กรณี ดิไอคอนกรุ๊ป ไม่ใช่ธุรกิจแต่เป็นแชร์ลูกโซ่ รูปแบบโมเดลธุรกิจยั่งยื่น ไม่มีรวยทางลัด ต้องทำต่อเนื่อง

กรณี ดิไอคอนกรุ๊ป ไม่ใช่ธุรกิจแต่เป็นแชร์ลูกโซ่ รูปแบบโมเดลธุรกิจยั่งยื่น ไม่มีรวยทางลัด ต้องทำต่อเนื่อง

กรณี ดิ ไอคอนกรุ๊ป สร้างชื่อเสียงและความไว้วางใจจากเหล่าคนดัง ไม่เน้นขายแต่เน้นหาลูกค้าใหม่ ๆ คล้าย แชร์ลูกโซ่ หวังกินกำไรผ่านคอรส์เรียนและเปิดบิลสินค้า ก่อความเสียหายกับผู้เข้าร่วมมหาศาล เติบโตไวแต่ไม่ยั่งยืน เข้าสู่สเต็ปคนไทยเชื่อใจคนง่าย ลองตรวจสอบความโปร่งใสก่อนการลงทุน สังเกตผู้ประกอบการที่ดีต้องคำนึงถึงความยั่งยืน 

 

 

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 มีผู้เสียหายจำนวน 91 คนได้เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยอ้างว่าถูกหลอกให้ลงทุนในธุรกิจของ “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” บริษัทสอนทำธุรกิจออนไลน์ ที่ก่อตั้งโดยนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือที่เรียกกันในนาม บอสพอล เจ้าของวลีเด็ด “ขยันผิดที่ 10 ปีก็ไม่รวย”  โดยมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 35 ล้านบาท ขณะที่บริษัท มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น หนึ่งล้านบาท เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2561 ก่อนขยับสู่พันล้านบาทเมื่อปีที่ผ่านมา

ดิ ไอคอน กรุ๊ป ระบุไว้ว่า ธุรกิจขายของออนไลน์อันดับหนึ่งของประเทศไทยที่มีเปิดคอร์สสอนจริงในระยะเวลาสั้น ๆ ช่น สอนเปิดเพจ ตัดต่อคลิป การปักตะกร้าขายของ การยิงแอดโฆษณา ฯลฯ จากข้อมูลที่พบไม่มีการบังคับให้ซื้อสินค้าจากทางบริษัท แต่มีการชักชวนถึงความสะดวกที่ได้รับ ผลตอบแทนที่ดี และความน่าเชื่อถือ บริษัทมีสินค้า ภายใต้สินค้าชื่อ BOOM โดยมีสินค้าอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว อาทิ BOOm Collegen (คอลาเจน), BOOM toothpaste (ยาสีฟัน), iCON Face serum (เซรั่ม) และกาแฟ เป็นต้น โดยใช้ระบบดร๊อปชิพ ไม่ต้องสต็อกสินค้า ไม่ต้องแพคสินค้า ไม่ต้องออกไปส่งของเอง และสามารถซื้อขายผ่านมือถือเพียงเครื่องเดียว ด้วยระบบ e-payment gateway

ในการเปิดบิลมีให้เลือก 3 ระดับ คือ หลักพัน หลักหมื่น และหลักแสน บริษัทมีข้อกำหนดการขายที่จัดเจน โดยไม่เน้นไปที่การขายแต่ไปที่การค้าลูกค้าเพิ่ม และอาจเลื่อนให้กลายเป็นคุณครู อาจาร์ยที่ถ่ายทอดความรู้และหานักเรียนต่อไป โดยให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ ซึ่งมักไม่ได้มาจากการประกอบธุรกิจที่แท้จริง แต่เป็นการนำเงินของสมาชิกใหม่มาจ่ายเป็นผลตอบแทนให้สมาชิกเก่า สร้างความเสียหายทางการเงินให้กับผู้ที่เข้าร่วมในระยะยาว เนื่องจาก ของขายไม่ได้ สูญเสียรายได้ ถึงขั้นอัตวิบากกรรม

 

 

ความน่าเชื่อถือถูกสร้างขึ้นจากคนที่น่าไว้ใจ

ตัวแทนจำหน่ายมักเข้าใจผิดว่าเป็นการ “รวยทางลัด” เพราะเสน่ห์ของแชร์ลูกโซ่อยู่ที่การโฆษณาผลตอบแทนสูงภายในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องทำงานหนัก หรือใช้เงินลงทุนมาก ผู้เข้าร่วมอาจได้รับผลตอบแทนตามที่สัญญาไว้ ทำให้เกิดความมั่นใจในระบบ และชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมเพิ่มซึ่งธุรกิจแชร์ลูกโซ่มีประวัติยาวนานและเคยสร้างความเสียหายใหญ่หลวงในประเทศไทย อาทิ คดีแชร์แม่ชม้อย (ประเทศไทย, 2527) แชร์ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย, 2539)

ในกรณีพบว่ามีบุคคลในวงการบันเทิงหลายท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท และมีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการว่าเป็น ‘บอส’ โดยบางคนอ้างว่าเป็นเพียงพรีเซนเตอร์หรือผู้ช่วยการตลาดเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการใดๆ

ซึ่งกฎหมายระบุว่าหากเป็นการหลอกลวงเช่นนี้ ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนและขอเงินคืนได้ มีศิลปินหลายคนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนี้ โดยบางคนอ้างว่าเป็นเพียงพรีเซนเตอร์หรือผู้ช่วยการตลาด แต่สังคมก็ตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบของพวกเขาในระบบนี้​

 

โอกาสของทางลัด ต้องรีบไขว้คว้าเพื่ออนาคต

ธุรกิจหาโอกาสจากคนที่มีความฝัน อยากพลักดันตัวเองไปสู่ชีวิตการเป็นอยู่ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจที่มีความผันผวน ทำให้ผู้คนมองหาวิธีสร้างรายได้ที่รวดเร็วและง่ายดาย เพราะการทำงานหนักนั้น อาจไม่เพียงพอกับรายได้ที่ได้รับกลับมา และเมื่อเห็นกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จ มีเป้าหมาย และน่าเชื่อถือ เจึงไว้ใจและอยากลองเปิดโอกาสให้กับชีวิตตนเอง ด้วยความหวัง และกลายเป็นเหยื่อในที่สุด การที่คนไทยเป็นเหยื่อจำนวนมากจากธุรกิจลงทุนง่าย ได้ผลตอบแทนสูง อาจมีสาเหตุหลายประการ รวมถึงปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

 

1. ขาดความรู้ด้านการลงทุน  หลายคนไม่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนหรือระบบการเงิน ทำให้สามารถถูกชักจูงด้วยข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถวิเคราะห์หรือประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

2. ความเชื่อในโชคลาภ  วัฒนธรรมไทยมักมีความเชื่อในโชคลาภและการเสี่ยงโชค ซึ่งอาจทำให้คนหันไปหาวิธีการที่ไม่เป็นธรรมชาติในการสร้างรายได้ เช่น การลงทุนในแชร์ลูกโซ่หรือการพนัน

3. การเชื่อถือบุคคลหรือองค์กร  คนไทยมักมีความเชื่อมั่นในบุคคลที่รู้จักหรือมีชื่อเสียง ทำให้เปิดรับข้อเสนอจากคนที่ดูน่าเชื่อถือแม้ว่าอาจจะไม่เป็นจริง เช่น การลงทุนในแชร์ลูกโซ่หรือธุรกิจที่มีลักษณะหลอกลวง

4. การขาดการศึกษาข้อมูล  การไม่ศึกษาข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทหรือโครงการที่เสนอการลงทุน สามารถทำให้คนตกเป็นเหยื่อได้ง่ายขึ้น เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ

5. แรงกดดันทางสังคม มีการใช้กลยุทธ์ทางจิตวิทยาในการชักชวน เช่น การสร้างความรู้สึกเร่งด่วนในการลงทุน หรือการแสดงให้เห็นว่าคนรอบข้างประสบความสำเร็จ ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าต้องเข้าร่วมเพื่อไม่ให้พลาดโอกาส

6. หลุมพลางความขยัน การทำงานอย่างไม่มีการวางแผนหรือการปรับปรุงจะทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะมีความรักและความมุ่งมั่นในการทำงาน ไม่เน้นวิธีการแต่มุ่งไปที่ผลลัพธ์

 

 

เริ่มต้นที่ดี เริ่มจากผู้นำต้องทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

การประกอบอาชีพและสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน ผู้นำต้องทำด้วยความโปร่งใสและใส่ใจผู้ที่เข้ามาร่วมลงทุน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในกระบวนทำงาน มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลใช้เวลาในการเติบโต  แทนที่จะมุ่งเน้นเพียงกำไรระยะสั้นเท่านั้น จนสุดท้ายเกิดเป็นแผลใหญ่เรื้อรังให้ทั้งกับตนเองและสังคม จากหลัก ESG

เศรษฐกิจ (Economic Sustainability) ธุรกิจต้องทำกำไรอย่างมั่นคงและสามารถดำรงอยู่ได้ในระยะยาว แต่การทำกำไรต้องไม่เกิดจากการเอาเปรียบสังคม จะช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนทั้งในแง่ของรายได้และความไว้วางใจจากผู้บริโภค

สังคม (Social Sustainability) ธุรกิจยั่งยืนต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนและสังคม ไม่ใช่เพียงแค่การมุ่งทำกำ เช่น ความโปร่งใส ซื่อสัตย์ รักษาคุณภาพของสินค้า ซึ่งสามารถสร้างความจงรักภักดีจากลูกค้าได้

สิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ผู้ประกอบการรายเล็กลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการใช้วัสดุที่ยั่งยืน และการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว แต่ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ

 

ตัวอย่างรูปแบบโมเดลที่ยั่งยืน 

พาทาโกเนีย Patagonia   แบรนด์เสื้อผ้าที่มุ่งเน้นการผลิตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากการขายผลิตภัณฑ์เล็ก ๆ ผ่านทางออนไลน์และช่องทางอื่น ๆ Patagonia เน้นการใช้วัสดุรีไซเคิลและการผลิตที่มีคุณภาพสูงเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบรนด์นี้ยังมีโปรแกรมรับคืนสินค้าที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถส่งคืนเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วกลับมาให้บริษัทเพื่อรีไซเคิล 

รองเท้าทอมส์ TOMS Shoes   เริ่มต้นจากการขายรองเท้าออนไลน์ โดยมีแนวคิดที่ว่า “ซื้อหนึ่งคู่ สร้างโอกาสให้กับอีกหนึ่งคู่” นั่นคือการบริจาครองเท้าหนึ่งคู่ให้กับเด็กที่ขาดแคลนในทุกการขายรองเท้าหนึ่งคู่ บริษัทนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสร้างสรรค์ที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม 

เอ็ต-ซี Etsy   แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้าทำมือและสินค้าที่มีเอกลักษณ์ได้ขายสินค้าในตลาดโลก ผู้ขายส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ประกอบการอิสระที่มุ่งเน้นการผลิตอย่างยั่งยืน การสนับสนุนการขายสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นทำให้ Etsy มีส่วนช่วยในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน 

วอร์บี้ ปาร์คเกอร์ Warby Parker   เริ่มต้นจากการขายแว่นตาออนไลน์ในราคาที่เข้าถึงได้และมีแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พวกเขาใช้วัสดุที่มีความยั่งยืนและสร้างโครงการ “Buy a Pair, Give a Pair” ที่ทำให้มีการบริจาคแว่นตาให้กับผู้ที่ต้องการ แบรนด์นี้เติบโตจากการขายออนไลน์เป็นหลักและมีร้านค้าที่เปิดในภายหลังเพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้า