มาถูกทาง! ดัชนี CRI 2025 ชี้ไทยอันดับดีขึ้นจากอันดับ 9 เป็น 30 แต่ยังต้องระวังภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น

มาถูกทาง! ดัชนี CRI 2025 ชี้ไทยอันดับดีขึ้นจากอันดับ 9 เป็น 30 แต่ยังต้องระวังภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น

กรมลดโลกร้อน เผย ประเทศไทยถอยห่างจากจุดเสี่ยงภัยพิบัติระดับโลก หลังดัชนี CRI 2025 จัดอันดับให้ไทยอยู่ที่ 30 ลดลงจากอันดับ 9 เมื่อ 4 ปีก่อน แม้เป็นสัญญาณที่ดี แต่ยังต้องเตรียมรับมือภัยธรรมชาติที่มีแนวโน้มถี่และรุนแรงขึ้น ท่ามกลางวิกฤตโลกร้อนที่ทวีความรุนแรง

 

 

ไทยหลุดเสี่ยงสูง “ภัยพิบัติโลกร้อน” จากอันดับ 9 เป็น 30

 

ในขณะที่ค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว ที่ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงระยะเวลา 30 ปี (2536-2565) พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 30 แสดงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วของไทยในระยะยาว ลดลงเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่แล้วที่อยู่ในอันดับ 9

 

 

ทำไมไทยถึงพ้นโซนอันตราย?

การที่อันดับของไทยดีขึ้นมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ

  1. ประเทศอื่น ๆ ประสบภัยพิบัติรุนแรงกว่า โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
  2. ไทยมีการบริหารจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีระบบเตือนภัยที่แม่นยำขึ้น

 

 

10 ประเทศเสี่ยงภัยสูงสุดในรอบ 30 ปี

จากการจัดอันดับในช่วงปี 1993-2022 พบประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่

  1. โดมินิกา   : เผชิญพายุเฮอร์ริเคนรุนแรง
  2. จีน            : ประสบน้ำท่วม ไต้ฝุ่น คลื่นความร้อน
  3. ฮอนดูรัส  : เจอพายุเฮอร์ริเคนบ่อยครั้ง
  4. เมียนมา   : รับมือไซโคลนและน้ำท่วม
  5. อิตาลี      : เผชิญน้ำท่วมและคลื่นความร้อน
  6. อินเดีย    : มีภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่น คลื่นความร้อน ไซโคลน และน้ำท่วม ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 80,000 คน
  7.  กรีซ       : เผชิญกับไฟป่าและคลื่นความร้อน
  8.  สเปน     : คลื่นความร้อนและน้ำท่วม
  9. วานูอาตู : รับผลกระทบจากพายุไซโคลนและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น
  10. ฟิลิปปินส์ : เผชิญกับพายุโซนร้อนหลายครั้งต่อปี

 

 

10 ประเทศรับผลกระทบมากที่สุดในปี 2022

รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ในปี 2022 ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง 10 อันดับ ได้แก่

  1. ปากีสถาน
  2. เบลีซ
  3. อิตาลี
  4. กรีซ
  5. สเปน
  6. เปอร์โตริโก
  7. สหรัฐอเมริกา
  8. ไนจีเรีย
  9. โปรตุเกส
  10. บัลแกเรีย

 

ความเสียหายทั่วโลกในรอบ 30 ปี

ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรง

  • ผู้เสียชีวิต: มากกว่า 765,000 คน
  • ความเสียหายทางเศรษฐกิจ: 4.2 ล้านล้านดอลลาร์
  • จำนวนเหตุการณ์: กว่า 9,400 ครั้ง

 

 

ไทยต้องเตรียมรับมืออะไรบ้าง?

แม้อันดับจะดีขึ้น แต่ไทยยังต้องเตรียมพร้อมรับมือภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น

  • อุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในฤดูร้อน
  • ภัยแล้งรุนแรง
  • ฝนตกหนักผิดปกติ เสี่ยงน้ำท่วมและดินถล่ม

 

 

แนวทางรับมือในอนาคต

ดร.พิรุณ แนะนำการเตรียมความพร้อม

  • พัฒนาระบบเตือนภัยให้แม่นยำยิ่งขึ้น
  • ปรับปรุงการสื่อสารให้ถึงประชาชนทันท่วงที
  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก

 

ไทยบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 ประเทศไทยมีค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศรายปีอยู่ในอันดับที่ 72 แสดงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วของไทยลดลง เมื่อเทียบกับปี 2019 ที่อยู่ในอันดับ 34

ในขณะที่ค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว ที่ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงระยะเวลา 30 ปี (1993-2022) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 30 แสดงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วของไทยในระยะยาว ลดลงเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่แล้ว ที่อยู่ในอันดับ 9 โดยขณะนั้นเป็นการประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงระยะเวลา 20 ปี (2000-2019)

 

ดร.พิรุณ กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว แต่ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับผลกระทบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงฤดูร้อน ภัยแล้ง ปริมาณฝนที่ตกหนักผิดปกติ จนส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม เป็นต้น

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมรับมือและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้า ให้มีความแม่นยำ การสื่อสารที่เข้าถึงประชาชนอย่างทันท่วงที การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดอุณหภูมิโลก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและคนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ท่ามกลางภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

อ้างอิง

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

https://shorturl.asia/lqdiS

https://thainews.prd.go.th/thainews/news/view/919571/?bid=1