ทำไมสระบุรี จึงได้เป็นเมืองต้นแบบ คาร์บอนต่ำ ‘The Regenerative อุตสาหกรรมหนัก’

ทำไมสระบุรี จึงได้เป็นเมืองต้นแบบ คาร์บอนต่ำ ‘The Regenerative อุตสาหกรรมหนัก’

ทบทวน 1 ปี ของ ”สระบุรี แซนด์บ็อกซ์”  จากเหมืองปูน สู่เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ 6 โครงการ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหนักสู่เศรษฐกิจสีเขียว จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำอุตสาหกรรม การทำเกษตรไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทุกภาคส่วนเกื้อกูลกัน ความร่วมมือทุกภาคส่วนเป็นเจ้าภาพนำไปสู่ผลประโยชน์เพื่อทุกคน

 

 

จังหวัดสระบุรีเป็นแหล่งผลิตปูนซีเมนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีบริษัทอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์หลายแห่งตั้งอยู่พื้นที่ ประมาณ 7-8 บริษัท อาทิ เช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (SCG) และบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง (INSEE) ,บริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด (มหาชน) (Asia Cement) , บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPI Polene)

ในอดีตยุคที่เมืองไทยพัฒนาเศรษฐกิจกำลังต้องการการเติบโต สระบุรี ใช้ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งหินปูน พัฒนาวัตถุดิบ ให้กับภาคการก่อสร้าง มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศ.

จนกระทั่งมาสู่ยุคของการผลักดันลดโลกร้อน  ภัยพิบัติร้ายแรงที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมปูน ส่งผลต่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change)  ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม และพายุที่รุนแรง ซึ่งหากเราไม่เร่งปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต วิกฤตนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตในอนาคต

 

จากสระบุรี สู่ความยั่งยืนระดับชาติ ตามพันธสัญญาโลก 

ข้อเสนอสมุดปกขาว จาก ESG Symposium ปี 2023 จึงนำเสนอให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยสู่คาร์บอนต่ำ ด้วยการ พัฒนา ’สระบุรี แซนด์บ็อกซ์’ เป็นเมืองยนผ่านสัต้นแบบการเปลี่งคมไทยสู่คาร์บอนต่ำ ด้วยการเริ่มต้นปลดล็อกซ์ในจังหวัด เพราะเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการ เมืองอื่น ในประเทศไทย เพราะหากสระบุรี ทำสำเร็จในการลดก๊าซเรือนกระจกได้ พื้นที่อื่นก็มีโอกาสทำได้เช่นเดียวกัน  สอดคล้องกันกับนโยบายการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs-Sustainability Development Goals) ตามพันธสัญญาCOP ลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065

สระบุรี จึงเป็นโมเดลต้นแบบ การพัฒนาเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำในสระบุรีจึงเป็นการสร้างสมดุล 3 มิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

 ด้วยทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สะดวก สระบุรีจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เหล็ก ไปจนถึงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โครงสร้างพื้นฐานก็ทันสมัยสุด ๆ ตอบโจทย์ทั้งภาคธุรกิจและประชาชน

จากข้อมูลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567) พบว่า การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้จังหวัดสระบุรีมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (รองจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดชลบุรี) ประมาณ 22.10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการปลดปล่อยอยู่ในภาคอุตสาหกรรมสูงถึง 66.87% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในจังหวัด รองลงมาคือ ภาคพลังงาน 22.63% ภาคการขนส่ง 5.16% ภาคเกษตร 4.45% และภาคการจัดการของเสีย 0.89% ตามลำดับ

สาเหตุที่เลือกสระบุรีเป็นต้นแบบเพราะเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนัก ปล่อยคาร์บอนสูง เป็นอันดับ 3 ของประเทศ ปริมาณการปล่อยก๊าซ 22.10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์โดยส่วนใหญ่ มาจากภาคอุตสาหกรรม 66.87% รองลงมาคือ ภาคพลังงาน 22.63% ภาคการขนส่ง 5.16) ภาคเกษตร 4.45% และภาคการจัดการของเสีย 0.89% 

 

6 โครงการ เปลี่ยนอุตสาหกรรมหนัก 

สู่อุตสาหกรรมทำเพื่อชีวิตทุกคน 

สระบุรี ไม่ได้มีเฉพาะอุตสาหกรรมหนัก แต่ยังมีพื้นที่เกษตรกรรมดั้งเดิม จึงถือว่ามีความซับซ้อนในการทำงาน จึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อน โครงการ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ ระหว่างสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำ ผ่านการดำเนินการ 6 โครงการ ประกอบด้วย

  1. เปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition) ส่งเสริมการใช้พื้นที่ว่างผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) และใช้เครือข่ายไฟฟ้าร่วมกันด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานได้ง่ายขึ้น
  2. อุตสาหกรรมสีเขียวและผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตปูนซีเมนต์จะเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบคาร์บอนต่ำ (Hydraulic Cement) ตั้งแต่ปี 2567 กำหนดให้ทุกงานก่อสร้างใช้ปูนคาร์บอนต่ำ และลงทุนในเทคโนโลยีดักจับกักเก็บคาร์บอน 
  3. การจัดการของเสีย (Waste to Value) จัดตั้งศูนย์จัดเก็บและรับซื้อวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากชุมชน เกษตรและอุตสาหกรรม นำมาเป็นวัตถุดิบหรือพลังงาน ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
  4. เกษตรคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Agriculture) เน้นการเกษตรตามโมเดล BCG ตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เช่น การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ลดการใช้น้ำ ลดต้นทุน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่กับส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์
  5. เพิ่มพื้นที่สีเขียว (Land Use, Land Use Change & Forestry) ปลูกป่าชุมชนเพิ่ม 38 แห่ง ทั่วจังหวัด ช่วยดูดซับคาร์บอน และขยายผลสู่การซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต
  6. บูรณาการความรับผิดชอบและการกำกับดูแล ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจบริหารจัดการแบบ Area-Based สามารถพิจารณาข้อราชการระหว่างกระทรวงในจังหวัด และร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาสังคมได้อย่างคล่องตัว มีกาารสนับสนุนจากความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ  7 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

 

บัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าจัะงหวัดสระบุรี มองว่า จังหวัดสระบุรีมีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เป็นแหล่งผลิตปูนซีเมนต์ที่สำคัญ จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวม ตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ยกระดับหวัดสระบุรี สู่เมืองอุตสาหกรรมสีเขียวอัจฉริยะ สังคมแห่งคุณภาพชีวิต สร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และสอดคล้องกับนโยบายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ในปี 2608

“สระบุรีแซนด์บ็อกซ์-เมืองคาร์บอนต่ำ เป็นโครงการเรือธงลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี ระหว่างปี 2566-2569 โดยตัวอย่างโครงการในระยะแรก ปรกอบด้วย

1.การใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ด้วยการส่งเสริมปูนซีเมนไฮดรอลิกในทุกงานก่อสร้าง

2.การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานคาร์บอนต่ำ (Energy Transition) ด้วยการจัดการวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรม ภาคชุมชน (Waste to Energy) พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power) พืชพลังงาน (Plant Energy)

3.การทำนาน้ำน้อย

4.การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากการปลูกป่า

5.การศึกษาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนและนำไปใช้ประโยชน์ กักเก็บ (Carbon Capture Utilization/ Storage)

จังหวัดสระบุรี ได้รับเป็นเมืองต้นแบบ ในการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่อนาคต ดังนี้คือ 

 

1.ที่อยู่อาศัย Low Carbon Living 

ในด้านที่อยู่อาศัย วัสดุและกระบวนการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เป็นอีกปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจในภาคส่วนนี้ ได้มีการเสนอโซลูชันใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การก่อสร้างใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่เหลือทิ้ง รวมถึงคำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอน เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น 

ปูนคาร์บอนต่ำ เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์แบบเดิมทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวนมาก เอสซีจีเป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ปูนคาร์บอนต่ำรายแรกของประเทศไทย ลดการปล่อย CO2 เพิ่มประมาณ 15-20% เมื่อเทียบกับปูนซีเมนต์ปกติ 

หรือคอนกรีตคาร์บอนต่ำ จากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ CPAC ในการพัฒนา Biochar Concrete จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass) ผ่านกระบวนการความร้อน (Pyrolysis) ซึ่งสามารถเปลี่ยนคาร์บอนในวัสดุเหลือใช้เป็น Biochar เพื่อนำไปกักเก็บไว้ในคอนกรีต เรียกว่า ‘Carbon Removal’ หรือ ‘Carbon Sink’

ไม่เท่านั้น ยังมี COTTO Bio-Ceramic เปลี่ยนเปลือกไข่ให้เป็นเซรามิกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือของ COTTO, CPF, Cargill, Betagro และชุมชน ร่วมกันนำเปลือกไข่ เหลือทิ้ง มาใช้ทดแทนหินปูน หรือแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ในการผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก COTTO ผสมในสูตรสีเคลือบ และพ่นเคลือบ ลดการปล่อย CO2 จากกระบวนการผลิตสุขภัณฑ์ ประมาณ 202 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

มีระบบ Air Scrubber ปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคาร ลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือระหว่าง Nexter Living และ enVerid Inc. พัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับการจัดการอาคาร ด้วยระบบบำบัดอากาศ Air Scrubber ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับระบบปรับอากาศ และระบายอากาศ (HVAC System) โดยใช้เทคโนโลยี Sorbent Ventilation ช่วยบำบัดอากาศเสีย เพิ่มอากาศดี ลดการใช้พลังงาน 20-30% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 8 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์/ตร.ม./ปี

KITCARBON แพลทฟอร์มดิจิทัลบริหารจัดการคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง  BIM & KITCARBON แพลตฟอร์มการประเมินคาร์บอนสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ใช้ Digitization & BIM (Building Information Modeling) เข้ามาช่วยให้สามารถประเมินและบริหารจัดการการปล่อยคาร์บอน ตลอดวงจรชีวิต (Whole Life Cycle) ของอาคารที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ด้วยความสะดวก ง่าย แม่นยำ และโปร่งใส

 

  1. สินค้าอุปโภคบริโภค Low Carbon Lifestyle 

การใช้ชีวิตประจำวันมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคส่วนต่าง ๆ จึงร่วมมือกันปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นำวัสดุเหลือใช้กลับมาหมุนเวียน ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตสะดวกสบาย ส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด ดังนี้

 

  • Fest Redi Pak ถาดอาหารแช่เย็นพร้อมทาน SCGP ร่วมกับ Reo’s Deli พัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารจากเยื่อยูคาลิปตัส 90% ย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน ช่วยรักษาความสดและรสชาติอาหาร พร้อมรองรับอาหารร้อนได้ถึง 100°C บรรจุภัณฑ์ออกแบบให้แข็งแรง ใช้กับเครื่องบรรจุอัตโนมัติได้ ช่วยลดการใช้พลาสติกและคาร์บอนไดออกไซด์ จนได้รับรางวัล tasteInnovation Show Finalists 2024
  • SCGC GREEN POLYMER™ – Recycle (PCR) บรรจุภัณฑ์ถังสีรักษ์โลก ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง 100% (High Quality PCR PP Resin) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์ถังสี JBP SMARTSHIELD-X เพื่อส่งมอบกรีนโซลูชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วางจำหน่ายแล้วในไทยและกำลังขยายสู่กัมพูชา พม่า เวียดนาม และลาว
  • SCGC x HOMEPRO CIRCULAR PRODUCTS โครงการรวบรวมพลาสติกใช้แล้วเพื่อรีไซเคิลเป็นสินค้า Circular Products จำหน่ายในโฮมโปร รวมถึงโครงการแลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ชวนลูกค้านำสินค้าเก่ามาแลกซื้อสินค้าใหม่ พร้อมรับส่วนลด โดย SCGC ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการรีไซเคิลพลาสติกเป็น High Quality PCR ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอบโจทย์การจัดการทรัพยากรภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม
  • Nets Up นวัตกรรมรีไซเคิลจากอวนประมง สู่วัสดุรักษ์โลก SCGC พัฒนาโครงการ Nets Up เพื่อลดปัญหาขยะอวนประมงหลุดรอดสู่ทะเล โดยนำร่องที่ จ.ระยอง เชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าและรีไซเคิลวนเป็นวัสดุ Marine Materials ในปี 2566 เก็บอวนได้ 1 ตัน ผลิตเสื้อยืดได้ 3,300 ตัว ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ได้ 20,812.5 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 

ทั้งนี้ หัวใจของโมเดล Nets Up คือการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า ผ่านธนาคารขยะชุมชน และแอปฯ ‘คุ้มค่า’ เพื่อบันทึกข้อมูล และผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล นำไปพัฒนาเป็น Marine Materials และผลิตภัณฑ์อัปไซเคิลตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ

  1. การเดินทางขนส่ง Green Logistic 

การขนส่งในภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนที่สำคัญ การใช้เทคโนโลยีและกระบวนการที่ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจึงมีความจำเป็น เพื่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด พร้อมสร้างความคุ้มค่าในระยะยาว

ในส่วนของโลจิสติกส์ SCGJWD มี Logistics Planning and Control Tower: LPCT ศูนย์ควบคุมการจัดการโลจิสติกส์ซัพพลายเชน โดยที่พัฒนาระบบการขนส่งเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยศูนย์ควบคุมการจัดการโลจิสติกส์ซัพพลายเชน SCGJWD ใช้ระบบบริหารจัดการขนส่ง (TMS) บริหารฟลีทรถ 10,000 คัน ลดเที่ยวเปล่า 935,108 เที่ยว ลดการใช้เชื้อเพลิง 82.59 ล้านลิตร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 226,358ตันคาร์บอนไดออกไซด์ 

นอกจานั้น ยังมี EV Truck & EV Forklift ระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย SCGJWD เปลี่ยนมาใช้รถบรรทุกและรถยกพลังงานไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผลลัพธ์ในปี 2566 ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง 356,000ลิตร ลดต้นทุน 10.75 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 964.1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เพียงเท่านั้นยังได้ร่วมมือกับ PTT OR ยกระดับการขนส่งแบบรักษ์โลกด้วย Green Logistics Solution โดยที่ SCGJWD นำเสนอ Cool Container สำหรับการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ 0-8°C หรือ -15°C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ช่วยลดต้นทุนและคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในปี 2567 บริการขนส่งเบเกอรี่ให้กับ PTT OR ผ่านแพลตฟอร์ม Transportation Management System (TMS) โดยขนส่งไปยังคาเฟ่อเมซอน 500 ร้านต่อวัน

 

4.พลังงาน Renewable Energy 

เมืองคาร์บอนต่ำไม่เพียงยกระดับคุณภาพชีวิต แต่ยังส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน ผ่านการใช้พลังงานสะอาด การจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

จะเห็นว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมันและถ่านหิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกเดือด การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน ตามแนวคิด Renewable Energy เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

 

  • Smart Grid ระบบบริหารจัดการพลังงาน สู่ Net Zero Carbon

SCG Cleanergy Platform บริหารจัดการ Smart Grid เครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เชื่อมโยงการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต รองรับนโยบาย Net Zero Carbon ของภาคธุรกิจไทย โดยจัดกลุ่มผู้ซื้อและผู้ผลิตตามความต้องการ รองรับแพลตฟอร์มพลังงานภาครัฐและเอกชน ได้รับการรับรองจาก EGAT และ TGO เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น เครือสหพัฒน์ ร่วมมือพันธมิตร พัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่มีโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (Micro Grid) เพิ่มการใช้งาน Renewable Energy ได้ 20% ลดต้นทุนได้ 6% ต่อปี ลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 4,000 ตัน/ปี

  • Solar Carport & Floating เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าเป็นแหล่งผลิตพลังงานพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ ตัวอย่างโครงการ เช่น 
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.): ติดตั้ง Solar Carport กำลังผลิต 412.80 kWpลด CO2 301 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ลดค่าไฟฟ้า 150,000 บาทต่อปี
  • ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี: ติดตั้งโซลาร์บนหลังคาศูนย์ราชการ 22 หน่วย ลดค่าใช้จ่ายพลังงานอย่างน้อย 10% ต่อเดือน
  • Renewable Energy Platform ก้าวสู่อนาคตด้วยแพลตฟอร์มพลังงานอัจฉริยะ

 

Renewable Energy Platform นวัตกรรมดิจิทัลโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมและพลังงานหมุนเวียน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมข้อมูลพลังงานแสงอาทิตย์ ลม แบตเตอรี่ ใช้ AI วิเคราะห์ พยากรณ์ และจัดการบำรุงรักษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการซ่อมบำรุงอย่างยั่งยืน

  • โครงการพืชพลังงาน ‘หญ้าเนเปียร์’ ความร่วมมือทุกภาคส่วนส่งเสริมการใช้ชีวมวล (Biomass) และพัฒนาเชื้อเพลิงใหม่ เช่น Bio-Coal จากพืชพลังงานอย่างหญ้าเนเปียร์ ทดแทนการใช้ถ่านหินในโรงงาน เพิ่มรายได้เกษตรกร และสร้างโลกที่ยั่งยืน 

โครงการพืชพลังงานช่วยเกษตรกรเรียนรู้การปลูกและผลิต เพิ่มรายได้ชุมชน 3.5 ล้านบาทต่อปี ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ 5,788 ตัน โดยใช้ชีวมวลแทนถ่านหิน อีกทั้งลด PM 2.5 

 

  • Biomass Fuel เชื้อเพลงชีวมวลสำหรับภาคอุตสาหกรรม พัฒนาการปลูกพืชพลังงานเพื่อความยั่งยืนด้านเชื้อเพลิง  

SCI eco ภายใต้ Green Circular จัดจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ และพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์และไผ่ ช่วยลด CO2, PM 2.5, และเพิ่มรายได้เกษตรกร ด้วยการยควบคุมคุณภาพ ส่งสินค้าต่อเนื่อง และพัฒนาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน

 

5.การจัดการวัสดุเหลือใช้ Regenerative Model   

 

การจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีกระบวนการที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ในทุกระดับตั้งแต่ครัวเรือน ชุมชน จนถึงภาคอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่ช่วยลดปริมาณขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยสร้างแหล่งพลังงาน และลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน

  • ชุมชนหนองไม้เฝ้า จ.ราชบุรี SCGP จัดโครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ส่งเสริมการจัดการขยะผ่านการเรียนรู้จากชุมชนต้นแบบ โดยชุมชนหนองไม้เฝ้า อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี สร้างศูนย์การเรียนรู้ 7 ฐาน เช่น ผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ คัดแยกขยะและนำขยะสร้างรายได้ ช่วยลดขยะ เพิ่มความสะอาด ลดโรคระบาด และสร้างความสามัคคีในชุมชน
  • ชุมชนหน้าพระลาน จ.สระบุรี เทศบาลตำบลหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี มีขยะวันละ 8-10 ตัน สะสมกว่า 10,000 ตัน เกิดปัญหาการจัดการขยะเนื่องจากสถานที่กำจัดไม่เพียงพอ จึงเริ่มกองทุนธนาคารขยะในปี 2560 เพื่อลดปริมาณขยะในพื้นที่ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการคัดแยกขยะอย่างรู้คุณค่า และนำมาเข้าร่วมกองทุนฯ โดยนำมาขายและคุ้มครองชีวิตบุคคลในครัวเรือน
  • Wake Up Waste โซลูชันจัดการขยะ ลดขยะล้น เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง

Wake Up Waste เป็นโซลูชันบีบอัดขยะและแพลตฟอร์มการจัดการขยะ มุ่งแก้ปัญหาขยะล้นและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง โดยเน้นกลุ่มโรงแรม โรงพยาบาล ออฟฟิศ และคอนโด ส่งเสริมความยั่งยืนและการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ชุมชนไร้ขยะ ตาลเดี่ยวโมเดล จ.สระบุรี ​สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนที่บ่อขยะตำบลตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มสัดส่วนการรีไซเคิลและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และสร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนของชุมชน
  • โครงการต้นแบบการจัดการขยะ: Regenerative Model ​ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นทุกปีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการจัดตั้งโรงคัดแยกขยะชุมชนแบบครบวงจร เพื่อแก้ปัญหาขยะสะสม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และร่วมสร้างระบบนิเวศที่ดี เพื่อสังคมที่ยั่งยืน

 

  1. การเกษตร Green Agriculture

ภาคเกษตรใช้น้ำมากถึง 80% และยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการปลูกข้าวที่ปล่อยก๊าซมีเทน ดังนั้นการทำเกษตรคาร์บอนต่ำ เช่น นาเปียกสลับแห้ง จึงช่วยลดการปล่อยคาร์บอน และการใช้น้ำอย่างยั่งยืน

  • การบริหารจัดการน้ำ: หาน้ำได้ เก็บน้ำไว้ ใช้น้ำเป็น 
  • หาน้ำได้: สำรวจพื้นที่ จัดทำแผนผังน้ำ ใช้ข้อมูลตรวจวัดฝนและภูมิอากาศ ขุดร่องรับน้ำ 
  • เก็บน้ำไว้: พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กกระจายทั่วพื้นที่ เชื่อมร่องน้ำ ขุดคลองรอบสระ เก็บน้ำฝนและระบายน้ำเกิน เสริมโครงสร้างและปลูกต้นไม้กันลม ป้องกันน้ำระเหย
  • ใช้น้ำเป็น: คำนวนปริมาณน้ำให้เหมาะกับพืช พัฒนาระบบส่งน้ำด้วยร่องน้ำหรือท่อ สร้างกฎกติกาการใช้น้ำร่วมกัน  
  • เกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ: นาเปียกสลับแห้งช่วยลดโลกร้อน

ทั้งนี้ การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ควบคุมระดับน้ำให้มีช่วงน้ำขังและน้ำแห้งสลับกัน ช่วยให้รากข้าวแข็งแรง ลดการใช้ปุ๋ยและน้ำมันเชื้อเพลิง ลดการปล่อยก๊าซมีเทน ส่งผลดีต่อการผลิตและสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาสู่เกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ

 

  1. การท่องที่ยวและชุมชน Green Space 

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและป่า ช่วยกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ สร้างประโยชน์แก่ชุมชน เช่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ฟื้นฟูระบบนิเวศ และยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน.

  • Green Space การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านความร่วมมือระหว่างชุมชน ภาครัฐ และเอกชน เช่น ป่าชุมชน ไม่เพียงช่วยกักเก็บคาร์บอนและลดก๊าซเรือนกระจก แต่ยังฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น พันธุ์พืชและสัตว์ป่า ชุมชนสามารถใช้ป่าเป็นแหล่งอาหาร (Food Bank) และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism) เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

 

สร้างโลกยั่งยืน : อยู่ยืน Regenerative Collaboration

 ​การเปลี่ยนประเทศไทยสู่เมืองคาร์บอนต่ำต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โครงการ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำสู่ความเป็นจริง สร้างโลกอนาคตที่ยั่งยืน

 

  1. สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ Inclusive Collaboration 

การสร้างเมืองคาร์บอนต่ำจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่การวางนโยบายและแผนปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถผสานความร่วมมือทั้งด้านนวัตกรรมและรูปแบบการทำงานร่วมกันได้อย่างผสมกลมกลืน โดยมี ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย เป็นเมืองนำร่องในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์