนือไม่ขาดสาย 

 

 

ในปีนี้ ประเทศไทยเผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วมที่รุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมาในพื้นที่ภาคเหนือหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ขาดแคลนอาหาร และเกิดความเจ็บป่วย

สาเหตุหลักของน้ำท่วมในปีนี้มาจากปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งทำให้ฝนตกหนักกว่าปกติและอุณหภูมิลดลงทั่วประเทศ แม่น้ำสายหลักหลายสายในภาคเหนือ เช่น แม่น้ำน่าน ยม ปิง วัง และกก เอ่อล้นจนเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ พายุไต้ฝุ่นยางิที่พัดถล่มประเทศไทยในช่วงกลางเดือนกันยายน 2567 ยังทำให้สถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงขึ้น

อย่างไรก็ตามเมื่อยามใดที่ประเทศเกิดวิกฤต คนไทยไม่เคยทิ้งกัน ธารน้ำใจจึงหลั่งไหลผ่านองค์กรต่างๆ เพื่อรวบรวมสรรพกำลังจากทุกพื้นที่ของคนไทยส่งกำลังทรัพย์ กำลังใจให้พี่น้องตกทุกข์ได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งมีองค์กรต่าง ๆ ออกมาเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือดังนี้ 

 

 

หน่วยงาน-สมาคม-มูลนิธิไทยช่วยเหลือน้ำท่วม

1.สภากาชาดไทย: เปิดรับบริจาคโครงการ ‘ธารน้ำใจ สู้ภัยน้ำท่วม’ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพ การอพยพผู้ประสบภัย และแจกจ่ายสิ่งของจำเป็น เช่น อาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์ยังชีพ

2.มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก: ร่วมกับไทยพีบีเอสและองค์กรอื่น ๆ 

3.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: เปิดรับบริจาคสิ่งของและเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดน่าน

4.กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.): สายด่วน 1784 สำหรับการแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉิน

5.มูลนิธิเพชรเกษมน่าน: รับบริจาคข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร, อาหารแห้ง, และน้ำดื่ม

6.มูลนิธิร่วมกตัญญู : องค์กรอาสาสมัครที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและอุบัติเหตุต่างๆ

7.มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง : เป็นองค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือด้านการกู้ภัย การจัดหาอาหารและสิ่งของยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม

8.มูลนิธิกระจกเงา : องค์กรที่เน้นการช่วยเหลือในชุมชนและการจัดการอาสาสมัครเพื่อให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน เปิดรับบริจาคสิ่งของและเงินทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เช่น แพมเพิส, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อาหารสำเร็จรูป

 

 

9.มูลนิธิสยามเชียงราย : เปิดรับบริจาคน้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้งจำนวนมาก เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบอุทกภัย

10.HelpT แพลตฟอร์ม ภายใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) หรือดีป้า ช่องทางสนับสนุนการสื่อสารระหว่างประชาชนกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  โดยได้พัฒนาและให้บริการระบบ Smart City on LINE OA แพลตฟอร์มการสื่อสารสองทางระหว่างเมืองกับประชาชนมาต่อยอดสู่ HelpT น้ำท่วม ช่วยด้วย

ประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น เหตุน้ำท่วมสูง ถนน สะพานชำรุด ต้นไม้ล้มขวางทาง เสาไฟฟ้าหักโค่น ฯลฯ และขอความช่วยเหลือ อาทิ การขออพยพ การขออาหาร อุปกรณ์ส่องสว่าง กระสอบทราย ฯลฯ ซึ่งคำขอจากประชาชนจะถูกส่งไปยังหน่วยงานท้องถิ่น จากนั้นความช่วยเหลือจะถูกส่งเข้าไปในพื้นที่โดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ HelpT ยังมีการรวบรวมเบอร์โทรแจ้งเหตุฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ และให้ข้อมูลพยากรณ์ปริมาณฝนที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่จากแพลตฟอร์ม FAHFON (ฟ้าฝน) โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนถึงเดือนธันวาคม 2567 หรือจนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด

11.PUBAT ตั้งกองทุนฟื้นฟูการอ่านฯ สมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย หรือ PUBAT ได้ตั้งกองทุนฟื้นฟูการอ่านฯ ระดมทุน ช่วยเหลือ ฟื้นฟู โรงเรียน ห้องสมุด ตลอดจนร้านหนังสือ ที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ภาคเหนือ-อีสาน

เนื่องจากพบว่า มีสถานศึกษาที่ประสบอุทกภัยจำนวนรวมทั้งสิ้น 423 โรงเรียน 54 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ใน 32 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.ย. 2567 จากศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังเพื่อช่วยเหลือสถานศึกษาที่ประสบเหตุอุทกภัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. สร้างความเสียหายทั้งอาคารเรียน ห้องเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน สิ่งปลูกสร้าง ห้องน้ำ ห้องสุขา และพื้นที่โดยรอบ ทำให้ต้องเร่งช่วยเหลือและฟื้นฟู จึงได้จัดตั้ง ‘กองทุนฟื้นฟูการอ่าน เพื่อผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567’ ขึ้น พร้อมสมทบเงินตั้งต้นจำนวน 200,000 บาท

เชิญชวนสมาชิก ตลอดจนผู้สนใจ ร่วมบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนกองทุนฟื้นฟูการอ่าน โดยทุกการบริจาคจะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือโรงเรียน ห้องสมุด ตลอดจนร้านหนังสือในการฟื้นฟูการอ่านและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเต็มที่ โดยผู้สนใจสามารถร่วมบริจาคได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน บัญชีเลขที่ 463-1-73492-9 ชื่อบัญชี ‘กองทุนฟื้นฟูการอ่าน เพื่อผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567’ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป พร้อมทั้งได้เปิดช่องทางการรับแจ้งขอรับการช่วยเหลือจากผู้ประสบภัยได้ทางอีเมล [email protected]  ตลอด 24 ชม. 

12.องค์กรภาคการศึกษา มทร.ล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ร่วมกับ มทร.ทั้ง 9 แห่ง เทศบาลนครเชียงใหม่ มูลนิธิต้นไม้สีเขียว สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติประเทศไทย ( D.R.A.T) เปิด ‘ศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่เมืองเชียงใหม่’ ที่ มทร.ล้านนา เพื่อปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือประชาชน ดังนี้ 

  • เปิดโรงครัวเพื่อปรุงอาหารและผลิตน้ำดื่มจากรถผลิตน้ำดื่ม Hydro Pure เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยทั้งในพื้นที่และมีบริการรับเอง
  • บริการเรือสปีดโบ๊ทสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ อาทิ ผู้ป่วย คนชรา เด็กเล็ก และส่งอาหาร น้ำดื่ม
  • บริการโดรนส่งของสำหรับพื้นที่น้ำท่วมสูง และบินสำรวจ โดยสมาคมตอบโต้ภัยพิบัติประเทศไทย
  • บริการรถยกสูงสำหรับเข้าไปยังพื้นที่เสี่ยง พร้อมทีมงานกว่า 50 ชีวิต อาสาสมัคร และนวัตกรจิตอาสากว่า 200 คน
  • บริการพื้นที่พักพิงสำหรับผู้ประสบภัย
  • บริการจุดจอดรถ ณ มทร.ล้านนา (ถ.ห้วยแก้ว) และ มทร.ล้านนาดอยสะเก็ด
  • ช่วยฟื้นฟูบ้านเรือน ซ่อมปั๊มน้ำ ซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าหลังน้ำลด โดยนวัตกรจิตอาสาจากทั้ง 9 มทร.

 

 

 

องค์กรธุรกิจ

1.มูลนิธิเอสซีจี มีโครงการช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติที่ครอบคลุมทั้งการบรรเทาทุกข์เร่งด่วน การฟื้นฟูหลังเหตุการณ์ และการพัฒนาที่ยั่งยืน

ระยะที่หนึ่ง ให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน จัดส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ ได้แก่ ถุงยังชีพ หรือ สุขากระดาษเป็นต้น

ระยะที่สอง  เป็นการช่วยเหลือฟื้นฟูหลังเหตุการณ์สงบ ประกอบด้วย การซ่อมแซมพื้นที่สาธารณะ การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลืออาชีพ

ระยะที่สาม เป็นระยะการพัฒนาที่ยั่งยืน เกื้อหนุนให้พวกเขามีโอกาสได้ฟื้นคืนวิถีชีวิต อาชีพ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์กลับคืนมาจนสามารถยืนหยัดต่อไปได้ในระยะยาว 

 

2.สิงห์อาสา ร่วมกับเครือข่ายกู้ภัยและมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยในหลายจังหวัด เพื่อแจกจ่ายสิ่งของจำเป็นและเฝ้าระวังอันตรายร่วมกับทีมกู้ภัย และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นพร้อมทั้งอาหารและน้ำดื่มสะอาดไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น

 

3.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมมอบของใช้จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ไฟฉาย ถ่าน Panasonic และเทียนไขเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในโครงการ ‘เพื่อนพนักงานซีพี ออลล์ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม’ ให้กับสภากาชาดไทย ณ ที่จัดตั้งโรงครัว ที่วัดพรหมวิหาร อ.แม่สาย จ.เชียงราย

 

4.มิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย. ประเทศไทย ส่งมอบความห่วงใยแก่ผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคเหนือต่อเนื่อง มอบสิ่งของจำเป็นจากร้าน มิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย. อาทิ เชือกไนล่อน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ถุงขยะ ไฟฉายคาดหัว และรองเท้าแตะ รวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท แก่มูลนิธิหลวงพ่อวิชัยเขมิโย วัดถ้ำผาจม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และมูลนิธิรักษ์ไทย

 

 

 

5.กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ มอบกระเป๋ายังชีพและน้ำดื่มจากสาริน ดรงค์สุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนงานสื่อสารองค์กร และผู้แทนกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์

6.โออาร์ OR  สนับสนุนก๊าซหุงต้ม ปตท. จำนวนกว่า 900 กิโลกรัม ให้แก่โรงครัวฝูงบิน 416 และโรงครัวสภากาชาดไทย (วัดสิงห์) เพื่อใช้ประกอบอาหารสำหรับให้ชุดปฎิบัติการทางอากาศนำส่งแก่ผู้ประสบภัยที่รถและเรือไม่สามารถเข้าถึงได้ และ ร่วมกับกองบัญชาการกองทัพไทย บรรจุถุงยังชีพโออาร์ และลงพื้นที่มอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัย 

 

7.กลุ่ม ปตท. ร่วมกระทรวงพลังงาน จัดส่งถุงยังชีพ สิ่งของจำเป็น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 22,000 ชุด รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท 

 

8.บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชวนสมาชิกบางจาก กรีนไมลส์ ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แลกแต้มสมาชิกบางจากเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคมอบให้แก่ “มูลนิธิเพื่อนพึ่งพา (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย” เพื่อจัดทำถุงยังชีพ จัดตั้งโรงครัวประกอบอาหารปรุงสุก บรรเทาทุกข์ประชาชนที่ประสบภัยและนำไปฟื้นฟูหลังเกิดเหตุอุทกภัย โดยทุก 100 คะแนนเป็นเงินบริจาค 20 บาท

 

9.บริษัท อินฟราเซท จำกัด (มหาชน) หรือ INSET จัดทำโครงการ ‘ธารน้ำใจ ช่วยภัยน้ำท่วม’ ร่วมบริจาคสิ่งของอุปโภคและบริโภค ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยผู้บริหารและพนักงานบริษัทฯ ร่วมมอบสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม

 

10.กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ CPCRT เครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่งมอบเครื่องอุปโภค บริโภค ของใช้จำเป็นเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น 

 

11.บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริจาคผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้พร้อมดื่มดอยคำ ผ่านมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก

 

12.ตัวแทนจิตอาสา MBK Care ร่วมมอบน้ำดื่ม และแพคถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 

 

13.ดิไอคอนกรุ๊ป ได้มอบเงินบริจาค, ข้าวสารปันสุข 200 ถุง, น้ำดื่มกว่า 2,000 ขวด และผลิตภัณฑ์ iCON MEAL รวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท พร้อมการสมทบทุนร่วมกับ คุณบุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ประธานมูลนิธิองค์กรทำดี และ ท่าน ว.วชิรเมธี 

 

 

 

14.ซีพีเอฟ มอบวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหาร ส่วนบริษัทในเครือซีพี ได้นำข้าวตราฉัตร อาหารพร้อมรับประทาน ถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งรถโมบายสัญญาณทรู 5 จี เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง อำเภอท่าวังผา และอำเภอเวียงสา ก่อนหน้านี้ จิตอาสายังลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย ร่วมมอบอาหารสด สนับสนุนโรงครัวพระราชทาน

 

15.ไทยยูเนี่ยน มอบผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องซีเล็กทูน่า น้ำพริกทูน่า และทูน่าแครกเกอร์พร้อมทาน ส่งอาหารกล่องและสิ่งของจำเป็นให้ดับทีมกู้ภัย

 

16.โลตัส-แม็คโคร ภายใต้ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) มุ่งเคียงข้างสังคมไทย ผนึกกำลังลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ น้ำดื่มและสิ่งของจำเป็น ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบน น่าน เชียงราย และพะเยา

 

17.ยูนิลีเวอร์ ได้ร่วมมอบสิ่งของอุปโภคบริโภคไปยังพื้นที่ประสบภัย มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 8.29 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคหลายชนิด ทั้งสำหรับครัวเรือนและการดูแลส่วนบุคคลจากแบรนด์ดังต่างๆ เช่น บรีส โอโม ซันไลต์ โดฟ ซันซิล เคลียร์ วาสลีน ลักส์ คนอร์ และเบสท์ฟู้ดส์ 

 

18.ไทวัสดุ ได้เข้าไปช่วยเหลือ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะประสบภัย ระยะทำความสะอาด และระยะฟื้นฟู โดยมีการระดมกำลังอาสาจากพนักงานไทวัสดุ เข้าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที เพื่อร่วมมอบบริจาคน้ำดื่ม ถุงขยะ และสิ่งของอุปโภคบริโภคแก่หน่วยงานในพื้นที่ต่างๆ

 

อาสาสมัครและเครือข่ายท้องถิ่น แบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้

 

1.อาสาสมัครกู้ภัย (Volunteer Rescue Teams)

  • มีหลายหน่วยงานทั่วประเทศ เช่น มูลนิธิร่วมกตัญญู, มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง, และมูลนิธิสว่างบริบูรณ์ หน่วยกู้ภัยเหล่านี้มักจะทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐเพื่อให้การช่วยเหลือในการอพยพผู้คน การจัดหาน้ำ อาหาร ยารักษาโรค และการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

2.ชมรมอาสาพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

  • เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานในชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมและจัดการกับภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม กลุ่มเหล่านี้มักจะช่วยในการจัดการศูนย์พักพิง และการระดมทุนหรือรับบริจาคสิ่งของสำหรับชุมชนที่ประสบภัย

3.เครือข่ายกลุ่มเยาวชนจิตอาสา

  • เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และเยาวชนที่รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยการจัดส่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

4.ธนาคารน้ำใจ (Volunteer Bank)

  • ธนาคารน้ำใจเป็นโครงการที่สนับสนุนให้อาสาสมัครจากทั่วประเทศเข้ามาช่วยเหลือในการบรรเทาภัยพิบัติน้ำท่วม โดยมีการรวมตัวของคนจากหลากหลายอาชีพเพื่อให้การสนับสนุนในด้านการจัดหาอาหาร ยา และการจัดหาที่พักพิงให้กับผู้ประสบภัย

 

 

 

5.ศูนย์ประสานงานอาสาสมัครเครือข่ายภัยพิบัติ (Volunteer Network for Disaster Coordination)

  • ศูนย์นี้เป็นเครือข่ายที่ช่วยประสานงานอาสาสมัครและหน่วยงานท้องถิ่นในการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติต่างๆ โดยเฉพาะน้ำท่วม มีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วและการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดหาสิ่งของยังชีพและการช่วยเหลือฉุกเฉิน

6.กลุ่ม We Volunteer (WeVo)

  • กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มักจะลงพื้นที่ช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ รวมถึงน้ำท่วม การช่วยเหลือมักจะครอบคลุมถึงการช่วยเหลือทางด้านอาหาร น้ำสะอาด และการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย

7.ชมรมคนรักในหลวง

  • เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ โดยการระดมทุน รับบริจาคสิ่งของ และจัดส่งทีมอาสาลงพื้นที่

 

 

องค์กรนานาชาติ

 

1.International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies (IFRC)

  • ให้ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติทั่วโลก รวมถึงน้ำท่วม โดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือทางการแพทย์ การฟื้นฟู และการฝึกอบรมชุมชนเพื่อการเตรียมพร้อม

2.UNICEF

  • องค์การยูนิเซฟช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยเน้นไปที่การจัดหาอาหาร น้ำสะอาด และการรักษาพยาบาล ซึ่งรวมถึง ชุดสุขอนามัย สิ่งของจำเป็นสำหรับเด็กเล็ก และถุงมหัศจรรย์ยูนิเซฟที่มีของเล่นและอุปกรณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กเล็ก ซึ่งในแต่ละชุดยังมีข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัย การเลี้ยงดูเด็กทารก และการดูแลสุขภาพสำหรับครอบครัวที่มีเด็ก

3.World Food Programme (WFP)

  • องค์การที่มุ่งเน้นการจัดหาอาหารให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติรวมถึงน้ำท่วม

4.CARE International

  • องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยให้ความช่วยเหลือในรูปแบบของการจัดหาอาหาร น้ำสะอาด และการฟื้นฟูชุมชน

5.Oxfam

  • องค์กรที่มุ่งเน้นการจัดหาน้ำสะอาด สุขอนามัย และความช่วยเหลือด้านการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ