ชีวิต-ความตาย เลือกได้ การุณยฆาต การตัดสินใจที่ยากที่สุด สิทธิทางเลือกของผู้ป่วยที่รักษาไม่หายขาด

ชีวิต-ความตาย เลือกได้ การุณยฆาต การตัดสินใจที่ยากที่สุด สิทธิทางเลือกของผู้ป่วยที่รักษาไม่หายขาด

การการุณยฆาต คือ การยุติชีวิตผู้ป่วยที่ทรมานจากโรคคร้ายแรงหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาหายได้ เพื่อให้พ้นจากความเจ็บปวด ถึงแม้ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มารองรับ แต่ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการเข้ารักษาต่อที่จะยื้อชีวิตในข่วงสุดท้ายไว้

 

 

ทำไมถึงควรมีการการุณยฆาต เพราะในผู้ป่วยมีสิทธิในการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่ตนเอง และในบางครั้งการเลือกการุณยฆาตนั้นเป็นตัวเลือกหนทางแห่งจากพ้นทุกข์ได้ดีที่สุดมากกว่าการทนทุกข์ทรมานกับโรคที่ไม่สามารถรักษาหายได้

 

จากข้อถกเถียง ที่สะท้อนประเด็นสู่ซีรีส์ การุณยฆาต 

ซีรีส์ที่ชวนสังคมไทยเกิดข้อถกเถียง จากช่อง one D ORIGINAL  ละครแนวสืบสวน สอบสวน เรื่อง “การุณยฆาต” ที่ได้สะท้อนถึงประเด็นการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่ไม่สามารถรักษาได้และผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเนื้อเรื่องจะเล่าเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ตกอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถมีชีวิตต่อไปได้ ทนทุกข์ทรมานต่อการรักษาแบบไม่รู้จบ และต้องเผชิญกับความเจ็บปวดอย่างหนัก โดยที่พวกเขาเหล่านั้นมีทางเลือกในการหลีกหนีความทรมาน 

แนวทางการการุณยฆาตช่วยให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบและสมศักดิ์ศรี โดยจะเป็นการช่วยเหลือจากแพทย์หรือการขอยุติชีวิตด้วยตนเอง แต่ประเด็นหลักของการการุณยฆาตนี้ มีข้อถกเถียงทางด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบในสังคมที่มีต่อการตัดสินใจเหล่านี้ โดยต้องพิจารณาถึงสิทธิส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

นักแสดงหลักที่เป็นมุมมองของการการุณยฆาต “หมอกันต์” (ต่อ ธนภพ)  หมอที่คอยช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการช่วยเหลือ สนับสนุนการการุณยฆาตเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย โดยเน้นการให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี และ “ผู้กองทิว” (เจเจ กฤษณภูมิ)  ผู้ที่ผดุงความยุติธรรมและจริยธรรม เคร่งครัดในข้อกฎหมาย ไม่เห็นด้วยกับการการุณยฆาต โดยมองว่าเป็นการละเมิดจริยธรรมและกฎหมาย รวมถึงการเสี่ยงต่อการนำไปใช้ในทางที่ผิดเป็นตัวละครที่ไม่เห็นด้วยกับการการุณยฆาต

“การุณยฆาต” ละครจากช่อง ONE 31 สะท้อนประเด็นการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้ป่วยโรคร้ายแรงและระยะสุดท้าย ที่ต้องการยุติความทุกข์ทรมานผ่านการการุณยฆาต ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ป่วยที่ยังมีข้อถกเถียงด้านจริยธรรมและกฎหมาย โดยมี หมอกันต์ (ต่อ ธนภพ) ผู้สนับสนุนการการุณยฆาตเพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้ป่วย และ ผู้กองทิว (เจเจ กฤษณภูมิ) ผู้ยึดมั่นในกฎหมายและจริยธรรมที่ต่อต้านแนวทางนี้

การรุณยฆาต คือการกระทำที่ช่วยให้ผู้คนที่ป่วยหนักได้พ้นจากความทุกข์ทรมานในการรักษาจากโรคที่รักษาไม่ได้ ได้ยุติชีวิตลงอย่างมีศักดิ์ศรีและไม่ต้องทนทุกข์ทรมานอีกต่อไป ซึ่งการุณยฆาต (Euthanasia) มาจากภาษากรีก โดย “eu” หมายถึง “ดี” และ “thanatos” หมายถึง “ความตาย” รวมกันแปลว่า “การตายที่ดี” หรือ “การตายอย่างสงบ” ซึ่งสะท้อนถึงการจากไปโดยไม่ต้องทนทุกข์หรือทรมาน ในเชิงปรัชญา การตายดี หมายถึงการที่บุคคลสามารถควบคุมช่วงสุดท้ายของชีวิตหรือยุติความทุกข์ทรมานที่รุนแรงได้ การุณยฆาตจึงเป็นการกระทำที่ตั้งอยู่บนความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ

จึงเกิดการสนับสนุนให้มี การุณยฆาต (Euthanasia) ด้วยความยินยอม ยุติชีวิต จากเจ้าตัว โดยความช่วยเหลือจากแพทย์ (Physician Assisted Suicide) มีความคล้ายคลึงกันในการยุติชีวิตของผู้ป่วยเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานจากโรคที่รักษาไม่ได้ แต่ต่างกันที่ การุณยฆาต เป็นการที่แพทย์ทำการยุติชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ขณะที่ การยุติชีวิตด้วยตนเอง คือการที่ผู้ป่วยตัดสินใจยุติชีวิตเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์

ข้อแตกต่างการุณยฆาตกับการยุติชีวิตตนเองมีดังนี้

 

 

การทำการุณยฆาต (Euthanasia)

เป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อยุติชีวิตของผู้ป่วยที่ประสงค์จะสิ้นสุดชีวิต โดยแพทย์จะทำการกระทำบางอย่าง เช่น การให้ยาหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและไม่ต้องทนกับความทรมาน ต่อกรณีนี้ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ

– การรุณยฆาตเชิงปฏิบัติ (Active Euthanasia): การกระทำที่ตั้งใจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เช่น การให้ยาฆ่าชีวิต

– การรุณยฆาตเชิงนิ่งเฉย (Passive Euthanasia): การหยุดหรือปฏิเสธการรักษาที่ช่วยยืดชีวิต เช่น การถอดเครื่องช่วยหายใจ

การยุติชีวิตด้วยตนเองโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ (Physician Assisted Suicide)

เป็นการที่แพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วยในการตัดสินใจยุติชีวิตตัวเอง โดยแพทย์จะให้ยาหรืออุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสามารถใช้เพื่อยุติชีวิตของตนเอง ผู้ป่วยจึงเป็นผู้กระทำการตาย แต่แพทย์มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ

การทำการุณยฆาต เป็นการที่แพทย์กระทำการยุติชีวิตของผู้ป่วยโดยเจตนาเพื่อบรรเทาความทรมาน ส่วนการยุติชีวิตด้วยตนเองโดยความช่วยเหลือจากแพทย์คือการที่ผู้ป่วยตัดสินใจยุติชีวิตเองและได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ ทั้งสองวิธีมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมาน แต่กฎหมายและข้อกังวลทางจริยธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจในแต่ละประเทศ

 

 

 

 

การการุณยฆาตผิดกฎหมาย หรือกฎหมายกันแน่ที่ผิด?

การฆ่าตัวตายโดยมีผู้ช่วยเหลือถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายภายใต้เงื่อนไขของพระราชบัญญัติการฆ่าตัวตาย (พ.ศ. 2504) และมีโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปี การพยายามฆ่าตัวตายไม่ถือเป็นการกระทำผิดทางอาญา

ประเทศไทยยังไม่พร้อมสำหรับกฎหมายยุติชีวิตผู้ป่วย เนื่องจากขาดระบบการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ที่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยที่ไม่มีการดูแลต้องเผชิญกับกระบวนการนี้ การพัฒนาระบบดูแลแบบประคับประคองจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ประเทศไทยมีกฎหมายรองรับการุณยฆาตเชิงรับตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 แต่การุณยฆาตเชิงรุกเป็นแนวคิดจากตะวันตกที่เน้นสิทธิของผู้ป่วยในการตัดสินใจตายดีตามเงื่อนไขที่กำหนดได้แก่

  1. ภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
    ผู้ป่วยที่ต้องอยู่ในสภาพพึ่งพาเครื่องมือทางการแพทย์หรือยาเพื่อระงับความเจ็บปวด อาจต้องการยุติความทรมาน อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด และการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่าผู้ป่วยยังมีโอกาสเยียวยาหรือไม่
  2. สิทธิส่วนบุคคลในการยุติชีวิต
    บุคคลควรมีสิทธิที่จะเลือกยุติชีวิตในสภาวะที่พร้อมและสมัครใจ โดยไม่ถูกกำหนดหรือบังคับจากผู้อื่น อย่างไรก็ตาม การใช้ดุลยพินิจส่วนตัวเพื่อหยิบยื่นความตายให้ผู้อื่น อาจนำไปสู่การใช้ “การุณยฆาต” ในทางที่ไม่เหมาะสม
  3. การยืดชีวิตในสภาพไร้การรับรู้
    การบังคับให้ผู้ป่วยยืดชีวิตในสภาพไร้การรับรู้หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อาจถูกมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย การตัดสินใจในสถานการณ์ “ฟื้นไม่ได้ ตายไม่ลง” จึงควรคำนึงถึงความปรารถนาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

ผู้ป่วยไม่ควรถูกบังคับให้ยืดชีวิตในสภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และไร้การรับรู้ทางสมอง ซึ่งอาจถือเป็นการละเมิดสิทธิ การตัดสินใจในกรณีนี้ควรคำนึงถึงความปรารถนาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

 

 

 

 

แนวทางและข้อกำหนดในการอนุญาตการุณยฆาตเชิงรุกทั่วโลก

ในหลายประเทศอนุญาตให้ “การุณยฆาตเชิงรุก” หรือ Active Euthanasia โดยกฎหมายอนุญาตให้แพทย์ช่วยยุติชีวิตผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคที่รักษาไม่ได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขและขั้นตอนที่เคร่งครัดเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย เช่น เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, แคนาดา, สวิตเซอร์แลนด์, โคลอมเบีย, ออสเตรเลีย และเอกวาดอร์

 

 

โดยแต่ละประเทศมีข้อกำหนดอย่างเคร่งขัด คือ

  1. เนเธอร์แลนด์: เป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายให้การุณยฆาตเชิงรุกเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายในปี 2002 ภายใต้เงื่อนไขที่เคร่งครัด เช่น การมีความทุกข์ทรมานที่ไม่สามารถรักษาได้และการขอความช่วยเหลือจากผู้ป่วยเอง
  2. เบลเยี่ยม: เบลเยี่ยมได้ออกกฎหมายอนุญาตให้ทำการุณยฆาตในปี 2002 เช่นเดียวกับเนเธอร์แลนด์ และต่อมาปรับขอบเขตให้ครอบคลุมการฆ่าตัวตายของเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปในบางกรณี
  3. ลักเซมเบิร์ก: อนุญาตการุณยฆาตเชิงรุกตั้งแต่ปี 2009 ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบจากแพทย์หลายคน
  4. แคนาดา: ในปี 2016 แคนาดาได้ออกกฎหมายที่อนุญาตให้การุณยฆาตเชิงรุกเป็นเรื่องถูกกฎหมายภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานจากโรคที่ไม่สามารถรักษาได้
  5. สวิตเซอร์แลนด์: สวิตเซอร์แลนด์อนุญาตให้ใช้การยุติชีวิตด้วยการช่วยเหลือตัวเองโดยมีการช่วยจากบุคคลภายนอก (Assisted Suicide) แต่ไม่อนุญาตการุณยฆาตเชิงรุกโดยแพทย์
  6. โคลอมเบีย: ในปี 1997 โคลอมเบียได้ออกกฎหมายให้การุณยฆาตเชิงรุกถูกกฎหมายในบางกรณี เช่น การเจ็บป่วยที่ไม่มีทางรักษาและมีความทุกข์ทรมาน
  7. ออสเตรเลีย: ออสเตรเลียมีรัฐวิกตอเรียที่อนุญาตให้การุณยฆาตเชิงรุกเป็นกฎหมายตั้งแต่ปี 2019 โดยมีข้อกำหนดที่ต้องมีการพิจารณาและรับคำปรึกษาจากแพทย์หลายคน
  8. เอกวาดอร์: กฎหมายการุณยฆาตในเอกวาดอร์ยังไม่ชัดเจนเท่าที่อื่น แต่การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการยุติชีวิตในบางกรณีสามารถทำได้โดยไม่ได้ถูกลงโทษตามกฎหมาย

การออกกฎหมายเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับเงื่อนไขที่เคร่งครัด เพื่อให้การุณยฆาตเชิงรุกเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยพบเจอกับความทุกข์ทรมานจากโรคที่ไม่สามารถรักษาได้

 

 

 

 

หลายแง่มุม ‘การตายดี’ ของคนในสังคม

การตายที่ดีในมุมมองสังคมและวัฒนธรรมหมายถึงการจากไปอย่างสงบ ปราศจากความเจ็บปวด โดยยังคงเกียรติและคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น การลาครอบครัวหรือแก้ไขปัญหาค้างคา 

มิติศาสนา พุทธศาสนาเน้นการตายอย่างสงบไร้ความยึดติด ส่วนคริสต์ศาสนาเชื่อมโยงกับการเตรียมพบพระเจ้าอย่างศรัทธา 

ทางการแพทย์ การตายดีเกี่ยวข้องกับการดูแลประคับประคองเพื่อลดทุกข์ทรมาน และเคารพสิทธิผู้ป่วยในการเลือกปฏิเสธการรักษา

การุณยฆาตมุ่งให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบเพื่อยุติความทุกข์ทรมาน แต่ยังมีข้อถกเถียงในสังคมและทางกฎหมาย

ด้านบวก คือช่วยลดความเจ็บปวด เคารพสิทธิส่วนบุคคล และรักษาศักดิ์ศรีในช่วงสุดท้าย 

ด้านลบ คือเสี่ยงละเมิดจริยธรรม การใช้อำนาจในทางที่ผิด และขัดต่อหลักคำสอนของศาสนา

แม้การการุณยฆาตจะเป็นหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยที่ทนทุกข์ทรมานตต่อการรักษาในโรคที่ไม่สามารถหายได้หรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ร่วมด้วยกับสิทธิส่วนบุคคล ผู้ป่วยมีสิทธิ์ในการเลือกหนทางที่ดีที่สุดให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการมีชีวิตอยู่ต่อ หรือการจากไปอย่างสงบ

การุณยฆาต (Euthanasia) เป็นการยุติชีวิตผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคที่รักษาไม่ได้ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบและไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน ส่วนการยุติชีวิตด้วยตนเองโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ คือผู้ป่วยตัดสินใจยุติชีวิตเองโดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ โดยทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกันคือบรรเทาความทุกข์ทรมาน เพียงแต่แตกต่างในกระบวนการ การอนุญาตการุณยฆาตเชิงรุกถูกกฎหมายในบางประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, และแคนาดา แต่ประเทศไทยยังไม่มีการอนุมัติการทำการุณยฆาตเชิงรุก การอนุญาตนี้ยังมีข้อถกเถียงด้านจริยธรรมและทางกฎหมาย ส่วนการดูแลแบบประคับประคองยังเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

 

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2761775?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR35zXyYDwypg6aa9_1QMsBSj7f_D3_NbnHvX8cZUPNUz4AU44poybUEevE_aem_eZx_G9cUDO-O6hww9vnbNg&gallery_id=2

https://cheevamitr.com/knowledge/euthanasia?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3cVq16ik2hDne_7BnyaQDQJF6vE9LJt9frOBraE0Sa-dt73c_IvUALjPw_aem_0fjNvHLj8feKywH54HhrsA

https://www.nhs.uk/conditions/euthanasia-and-assisted-suicide/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR03lICOT94aInRKQ_aFkM7BFEnS3zPEzFLu3fxpJ1KXzAnBgjPK0PPRPe8_aem_arV6eMfdcd2niyIqUDSRFw