กกต. เผยว่า ในวันที่ 8 ก.พ. 66 กกต. จะเชิญพรรคการเมืองทั้งหมด มาประชุมร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง และของผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. ตลอดจนการทำไพรมารีโหวต ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกพรรคการเมืองปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด
นายปกรณ์ มหรรณพ รองเลขาธิการ กกต. เปิดเผยว่า “พุธหน้า (8 ก.พ.) กกต.จะเชิญพรรคการเมืองทั้งหมดมาคุย เรื่องค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และการทำไพรมารีโหวต เพื่อให้ทุกพรรคส่งผู้สมัครให้ถูกต้อง”
พร้อมกับยืนยันว่า กกต.มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีมีการยุบสภา ที่จะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน หรือกรณีที่สภาอยู่ครบวาระ ที่จะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน ซึ่งไม่ว่าจะเกิดกรณีใด กกต.ยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้ และได้ขอบคุณไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ออกมาบอกว่าจะไม่ก้าวล่วงการทำงานของ กกต.ในการจัดการเลือกตั้ง
“เรื่องระยะเวลานั้น ถ้ายุบสภา เรามีเวลา 60 วัน แต่ถ้าอยู่ครบกำหนด เรามีเวลา 45 วัน ถ้าหากยุบสภา เรามีเวลามากกว่ากรณีสภาครบวาระ 15 วัน เราจึงกล้าพูดว่าเราพร้อมแล้ว สำหรับจัดการเลือกตั้งให้ชอบด้วยกฎหมาย ต้องขอขอบคุณนายกฯ ที่บอกว่าจะไม่ก้าวล่วง กกต.” รองเลขาธิการ กกต.กล่าว
นอกจากนี้ ยังชี้แจงถึงกรณีมีข่าวว่า กกต.ไปขอเวลาจากรัฐบาล 45 วัน ในการเตรียมจัดการเลือกตั้งว่า ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงการไปทำความเข้าใจกับรัฐบาลว่าเมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีการประกาศใช้แล้ว กกต.ก็มีความจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการแบ่งเขต การประกาศให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเรื่องการแบ่งเขต การจัดทำความเห็นการแบ่งเขตที่เหมาะสม โดยยืนยันว่า ไม่ใช่เป็นการไปขอเวลาเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ กกต. แต่เป็นการคำนึงถึงพรรคการเมือง ให้สามารถมีเวลาในการจัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อให้ทำได้ถูกต้องตามกฎหมาย
“ที่มีข่าว กกต.ไปขอเวลารัฐบาล 45 วันนั้น สิ่งที่ถูกต้องคือ เราได้ประสานรัฐบาลตลอด และเพียงแต่ไปชี้แจงทำความเข้าใจว่า เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกาศใช้แล้ว เรามีความจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา…ไม่ใช่ความสะดวกสบาย เราเตรียมตั้งเป้าหมายการทำงานไว้แล้ว เพียงแต่เลขาฯ กกต.ท่านมีน้ำใจ คำนึงถึงพรรคการเมือง เมื่อเราทำเสร็จ พรรคการเมืองก็ต้องมีเวลาในการจัดการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สิ่งนี้คือสิ่งที่เราเผื่อไว้ให้พรรคการเมือง…การที่เรามีน้ำใจ คิดหวังดี กับส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อาจส่งผลร้ายมาที่เรา เพราะความไม่เข้าใจ ไม่ศึกษากฎหมาย กฎระเบียบว่าเป็นอย่างไร แต่เรารับฟังความคิดเห็น ถ้าถูกต้อง เราก็จะนำไปปฏิบัติ” นายปกรณ์ กล่าว
ไทม์ไลน์การเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งส.ส.ที่จะครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 มี.ค.นี้ หรือในกรณีที่หากจะมีการยุบสภาฯ ก่อนครบวาระ
การดำเนินการก่อนกม.ลูกมีผลบังคับใช้
โดยการเตรียมความพร้อมในช่วงก่อนที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกส.ส. มีผลบังคับใช้ สำนักงานกกต. ได้ มอบหมายให้สำนักงานกกต.ประจำจังหวัดทุกจังหวัด และกรุงเทพมหานคร จัดเตรียมข้อมูลและพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือก ตั้งอย่างน้อยจังหวัดละ 3 รูปแบบ เพื่อใช้ในการรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัด เป็นเวลา 30 วัน โดยจัดเตรียมข้อมูลที่ถือตามจำนวนราษฎรที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งไว้ให้พร้อมดำเนินการได้ทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ กกต. ยังไม่สามารถดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกส.ส.(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ.2566 ยังไม่มีผลบังคับใช้ เพราะการแบ่งเขตเลือกตั้งจะชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อกกต.มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้อำนาจในการ ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น
*การดำเนินการหลังกม.ลูกมีผลบังคับใช้ (29 ม.ค.)
เมื่อวันที่ 30 ม.ค.66 ซึ่งเป็นวันถัดจากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้ กกต.ได้เห็นชอบ ร่างระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง จำนวน 5 ฉบับ คือ
1) ร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ….
2) ร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือตั้งและเขตเลือกตั้งของ แต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาแทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐชรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไข เพิ่มติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564
3) ร่างประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและการแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัด พ.ศ…..
4) ร่างระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าตัวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ….
5) ร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดประชุมสมาชิกพรรคการเมือง เพื่อรับฟังความคิด เห็นการสรรหาผู้สมัศรรับเสือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ….
โดยร่างประกาศ ตามข้อ (1) และ (2) ไต้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
นอกจากนี้ เมื่อระเบียบ/ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เกี่ยวข้อง ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใชับังคับ แล้ว สำนักงานกกต.ได้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดทันที ซึ่งต้องดำเนินการให้ครบ ทุกขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด แต่จะเร่งรัดระยะเวลาสำเนินการในแต่ละขั้นตอนให้น้อยลงหรือรวดเร็วขึ้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้
• ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อย 3 รูปแบบ ภายใน 3 วัน
• ปิดประกาศรูปแบบการแบ่งเขตลือกตั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดเป็นเวลา 30 วัน นับแต่วันปิดประกาศ (ระหว่างวันที่ 4-13 กุมภาพันธ์ 2566)
• สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพหานคร รวบรวมความเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนเพื่อจัดทำ
สรุปความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณา
• กกต.ประชุมเพื่อพิจารณารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 77 จังหวัด 364 เขตเลือกตั้ง
• ส่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ เมื่อประกาศเขตลือกตั้งแล้วพรรกการเมืองจะได้นำไปใช้ในการดำเนินการสรรหา ผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อไป
ในส่วนการนับจำนวนราษฎรเพื่อนำมาใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง กกต.ชี้แจงว่า ตามรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎร ทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง
ซึ่งสำนักทะเบียนกลางได้มีประกาศจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 และได้นำประกาศดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังนั้นการแบ่งเขตแลือกตั้งของสำนักงาน กกต.จึงเป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญฯ แล้ว
กรอบระยะเวลาการแบ่งเขตเลือกตั้งส.ส. (รวม 29 วัน)
-วันที่ 31 ม.ค.66 – มีประกาศกกต. เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งส.ส. พ.ศ.2566
– มีประกาศกกต.เรื่องจำนวนสมาชิกแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด
-วันที่ 1-3 ก.พ.66 – ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิจารณารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อย 3 รูปแบบ
-วันที่ 4-13 ก.พ.66 – ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปิดประกาศรูปแบบการแบ่งเขตการเลือกตั้ง เพื่อรับฟัง
ความเห็นพรรคการเมืองและประชาชน
-วันที่ 14-16 ก.พ.66 – ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสรุปความเห็นพรรคการเมืองและประชาชน และเสนอ
รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งพร้อมข้อเสนอแนะให้ กกต.
-วันที่ 20-28 ก.พ.66 – กกต.พิจารณารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
เกาหลีใต้ขาดดุลการค้าสูงเป็นประวัติการณ์กระทบต่อเศรษฐกิจ
https://www.thaiquote.org/content/249390
วช. หนุน วว. และ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ พัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ
https://www.thaiquote.org/content/249387
ซีพีฟู้ดส์ของไทยเล็งทุ่ม 30 ล้านดอลลาร์ในตะวันออกกลาง การเลี้ยงกุ้งและไก่ถือเป็นการลงทุนใหม่ในภูมิภาค
https://www.thaiquote.org/content/249389