ยูเอ็น ชี้เปลี่ยนสังคมไทยเป็นธรรม ธุรกิจยักษ์ใหญ่ อุ้มคนเปราะบาง ใช้นวัตกรรม ระดมทุนยั่งยืน 4.6 พันล้านเหรียญ

ยูเอ็น ชี้เปลี่ยนสังคมไทยเป็นธรรม ธุรกิจยักษ์ใหญ่ อุ้มคนเปราะบาง ใช้นวัตกรรม ระดมทุนยั่งยืน 4.6 พันล้านเหรียญ

งานประชุม UNGCNT ฟอรัม เน้นย้ำความเท่าเทียม ให้โอกาสสังคมเปราะบาง ยูเอ็นชวนภาคธุรกิจเป็นหัวขบวนเปลี่ยนผ่านช่วยคนเปราะบาง ด้านศุภชัยนายกGCNT ชี้สมาชิกกว่า 50% ของจีดีพีรายงานยั่งยืนบรรลุลดคาร์บอน ขึ้นอันดับ 1 อาเซียน 6 ปีซ้อน ท่ามกลางผลลัพธ์ทั่วโลกเผชิญท้าทายกว่า 80% ล่าช้า คืบหน้าต่ำและถดถอย เสนอ 4 ด้านวางรากฐานโอกาสคนเท่าเทียม ด้านกระทรวงพาณิชย์ เผย 6 มิติ ฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก

 

 

การประชุม UN Global Compact Network Thailand Forum (GCNT Forum) 2567 ภายใต้หัวข้อ “Inclusive Business for Equitable Society” หรือ “ธุรกิจที่ครอบคลุมเพื่อสังคมที่เท่าเทียม” จัดขึ้นโดยสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยและสหประชาชาติ (GCNT ) ในประเทศไทย  

การประชุม GCNT FORUM จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อแสดงพลังของสมาชิกสมาคมฯ เกือบ 140 องค์กร ทุกขนาด ทุกภาคอุตสาหกรรม ยกระดับการทำธุรกิจอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน ตามหลักสหประชาชาติ บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals – SDGs Goals ทั้ง 17 ข้อ อย่างเท่าเทียม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

 

 

ทูตยูเอ็น เปิดเส้นทางเปลี่ยนผ่านยั่งยืน 

เอกชนเป็นหัวขบวนธุรกิจสร้างโอกาสคนตัวเล็ก

มิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่ (Michaela Friberg-Storey) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวบนเวที GCNT FORUM ว่า จากการประชุม COP29 (Conference of the Parties) ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่จัดขึ้นเพื่อหารือและตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครั้งที่ 29 ที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ได้ตั้งเป้าหมายใหม่ต้องระดุมทุนให้ได้อย่างน้อย 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้เดินหน้าพันธกิจต่าง ๆ ได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยมีรัฐเป็นผู้กำกับดูแล 

ทั้งนี้ภาคเอกชนเป็นผู้นำ 70% ของการลงทุนมาจากภาคเอกชนประเทศไทย ซึ่งคิดเป็น 90% ของ GDP ประเทศ ฉะนั้นจึงมั่นใจว่า เอกชนจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ทำให้การพัฒนายั่งยืน เดินควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ พร้อมกันกับการผลักดันตลาดคาร์บอนเครดิต ที่ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ สร้างโอกาสให้กับชีวิตผู้เกี่ยวข้องในสังคม มีส่วนทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม ภาคประชาสังคม ธุรกิจ องค์กรการค้าระหว่างประเทศ  มาร่วมมือกันออกแบบการพัฒนาการสร้างความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็ง สร้างสังคมแห่งอนาคต

“การสร้างที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในความร่วมมือกับหน่วยงาน 21 องค์กร มุั่งมั่นร่วมมือกับท่านทั้งหลาย อย่างที่เด็กผู้หญิงพูดในคลิป รู้ว่า ประเทศไทยทำได้ GCNT ทำได้”  

 

 

 

 

3 มิติ ปลดล็อกทุนมนุษย์สู่เทคโนโลยี ระดมทุนเพื่อความยั่งยืน 

ก่อนถึงปี 2050 (พ.ศ. 2593) จะต้องมีการทุนในทุนมนุษย์ พัฒนาคนหนึ่งล้านคนได้รับการส่งเสริมทักษะ ขยายไปทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน ที่จะต้องพัฒนาเชื่อมโยงกันใน 3 มิติ คือ  มุ่งเน้นเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นธรรม นำโดยออกแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความเท่าเทียม และการปลดล็อกการเงินที่ยั่งยืน พัฒนาธุรกิจที่เป็นมีอนาคตที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การผลักดันการเปลี่ยนแปลงสีเขียว เพื่อคนรุ่นหลัง จะประกอบไปหัวใจสำคัญ ดังนี้ 

 

1.การเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม จะต้องมั่นใจได้ว่าการพัฒนานั้นจะไม่ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังโดยการตอบสนองความต้องการเพิ่มทักษะสีเขียวและสร้างโอกาสให้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบาง การลงทุนด้านการศึกษาตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงทุกระดับการศึกษา การบูรณาการความยั่งยืน และการสนับสนุนแรงงานปัจจุบันด้วยการฝึกทักษะใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของเศรษฐกิจสีเขียว 

“การเปลี่ยนแปลงโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยสร้างทักษะด้าน Green ให้มีแรงงานในภาคส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อมอบโอกาสให้กับทุกคน โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้หญิง ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน คนเปราะบาง ฯลฯ ดังนั้นการบรลุผลตรงนี้ได้จำเป็นต้องมุ่งไปที่การพัฒนาการศึกษา เน้นการลงทุน การพัฒนาเด็ก สร้างนวัตกรรมการศึกษา เพื่อไปสู่การสร้างเทคโนโลยีด้านการลดคาร์บอนฯ” 

 

2.การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความเท่าเทียม การพัฒนาที่ครอบคลุมตั้งแต่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างบทบาทผู้นำธุรกิจในการเป็นต้นแบบการปฏิบัติที่ยั่งยืนและความสามารถในการทำกำไรสามารถอยู่ร่วมกันได้ นวัตกรรมในพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำกำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรม

“การพยายามนำเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียม สร้างการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การบำบัดน้ำเสียต่าง ๆ ซึ่งในประชุม COP มีพูดถึง SDGs จำเป็นต้องเป็นเรื่องนำที่ต้องพัฒนา ดังนั้นการใช้ AI ก็เป็นเรื่องจำเป็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อเพิ่มคุณค่าในการดำเนินการมิติต่าง ๆ”

 

3.การปลดล็อกการเงินที่ยั่งยืน มีการระดมทุนการเงินด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเป็นการลงทุน ไม่ใช่การกุศล ประเทศไทยเป็นผู้นำ ในการระดมทุนผ่านโครงการ ESG และการออกพันธบัตรความยั่งยืน ทางเลขาธิการสหประชาชาติ พูดเชัดเจนถึง Climate Finance การเงินเพื่อสภาพอากาศ มีการตั้งเป้าหมายกองทุนด้านสภาพภูมิอากาศตั้งไว้ 3 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 ครอบคลุมถึงการดำเนินการด้านคาร์บอนเครดิต เพื่อชุมชน ซึ่งการมีเงินทุน สามารถช่วยให้มีอนาคตที่สามารถฟื้นตัวได้ง่าย

“การกระทำของผู้นำในวันนี้จะกำหนดอนาคตที่เท่าเทียมและยั่งยืนมากขึ้น ที่ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นวัตกรรมขับเคลื่อนความก้าวหน้า และความร่วมมือปลดล็อกการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนแปลงได้ ทางเลขาธิการสหประชาชาติ พูดชัดเจนถึง Climate Finance การเงินเพื่อสภาพอากาศ เป็นการลงทุน ไม่ใช่การบริจาค มีการตั้งเป้าหมายกองทุนด้านสภาพภูมิอากาศตั้งไว้ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 ครอบคลุมถึงการดำเนินการด้านคาร์บอนเครดิต เพื่อชุมชน ซึ่งการมีเงินทุน สามารถช่วยให้มีอนาคตที่สามารถฟื้นตัวได้ง่าย”

 

การะดมทุนเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่ออนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาตลาดคาร์บอนร่วมกับภาคเอกชนจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่เปราะบาง

สำหรับในประเทศไทย การตั้งเป้าหมายการระดมทุนและออกพันธมิตรมูลค่า 4.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (160,000 ล้านบาท) ถือเป็นหัวใจของความพยายามสร้างความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนการการบรรลุสังคมที่เท่าเทียมกันต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างธุรกิจ รัฐบาล ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างสหประชาชาติและเครือข่าย GCNT  สะท้อนให้เห็นถึงการแสดงพลังในการทำงานร่วมกัน

 

 

 

 

สมาชิกกว่าครึ่งจีดีพี บรรลุคืบหน้า 80% ลดปล่อยก๊าซคาร์บอน

ศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) ถึงการประชุม GCNT Forumว่า  การพัฒนายั่งยืน หรือ SDGs มีเป้าหมายลดผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่องการปกป้องความหลากหลายทาง ชีวภาพ และเรื่องการพัฒนาคน ซึ่งในกลุ่มสมาชิกได้ดำเนินการมีความคืบหน้า ในการรักษาคำมั่น ทั้งนโยบาย และการปฏิบัติจริง ซึ่งสมาชิกมีสัดส่วนของรายได้ทั้งหมด มีสัดส่วนกว่าครึ่งหนี่งของระดับ GDP ประเทศ

“เราเชื่อมั่นสมาชิก ได้ลงมือทำตลอดห่วงโซ่อุปทานและขอบเขตธุรกิจ ได้สร้างความ เปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงและยั่งยืนจากรายงานประจำปี ได้จัดส่งต่อ UN Global Compact ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พบว่า  98 % ได้รายงานนโยบายด้านความยั่งยืน ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะ รับผิดชอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีมาตรการป้องกันความเสี่ยง และ รายงานผลการตรวจสอบรอบด้าน หรือ Due Diligence ในเชิงสิ่งแวดล้อม สัดส่วน 80 % มีการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน Scope 1 และ Scope 2  รวม 30 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือหนึ่งในสี่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ” 

สมาคมฯ ได้เร่งดำเนินการรายงานข้อมูลใน Scope 3  ในระดับของคู่ค้า และห่วงโซ่อุปทาน เริ่มนำพลังงานสะอาดมาใช้ 20 % และสัดส่วน 60 % ของสมาชิก สมาคมฯ ลงทุนในโครงการเพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จากสินค้าแะบริการ 

อีกทั้งยังได้เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เกือบ 80 % ของสมาชิก ได้จัดอบรมพนักงาน ทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ความเท่าเทียมทางเพศ การไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงการต่อต้านการทุจริต 3 สถิติข้างต้น สะท้อนตัวชี้วัดที่สำคัญของสมาคมฯ คือ การส่งเสริมความ โปร่งใส ของการดำเนินงานของสมาชิก พร้อมตรวจสอบได้ เพื่อวางระบบปิดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งภายในองค์กร 

 

 

ไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 ความยั่งยืน 6 ปีซ้อน 

ท่ามกลางผลรวมทั่วโลกคืบหน้าต่ำ48% ล่าช้า 37% ถดถอย 

แนวทางการร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยและโลก บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ทั้ง 17 ข้อ ภายในปี ค.ศ. 2030 ในอีก 5 ปีข้างหน้า  ไทยมีความคืบหน้าในการบรรลุ SDGs ระดับดีเยี่ยม 4  เป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน 6 ปีติดต่อกัน และเป็นอันดับที่ 45 ของ 166 ประเทศทั่วโลก หรือ คิดเป็นคะแนน 74.7 ขณะที่คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาค อยู่ ที่ 67.2 

อย่างไรก็ตามทั่วโลกยังมีความท้าทายจากรายงานของสำนักงานใหญ่ UN Global Compact ที่ นครนิวยอร์ก พิจารณาระดับโลกแล้ว กลับมีเพียง 15 % ของ SDGs และในปีนี้เพิ่มเป็น 17 % ตามการรายงาน SDGs Growth Rate ในปี 2024 ที่ บรรลุตามแผน ในขณะที่ สัดส่วน 48 %  มีความล่าช้า และอีก 37 %ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ หรือมีความถดถอย 

ความท้าทาย อีกด้านคือ คือ กระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก 3 เรื่องใหญ่ที่สำคัญ คือ 3 D คือ Deglobalization Decarbonization และ Digitalization ทั้งสามเรื่องนี้ ล้วนเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด

-Deglobalization หมายถึง การทวนกลับของกระแสโลกาภิวัตน์ อันเกิด จากการแบ่งขั้ว และการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ รวมทั้งสภาวะสงคราม นำไปสู่สถานการณ์ไม่แน่นอน ในการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ บังคับให้ เราต้องปรับโครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานของเศรษฐกิจ ลำดับต่อไป 

-Decarbonization หมายถึง การลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ และภาวะการสร้างก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่ทุกประเทศ ยังดำเนินการล่าช้า ส่งผลให้ทั่วโลก ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050 ความล่าช้านี้จะสร้างผลกระทบในวงกว้าง National Bureau of Economic Research ของสหรัฐฯ ได้ประมาณอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส จะสร้างความเสียหายทาง เศรษฐกิจ คิดเป็น 12 % ของ GDP โลก และหากไม่สามารถแก้ไขปัญหา ได้ ในปลายทศวรรษนี้ คนจะจนลงกว่าเดิมถึง 50 %

การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นหนึ่งในเกณฑ์ การค้าระหว่าง ประเทศ ทำให้เกิดข้อบังคับใช้มาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรป เต็มรูปแบบ โดยเริ่มต้น ในปี ค.ศ. 2026 เป็นการคิดค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าสินค้า ที่มีการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์สูง ส่งผลให้สินค้าส่งออกของไทยที่เข้าข่าย เช่น เหล็ก และ อลูมีเนียม อาจเสียความสามารถในการแข่งขัน ในตลาดยุโรปได้ หากไม่ปรับตัว ผลกระทบใกล้ตัว 

– Digitalization การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล หรือยุค AI สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ของไทย รายงานว่า เมื่อปี 2566 มูลค่าของ เศรษฐกิจดิจิทัลไทยสูงถึง 2.5 ล้านล้านบาท สัดส่วน  17 % ของ GDP และคาดว่า จะเติบโตต่อเนื่องประมาณ 8 – 10 % ต่อปี ขณะที่ธุรกิจ Data Center และ Cloud Service ในไทย คาดว่า จะเติบโตเฉลี่ยกว่า  30% ต่อปี และใน 4 ปีข้างหน้า การลงทุนใน Data Center ในประเทศไทยจะมี 6 มูลค่ามากกว่า 280,000 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 1.1 % ของ GDP 

“กระแส Deglobalization บังคับให้ บริษัทระดับโลก หาทำเลใหม่ ๆ ในการลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของการเมืองโลก ก็อาจจะส่งผลดี ให้กับประเทศ ไทยกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านดิจิทัล ของอาเซียน” 

อย่างไรก็ดี Data Center ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก โดยเฉพาะ Data Center ในยุคของ AI คิดเป็น  1 – 3 % ของความต้องการพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก การเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด เป็นข้อกำหนดสำคัญของผู้ให้บริการ data center ระดับโลก ที่มาลงทุน เป็นปัจจัยกำหนดขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ 

ภาคเอกชนสามารถร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ ในโครงการ Forward Faster  ใน 5 ประเด็น 

1.SDG 5 บรรลุความเสมอภาคทางเพศ เปิดโอกาสให้กับทุกคนในองค์กรเป็นตัวแทน มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำโดยเท่าเทียม และ กำหนดค่าตอบแทนที่เท่าเทียม ในตำแหน่งเดียวกัน

2.SDG 13 ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย บรรลุ Net Zero หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อย่างช้า ที่สุดภายในปี 2050 และร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็น ธรรม หรือ Just Transition

3.SDG 8 กำหนดค่าจ้างที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ หรือ Living Wage และ ผลักดันให้แรงงานทุกคนมีค่าจ้างที่เหมาะสม 

4.SDG 6 ฟื้นคืนแหล่งน้ำ เสริมสร้างความสมบูรณ์และร่วมมือกับภาค ส่วนต่าง ๆ บำรุงรักษาแหล่งน้ำ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างน้อย 100 แห่ง ทั่วโลก อาทิ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 

5.การเงินและการลงทุนด้าน SDGs ซึ่งเกี่ยวโยงกับ SDGs ทุกข้อ ด้วยการกำหนดเป้าหมาย ติดตาม และรายงานสัดส่วนการลงทุนด้าน SDGs อย่างต่อเนื่อง 

 

 

4 ด้านเปิดโอกาสเรียนรู้สู่ชุมชน และคนเท่าเทียม 

ทั้งนี้ประเทศไทยจะต้องผลักดัน ปัจจัยพื้นฐานใหม่ อีก 4  ด้าน เพื่อสร้างความเท่าเทียม 

1.เร่งส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม โดยนอกจากการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนแล้ว อาจเสริมด้วยการปรับ สถานประกอบการธุรกิจ เป็นศูนย์การเรียนรู้ หรือ Learning Center ที่ ผนวกทั้งความรู้ด้านวิชาชีพ และจิตสำนึกด้านความยั่งยืน เปิดประตูให้เด็กและ เยาวชน ได้ทดลอง เรียนรู้ การเป็นผู้ประกอบการ มีความเป็น entrepreneur แบบ actions-based learning ทุกท่านลองคิดตามว่า หากทุกสถานประกอบการ โรงงาน หรือฟาร์ม สามารถกลายเป็น learning center มี Curriculum ของชุมชนได้ จะก่อให้เกิดคลังความรู้มหาศาล เสริมจินตนาการของเด็ก สนับสนุนการเรียนรู้ ในโรงเรียน สามหมื่นกว่าแห่งทั่วประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 

บุคลากรในยุคต่อไป จำเป็นต้องอาศัยทักษะดิจิทัล คู่กับความตระหนักรู้ทางคุณธรรมและจริยธรรม หรืออีกนัยหนึ่ง ระบบการศึกษา ทั้งในและนอกห้องเรียน ที่จะเตรียมทรัพยากรมนุษย์ สำหรับเศรษฐกิจยุค ดิจิทัล หรือยุคเศรษฐกิจ 5.0 ต้องช่วยสร้าง “สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ยั่งยืน” ที่ อาศัย Sustainable Intelligence มิใช่เฉพาะ Artificial Intelligence เพียง อย่างเดียว

 

2.เร่งส่งเสริมการเข้าถึงดิจิทัลเทคโนโลยี หรือ Computing Technology โดยเฉพาะการช่วยให้เด็กทุกคนมีคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยเปิด ประตูแก่นักเรียน ผู้ประกอบการ Start-ups หรือแม้แต่เกษตรกร สู่ห้องสมุดที่ ใหญ่ที่สุดในโลก กล่าวคือ คลังข้อมูลออนไลน์ ขณะเดียวกัน เราต้องช่วยกัน พัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อความบันเทิงแบบสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณค่า ตลอดจน สามารถ address เรื่องของความยั่งยืน ในแต่ละข้อ

 

3.เร่งส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งการเงินในรูปแบบ ใหม่ ๆ รวมทั้งระบบ fintech และ virtual banking เพื่อลด ความเหลื่อมล้ำทางการเงิน หรือกลุ่มเปราะบาง ที่เรามักเรียกว่า under banker ตลอดจน SMEs ฐานรากที่อาจจะยังเข้าไม่ถึงระบบการเงินของธนาคาร พาณิชย์ปัจจุบัน ลดปัญหาหนี้นอกระบบ อีกทั้งช่วยแรงงานข้ามชาติ ส่งเงิน กลับประเทศอย่างปลอดภัย นอกจากนั้น อาจเสนอวิธีการใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจ โดยใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น แปลงป่าไม้ให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีมูลค่า เป็นรูปแบบของคาร์บอนเครดิต ทำให้ชาวบ้านและชุมชนที่อยู่คู่กับป่า หันเปลี่ยนอาชีพ การสร้างรายได้ มาเป็น การดูแลรักษา และปลูกป่า 

 

4.เร่งส่งเสริมระบบประกันพื้นฐาน ทั้งประกันสุขภาพ ประกันอุบัติภัย ให้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของ Contract Farming และประชากรทุกคน ถ้าเราสามารถเข้าถึงกลุ่มที่เข้าไม่ถึงของประกันภัย ประกันชีวิต แน่นอนประกัน สุขภาพไม่ได้อย่างทั่วถึง ก็จะเป็นการสร้างความไม่มั่นคงให้กับระบบของ ครอบครัว และชีวิตการทำงานของทุก ๆ คน  

“เมื่อปีที่ผ่านมา ธุรกิจการประกันเกษตรกรรมทั่วโลก มีขนาดประมาณ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และในอีกสิบปีข้างหน้า คาดว่าจะโตถึงเกือบ 7 หมื่นหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และ ผู้ประกอบการด้านประกันภัยขนาดใหญ่ของโลก ต่างสนใจธุรกิจนี้มากขึ้น จัดเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ลดความยากจน”

 

กางแผนพาณิชย์ ฟื้นเศรษฐกิจ 

พิชัย นริพทะพันธ์ุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Inclusive Business -Catalyst for Change to An Equitable Society” ธุรกิจแบบมีส่วนร่วม เร่งสร้างสังคมไทยที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เผยว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำมาตลอดเพียง 1.9 % ต่อปี หากเทียบกับประเทศอเมริกาใต้รายต่อหัวของไทยยังต่ำกว่า อาทิ ชิลี อาเจนติน่า บราซิล ล้วนมีรายได้เกินหมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ดังนั้นเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องยกระดับรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ และความสุขของประชาน 

“ถ้าคุณเกิดมาจน ไม่ผิด แต่หากคุณตายไปพร้อมกับความจน คุณ และรัฐบาลมีส่วนผิด รัฐบาลจึงต้องสร้างโอกาสให้คนได้มีชีวิตที่ดีขึ้น ขยับฟื้นเศรษฐกิจ” 

 

 

 

 

 6 กลยุทธ์ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ดังนั้นสิ่งที่ภาครัฐจะเริ่มขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนฐานราก ประกอบด้วย 

 

1.การลงนามทำสัญญาเขตการค้าเสรี สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) เอฟตา ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ได้เจรจาบรรลุกข้อตกลงแล้ว กำลังจะลงนามภายในปี2568  ที่กรุงดาวอส ในงาน World Economic Forum ถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาล หลังจากเจรจามายาวนาน เป็นสิ่งสำคัญที่จะฟื้นการค้าและการลงทุน ส่งออกไปกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 

 

2.แก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ตั้งแต่ ระดับกลาง ล่าง เป็นสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  และกระทรวงการคลัง กำลังหาทางแก้ไข ฟื้นฟูหนี้ หลังจากวิกฤตโควิด 

 

3.ดึงดูดการลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจใหม่รองรับโลกเปลี่ยนแปลง อาทิ ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ดาวเทียม  หุ่นยนต์ และการผลิตTCB เซอร์กิตบอร์ด และแผงวงจรต่างๆ มีการลงทุนในไทยแล้ว ไทยจึงมีโอกาสเป็นศูนย์กลางทางด้านการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ ชิป ส่วนประกอบสมาร์ทโฟน  และยังมีโอกาส ดึงดูดให้โครงการดาตา เซ็นเตอร์จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีโครงการลงทุนกระจายไปทั่วโลกมีโอกาสมาลงทุนในไทย 

“โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไทยสูญเสียความสามารถแข่งขันไปเรื่อยๆ แต่ยังไม่สาย ต้องเร่งพัฒนาการลงทุน โรโบติค เราจะสร้างเอสเอ็มอี ใหม่ๆ จะคิดแบบเดิมทำแบบเดิมไม่ได้ ในโลกเปลี่ยน นำเงินกองทุนไปให้เกิดไม่ได้ โลกเปลี่ยนไปแล้ว”

 

 4.พัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) พัฒนาธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์โลกเป็นโจทย์ยาก ที่จะต้องยกระดับ SMEs ให้ยกระดับตัวเองให้มีสินค้าที่ที่มีอัตลักษณ์ มีศิลปะ งานฝีมือ ไม่สามารถแข่งขันด้านการผลิตจำนวนมาก แบบเป็นแพทเทิร์นได้ 

 

5.เปิดโอกาสให้คนเก่งเข้ามาในประเทศ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และเรียนรู้ร่วมกัน 

 

6.แก้ไขปัญหาลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ร่วมมือกับภาคเอกชน ห้างร้านต่างๆ นำสินค้าจากผู้ประกอบการในไทยมาจำหน่าย โดยพยายามหาสมดุล ผลประโยชน์ระหว่างประชาชน ผู้ประกอบการ ไม่ให้สินค้าแพงเกินไป และภาคธุรกิจอยู่รอดได้ 

“สร้างสมดุลระหว่าง ผู้บริโภค กับผู้ประกอบการ ไม่ให้สินค้าเกษตรราคาแพง ปล่อยให้ขายของแพงเกินไป หรือ ราคาตกเกินไป จึงต้องหาจุดสมดุล ทุกคนแฮปปี้ เหมือนในสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ค่าแรงสูงขึ้น” 

 

6.พัฒนาผู้ประกอบการ ให้เข้าถึงตลาดสิ่งแวดล้อม  ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนา แผงโซลาร์ กรีน พลังงานทดแทน” 

ขณะเดียวกันในด้านพื้นที่ทับซ้อน เป็นสิ่งที่ต้องเร่งนำน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ออกมาใช้ ก่อนที่จะไม่มีมูลค่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่ จึงต้องมองข้ามพื้นที่ทับซ้อน แต่แบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน โดยนำทรัพยากรมาพัฒนาสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่มูลค่าทรัพยากมากกว่า 20 ล้านล้านบาท 

“เรื่องพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ที่เป็นข้อถกเถียง ประเด็นสำคัญคือการทำอย่างไร ให้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 20 ล้านล้านบาท มาแบ่งกันพัฒนาประเทศ หากตั้งโจทย์เช่นนี้ จะทำให้ความเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ มโหฬารเพื่อพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงควรมองความจริง ประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการการลงทุนต่อเนื่อง 6-20 เท่า ด้านพื้นที่ที่ดินทะเลาะกันไม่จบ  จึงแบ่งกันอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับประเทศ นำเงินมาช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจดีกว่า”