ผ่าน 3 ยุควิวัฒนาการ AI กลายเป็นคนมีหัวใจ ความหวังแก้โลกร้อน-รักษาเอดส์

ผ่าน 3 ยุควิวัฒนาการ AI กลายเป็นคนมีหัวใจ ความหวังแก้โลกร้อน-รักษาเอดส์

ท็อปบิทคับ ฉายภาพ เตรียมรับมือ 3 ยุค อนาคตเทคโนโลยีเอไอ ก้าวต่อไปกับทักษะความเป็นมนุษย์ จากใช้สมอง จดจำ ประมวลผล คิดวิเคราะห์ สู่การมีหัวใจ ทำหน้าที่ซอฟต์สกิลแทนมนุษย์ หาวิธีใช้ AI เปลี่ยนโลกสู่ความยั่งยืน ปลดล็อกปัญหาโลกร้อน และโรคระบาดที่รักษาไม่หายอย่าง HIV

 

 

ในงาน หัวข้อ ‘Uncovering AI: ปลดล็อก AI กำหนดทิศทางปัญญาประดิษฐ์’ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและซีอีโอกลุ่มบริษัท Bitkub Capital Group Holdings เผยมุมมองผลกระทบของทุกคนจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ AI โดยเฉพาะผู้นำธุรกิจต้องปรับตัวรับมือความท้าทายและโอกาสใหม่ 

เทคโนโลยีและธุรกิจเป็นของคู่กันเสมอมา จากครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1784 โลกได้เริ่มมีเทคเทคโนโลยี เครื่องจักรไอน้ำ มาใช้ทดแทนแรงงานคนและสัตว์ ต่อมาในการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ได้เปลี่ยนจากถ่านหินมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งการเกิดขึ้นของไฟฟ้านำมาสู่การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และจุดเปลี่ยนสำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม คือ คอมพิวเตอร์

ในวันนี้โลกได้มาถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งสี่ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) อาทิ การติดตามพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันและคอยส่งคอนเทนต์หรือโฆษณาให้กับผู้ใช้งาน ขยับสู่ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้ AI เข้ามาช่วยในการทำงานอัตโนมัติ มีความแม่นยำและช่วยในการเพิ่มผลผลิต

เมื่อมีผลผลิตมากขึ้น ก็ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมัน ถ่านหิน แปรเปลี่ยนไปสร้างเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงเกิดขยะผลิตภัณฑ์ที่มาทำร้ายผู้คนไม่มีวันจบสิ้น นอกจากนี้ การใช้ AI ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ ยังเสี่ยงที่จะทำให้ผู้คนตกงานกันมากขึ้น 

อย่างไรก็ดี ผู้คนในโลกนับว่าได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการใช้ AI จึงมีทั้งแง่บวก และลบ จากการมาถึงของ AI 

 

AI  เวทมนตร์ ที่มีอยู่จริง 

Chat GPT โตเกินกว่ายอด Tiktok สะสม2ปีครึ่ง

ผู้ก่อตั้งและซีอีโอกลุ่มบริษัท Bitkub Capital Group Holdings ได้นำเสนอแนวคิดในเวทีดังกล่าวว่า ผู้คนกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อย่างรวดเร็วและอย่างชัดเจนขึ้น อัตราการใช้ AI มีจำนวนมากขึ้น มีผู้ใช้ใหม่จำนวน 1 ล้านคนภายในเวลา 5 วัน หลังจากเปิดตัว Chat GPT และมีผู้ใช้อย่างต่อเนื่องถึง 100 ล้านคนภายใน 2 เดือน ถือว่ามีอัตราเติบโตมากกว่า Tiktok ที่ต้องใช้เวลาถึง 2 ปีครึ่ง จึงจะดึงดูดผู้ใช้งาน 100 ล้านคน นั่นทำให้ชีวิตผู้คนติดอยู่กับการใช้งานAI มากขึ้น

โดยผู้ที่เข้าไปใช้งาน Chat GPT จะลืมการใช้งานกูเกิลแบบเก่าซึ่ง AI ได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไม่รู้ตัว นี่คือเวทมนตร์ บันดาลใน AI 

“ที่นี้เราต้องเข้าใจก่อนว่า AI เป็นเวทมนตร์ ในโลกความเป็นจริง อยู่ดีๆ มนุษย์ก็เห็นหน้าคนอีกฝั่งนึงได้ ถ้าย้อนกลับไป 100 ปีที่แล้วไม่มีใครคิดหรอกว่าจะมีสิ่งนี้เกิดขึ้น ทุกยุคทุกสมัยเทคโนโลยีคือเวทย์มนต์ และก่อนจะใช้เวทย์มนต์ต้องเข้าใจก่อนว่าจะท่องคาถาอย่างไร”

 

WEF เผย ซอฟต์สกิล 

ทักษะตลาดแรงงานต้องการ

ในที่ประชุมเศรษฐกิจระดับโลก (World Economic Forum -WEF) ที่ดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการรวมตัวของผู้กุมเศรษกิจกว่า 3,000 คน มูลค่าเศรษฐกิจกว่า 94 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 40% ของโลก ได้มารวมตัวกันเพื่อร่วมกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ โดยระบุไว้ว่า มีอาชีพที่เกิดใหม่และหายไปรับการมาเยือนของ AI จึงต้องอัพสกิลและรีสกิล ส่วนใหญ่จะเป็นด้านซอฟต์สกิล ทักษะความเป็นมนุษย์ที่เป็นที่ต้องการในตลาด ประกอบด้วย การพูดในที่สาธารณะ การเป็นผู้นำ การพัฒนาความรู้ การทำงานเป็นทีม และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ สิ่งเหล่านี้ ทำให้มนุษย์แตกต่างจาก AI และไม่สามารถมาทำงานแทนได้ 

ส่วนที่ AI ทำแทนได้ คือ กลุ่มที่ทำงานซ้ำๆ เช่น การคิดเลข การรายงาน เขียนเทคนิค และการนำเสนองาน ทักษะที่ควรเสริมให้เด็กรุ่นใหม่มีตอนนี้คือ การมีบุคลิก (Charactor) เป็นของตัวเอง และมีความสามารถ AQ (Adaptability Quotient) ที่จะเชื่อมโยงการใช้ AI ให้เป็น จากการที่โลกหมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว 

“ผู้นำที่เก่งคือผู้นำที่จะถามคำถามที่ถูกต้อง เมื่อก่อนคนที่เก่งคือคนที่จะอ่านออกเขียนได้ ในอนาคตคนที่จะปรับตัวได้ ประสบความสำเร็จคือ คนที่มีการปรับตัวฉลาดในการแก้ไขปัญหา  AQ(Adaptability Quotient) มีความสามารถที่จะเชื่อมโยงและใช้ AI ให้เป็น ทุกคนควรจะใช้ Chat GPT ให้เหมือนกูเกิล หรือยูทูปที่ทุกคนต้องใช้เป็น หากใช้AIเป็น จะมีกระบวนการผลิตเทียบเท่าบริษัทที่มีพนักงาน 1 หมื่นคน ศักยภาพแบบคูณสองเพราะฉะนั้นจะต้องมี AI” 

ท็อป-จิรายุส ยังมองว่าที่ผ่านมากว่า 10 ปี AI ได้ถือกำเนิดขึ้น ถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 4 มีวิวัฒนาการการทำงานที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ที่เป็นไปได้ว่าAI จะมีการทำงานที่อัจฉริยะมากขึ้นมาแทรกซึมอยู่ในตัวเราจากหน้าจอมือถือ ในวันข้างหน้าอาจจะอ่านใจ อ่านภาษามือ ภาษาร่างกายและภาษาความคิด ตอบสนองต่อวิถีชีวิตประจำวันเรา 

โดยมอง AI เป็น 3 เฟส นับจากวันนี้ ประกอบด้วย 

 

1.Augmentation เฟสแรก  (เกิดขึ้นแล้วที่ผ่านมาจนถึง- 2024)  AI จะเสริมสร้างผลกระทบทางบวก ให้กับกลุ่มคนใช้แรงงาน (Blue collar) เพราะมีเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน เช่น การใช้ให้เป็นคอลเซนเตอร์ ช่วยพูดคุยกับลูกค้า ทำให้ผู้ใช้แรงงานสามารถไปทำงานอื่นที่เขาสะสมทักษะมาหรือให้ AI ช่วยเป็นมันสมองในการสร้างรายได้เพิ่ม

 

2.Automation (ปัจจุบัน – 2030) ระบบอัตโนมัติ จะทำให้ 44% ของความสามารถมนุษย์ไม่มีประโยชน์แล้ว ไม่ใช่ว่าใช้ไม่ได้ แต่ AI สามารถทำแทนได้ เช่น การคำนวณ และเริ่มมีบางอาชีพหายไป เนื่องจาก AI สามารถเข้ามาทำงานที่จุกจิกใช้เวลานานได้ โดยเฉพาะการทำงานเป็นกิจวัตรซ้ำ ๆ เช่นการค้นหาอีเมล์ ดาวน์โหลดงานต่าง ๆ ในส่วนนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องหน้าที่การทำงาน โดย HR ต้องกลับมาดูว่าหน้าที่ไหน  AI ทำได้ และจะเหลือหน้าที่ไหนให้พนักงานบ้าง เช่น งานผู้จัดการการตลาดและผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ที่มีงานครึ่งนึงสามารถใช้ AI ทำได้ อนาคตของงานทั้งสองอย่างนี้อาจถูกจับมารวมกันเป็น ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการพัฒนาธุรกิจ 

 

 

 

AI เข้าใกล้ความเป็นคน มี’สมอง’คู่ ‘หัวใจ’ 

3.Digital Human (หลังปี 2030) ในอนาคตที่ AI พัฒนาสูงขึ้นมีโอกาสกลายเป็นมนุษย์ดิจิทัล ที่มีสมองแล้วก็มีหัวใจ ที่ผ่านมามีการพยายามพัฒนาด้านสมองความเก่งแล้ว ยังขาดในด้านความเป็นมนุษย์ หลักจริยธรรมและจรรยบรรณวิชาชีพ จึงเสมือนมีสมองแต่ไม่มีหัวใจ จึงยังไม่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ 

ซึ่งในเวที WEF ต้องการใช้ AI ในการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน แก้ไขปัญหาให้กับโลก เช่นเดียวกันกับ อาชีพ แพทย์ จะต้องมีการดูแลคนไข้ตามหลักมนุษยธรรม หรือ ทนายความ 

นักธุรกิจ ที่ WEF กุมอำนาจเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลก จึงมีโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยการรวมกลุ่มพัฒนา หลังจากที่มีอาชีพเพียงมุ่งแสวงหากำไรอย่างเดียว จะต้องมีหมวกอีกใบต้องคอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI ยังทำไม่ได้ 

“AI ในวันนี้จึงแค่เข้ามาช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการแก้ไขปัญหาให้กับโลก แต่ยังไม่สามารถแย่งงานในอาชีพที่ต้องใช้ทักษะความเป็นมนุษย์สูง (soft skill) ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เช่น ทักษะการเป็นผู้นำ การพูดในที่สาธารณะ การนำเสนองาน การทำงานเป็นทีม การอดทนเสียสละ หรืองานประเภท ศิลปะ จิตวิทยา และงานบริการลูกค้าที่ต้องมีความละเอียดอ่อน” 

ท็อป-จิรายุส ยังกล่าวอีกว่า หาก AI สวมหมวกแค่ใบเดียวหรือหวังแค่เรื่องการทำกำไรให้ผู้สร้าง สังคมคงไปไม่รอด ซึ่งเมื่อAI มีทักษะวิวัฒนาการสูงขึ้น จะตอบโจทย์ปัญหาโลกในยุคต่อไป ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาโรคระบาด ที่ยังรักษาไม่หาย เช่น HIV มีการคาดการณ์และติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการวิเคราะห์ข้อมูลในปริมาณมากเพื่อการฟื้นฟูธรรมชาติ 

“คนที่จะเป็นคนสร้าง AI กอบกู้โลก ก็คือนักธุรกิจผนวกกับภาคอุตสาหกรรมที่มีกำไร และสามารถสร้างผลกระทบต่าง ๆ ให้กับโลกใบนี้”