ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด โดย “ลดพึ่งพาสหรัฐฯ” หลังจากที่โดนัล ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ หยุดลงทุนในพลังงานสะอาด ทำให้ 60 ประเทศคู่ค้าเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
ทิม โมฮิน (Tim Mohin) กรรมการและหุ้นส่วน Boston Consulting Group (BCG) ผู้เชี่ยวชาญด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน ได้วิเคราะห์ผลกระทบของ ESG ต่อเศรษฐกิจโลกว่า การเก็บภาษีจากการค้าขายทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อาจทำให้เกิดผู้ชนะและผู้แพ้ในตลาด โดยผู้ที่ได้ประโยชน์คือเจ้าของบ้านและผู้ถือทองคำ ส่วนผู้แพ้ คือเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะถดถอย
เพราะการเก็บภาษีกว่า 60 ประเทศทั่วโลก มีโอกาสฉุดให้ภาวะเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯถดถอย นักลงทุนตลาดหุ้นในออสเตรเลีย สูญเสยมูลค่า 26.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีหุ้นในหลายตลาด ทั้งเอเชีย และสหรัฐฯ รวมถึงที่อื่นๆ ต่างร่วงลงมารับข่าวนี้ เช่น S&P/ASX 200
อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนเผชิญความท้าทาย
การภาษีรอบใหม่ ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้า กำลังเผชิญกับปัญหาการระงับเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจาก IRA (Inflation Reducation Act) ทำให้ต้องหยุดโครงการพลังงานสะอาด ขณะที่ จีน มีการจำกัดการส่งออกวัตถุดิบ เช่น แร่ธาตุหายาก ซึ่งอาจทำให้ขนาดของอุตสาหกรรมนี้ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในจีน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเตือนว่า การลดการสนับสนุนพลังงานทดแทน อาจจะก่อให้เกิดวิกฤติพลังงานในสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปีข้างหน้า หลังจากมีการเร่งการผลิตภายในประเทศในรอบ 20 ปี เพราะต้องพึ่งพาพลังงานทดแทนและแบตเตอรี่
การสร้างความร่วมมือใหม่ เพื่อลดพึ่งพา “สหรัฐฯ”
ลอร์ด อแดร์ เทิร์นเนอร์ หัวหน้าคณะกรรมการการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ได้กล่าวว่า จีน สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร จะต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความตกลงด้านสภาพภูมิอากาศที่ไม่ขึ้นอยู่กับสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาพลังงานสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“โลกใบนี้ต้องร่วมมือกันสร้างความตกลงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับสหรัฐ”
เปิดทาง จีน ก้าวสู่ผู้นำพลังงานสะอาด
จิม ร็อบบ์ CEO แห่ง North American Electric Reliability Corporation ระบุว่า การชะลอการพัฒนาพลังงานสะอาดของสหรัฐฯ ทำให้จีนมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในด้านนี้ หลังจากการลงทุนมากถึง 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2567 ซึ่งคิดเป็นมากกว่าหนึ่งในสามของการลงทุนด้านพลังงานสะอาดทั่วโลก
ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่ผลิตและบริโภคพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของโลก สถิติเมื่อปี 2564 โครงสร้างการบริโภคพลังงานของจีนประกอบด้วย (1) ถ่านหิน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 (2) น้ำมัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.5 และ (3) พลังงานสะอาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.5 เช่น ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ นิวเคลียร์ ลม และแสงอาทิตย์ เป็นต้น
ส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดในโลก ส่วนใหญ่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) และลม (Wind) โดยข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency – IEA) จีนมีการให้สิทธิประโยชน์โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งที่อยู่บนบกและในทะเล
จีนก้าวสู่ผู้นำพลังงานสะอาดของโลกในหลายด้าน ดังนี้
พลังงานแสงอาทิตย์
- เป็นผู้ผลิตและติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่ที่สุดของโลก
- ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% ของห่วงโซ่อุปทานโซลาร์เซลล์ทั่วโลก
- มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สูงที่สุดในโลก
พลังงานลม
- มีการติดตั้งกังหันลมทั้งบนบกและนอกชายฝั่งมากที่สุดในโลก
- เป็นผู้ผลิตกังหันลมรายใหญ่ที่สุด มีบริษัทผู้ผลิตชั้นนำหลายแห่ง
ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
- ครองตลาดการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในโลก
- มีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำหลายราย เช่น BYD, NIO, XPeng
- ควบคุมห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนกว่า 70%
การกักเก็บพลังงาน
- เป็นผู้นำในการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน
- มีการลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยีแบตเตอรี่รุ่นใหม่
ไฮโดรเจนสีเขียว
- เร่งพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนสีเขียวและเซลล์เชื้อเพลิง
- มีโรงงานผลิตไฮโดรเจนสีเขียวขนาดใหญ่หลายแห่ง
การลงทุนและนโยบาย
- ทุ่มงบประมาณมหาศาลในการวิจัยและพัฒนาพลังงานสะอาด
- มีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
- แผนพัฒนาห้าปีฉบับล่าสุดเน้นการลดการปล่อยคาร์บอนและเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด
เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน
- มีระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงประสิทธิภาพสูงที่เชื่อมโยงทั่วประเทศ
- พัฒนาโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ครอบคลุมมากที่สุดในโลก
ทั้งนี้ จีนได้วางตำแหน่งตัวเองให้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานโลก ไม่เพียงแต่เพื่อการพัฒนาภายในประเทศแต่ยังรวมถึงการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีไปทั่วโลกผ่านโครงการ Belt and Road Initiative ที่มีโครงการพลังงานสะอาดเป็นส่วนสำคัญ
ด้วยเหตุนี้ โลกจึงเริ่มผนึกกำลังเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจจากสหรัฐฯ อีกต่อไป และจีนก็พร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่บทบาทผู้นำในด้านพลังงานสะอาดอย่างเต็มที่ โดยมีสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของการลงทุนด้านพลังงานสะอาดจากทั่วโลกที่มีราว 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
อ้างอิง
https://www.mitihoon.com/2025/04/03/534523/
https://www.tiscowealth.com/article/megatrend-clean-energy/
บทความอื่น ที่น่าสนใจ
เจาะลึก! 4 มหาอำนาจ เปิดศึกแย่งชิงทรัพยากร “แร่หายาก” (Rare Earth) หัวใจสำคัญของเทคโนโลยีสีเขียว