สำนักงาน EY India ถูกสอบสวนเรื่องแรงงาน หลังคนงานเสียชีวิต พบว่าสำนักงานไม่มีใบอนุญาตสวัสดิการแรงงาน

สำนักงาน EY India ถูกสอบสวนเรื่องแรงงาน หลังคนงานเสียชีวิต พบว่าสำนักงานไม่มีใบอนุญาตสวัสดิการแรงงาน

EY สำนักงานบัญชีรายใหญ่ของโลก ถูกหน่วยงานด้านแรงงานอินเดียสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่าทำงานมากเกินไป แม้โทษว่าพนักงานเสียชีวิตเพราะเครียด ในขณะที่สำนักงานอีวายขาดใบอนุญาตแรงงานตั้งแต่ปี 2550 ขณะนี้ EY ถูกขอให้ชี้แจงว่าการขาดใบอนุญาตอาจทำให้ได้รับโทษ ขณะที่ ‘สมดุลการทำงาน’ ถูกเรียกร้องให้เป็นการทำงานที่ยั่งยืน

 

 

รอยเตอร์รายงานว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งได้กล่าวว่า สำนักงานแห่งหนึ่งของเอิร์นส์ แอนด์ ยัง (EY) ทางตะวันตกของอินเดีย ได้จ้างพนักงานหญิงวัย 26 ปี ต่อมาเสียชีวิตหลังจากเผชิญกับปริมาณงานหนัก โดยบริษัทดังกล่าวได้ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 2550 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐซึ่งทำหน้าที่ควบคุมชั่วโมงการทำงาน 

EY เผชิญการตรวจสอบในอินเดียกรณีการเสียชีวิตของผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบบัญชี แอนนา เซบาสเตียน เปรายิล ซึ่งมารดาของเธอได้กล่าวโทษว่าเป็นผลมาจากภาระงานที่หนักเกินไป โดยการกล่าวหานี้ได้เขียนลงในจดหมายที่ส่งถึงประธานของ EY India

 

เร่งสอบสวนของรัฐบาลกลาง

ในแถลงการณ์บริษัท EY ระบุว่าบริษัทสมาชิกระดับโลกได้ผ่านการตรวจสอบจากบริษัท เอสอาร์บีซี แอนด์ โค แอลแอลพี (SRBC & Co. LLP) และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับกระทรวงแรงงานในการสืบสวน แต่ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เหตุการณ์แรก สะท้อนถึงความจำเป็นในการปกป้องพนักงานที่มีแรงกดดันสูงในการทำงาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ 

 

ทำผิดถูกปรับกว่า 200,000 บาท

นายชัยเลนดรา พอล (Shailendra Pol) กรรมาธิการแรงงานเพิ่มเติมของรัฐมหาราษฏระ ซึ่งทีมงานของเขาได้เข้าตรวจสอบสำนักงาน EY ในเมืองปูเน่ ทางตะวันตกของประเทศ กล่าวว่า สำนักงานดังกล่าวดำเนินงานโดยไม่ได้ลงทะเบียนบังคับภายใต้พระราชบัญญัติร้านค้าและสถานประกอบการของรัฐ

กฎหมายกำหนดชั่วโมงการทำงานสูงสุดสำหรับผู้ใหญ่ไว้ที่ 9 ชั่วโมงต่อวันและ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

“บริษัทได้ยื่นขอจดทะเบียนกับกรมแรงงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น และเราปฏิเสธเนื่องจากไม่ได้ยื่นคำร้องใด ๆ เลยนับตั้งแต่เปิดสำนักงานแห่งนี้เมื่อปี 2550” พอลกล่าว พร้อมเสริมว่า EY มีเวลา 7 วันในการอธิบายในเหตุการดังกล่าว”

หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต อาจถูกจำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือปรับสูงสุด 500,000 รูปี (กว่า 200,000 บาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

แม่ของเปรายิล ระบุว่าลูกสาวทำงานหนัก จนไม่ได้พัก

อานิตา ออกัสติน แม่ของเปรายิล ระบุว่า ลูกสาวของเธอมีงานล้นมือในจดหมายที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ระบุว่า

 “เธอทำงานดึกดื่นแม้กระทั่งในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยไม่มีโอกาสได้พักหายใจ”

EY เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า บริษัทให้ความสำคัญสูงสุดกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกคน และให้ความสำคัญกับจดหมายของครอบครัวเป็นอย่างยิ่งและด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน

 

ครอบครัวของเปรายิลกล่าวว่าเธอเสียชีวิตเพราะหัวใจหยุดเต้น

พอลกล่าวว่าทีมงานของเขาพยายามขอรายละเอียดจาก EY อีกด้วย รวมทั้งสมุดบันทึกชั่วโมงการทำงานของพนักงาน นโยบายสวัสดิการ และการที่ เปรายิลถูกขอให้ทำงานเกินความจำเป็นในช่วงสี่เดือนที่เธอทำงานเป็นผู้ช่วยในบริษัทบัญชียักษ์ใหญ่แห่งนี้

ในขณะที่ EY ออกมาแก้ต่างว่าบริษัททำงานร่วมกับพนักงานประมาณ 100,000 คนในบริษัทเครือข่ายในอินเดีย

 

คนรุ่นใหม่ต้องการสร้างสมดุลการทำงานกับชีวิตส่วนตัว

ดร. หลุยส์ แลมเบิร์ต และอาซิส มูเลย์-ชาห์ แห่งHappiness Matters กล่าวว่า ในยุคแห่งการเรียกร้องความยั่งยืน คนทำงานเพียรพยายามค้นหาวิธีที่จะทำให้การทำงานมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ปรับปรุงความสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจที่มากขึ้น และเปิดทางสู่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กำลังกลายเป็นเส้นทางสำหรับองค์กรต่างๆ ที่แสวงหาผลกำไรและผลผลิต ตลอดจนนวัตกรรมและความภักดีของพนักงาน ทวีความสำคัญมากขึ้น โดยมีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนงานนี้

ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต อารมณ์ ร่างกาย และการเงินของผู้คนในสถานที่ทำงาน มีการวิพากษ์วิจารณ์แนวทางนี้ว่าเป็นตัวอย่างของ ‘การตื่นรู้ในที่ทำงาน’ แต่การศึกษาขนาดใหญ่หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานส่งผลดีต่อทั้งพนักงานและนายจ้าง 

ฮาร์วาร์ด บิสซิเนส รีวิว (Harvard Business Review) รายงานผลการศึกษาหนึ่งที่พบว่าพนักงานที่ไม่ผูกพันกับงานทำให้ผลงานลดลง 18% กำไรลดลง 16% อุบัติเหตุในที่ทำงานเพิ่มขึ้น 49% และการขาดงานเพิ่มขึ้น 37% การศึกษาอีกกรณีหนึ่งโดยเว็บไซต์รีวิวพนักงานGlassdoor พบว่าพนักงานที่มีความสุขมักส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้นด้วยเช่นกัน  

ในขณะที่เว็บไซต์ Thoughtworks กล่าวว่า ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ควรสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือเป็นประโยชน์ที่หลายคนต้องการมากที่สุดและจะส่งผลอย่างมาก สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นหากเราต้องการให้ผู้คนมีความสุขและพอใจกับงานที่ทำ

 

ที่มา: https://www.reuters.com/world/india/probe-into-ey-indias-office-after-workers-death-finds-it-lacked-labour-welfare-2024-09-24/

https://www.thoughtworks.com/insights/blog/life-at-thoughtworks/wellbeing-at-work-for-sustainable-performance