ผลวิจัยพบวัยรุ่น 20-30% ประสบปัญหานอนไม่หลับ สะท้อนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

ผลวิจัยพบวัยรุ่น 20-30% ประสบปัญหานอนไม่หลับ สะท้อนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

การนอนไม่หลับในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจของวัยรุ่นได้ในระยะยาว โดยปัญหานี้อาจเกิดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ สังคม  สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมต่าง ๆ ของวัยรุ่น

 

 

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะนอนไม่หลับ” เป็นอาการที่ส่งผลให้คน ๆ หนึ่งมีปัญหาในเรื่องการเริ่มนอน, การนอนหลับไม่สนิท, หรือการตื่นขึ้นมาเร็วเกินไปโดยที่ไม่สามารถกลับไปนอนได้ตามปกติ ถึงแม้จะมีโอกาสในการนอนหลับเพียงพอก็ตาม โดยส่วนใหญ่อาการนอนไม่หลับสาเหตุมาจากความเครียดและความวิตกกังวล

อัตราการเกิดโรคนอนไม่หลับในวัยรุ่น

จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 20-30% ของวัยรุ่น ประสบปัญหาการนอนไม่หลับอย่างน้อยบางครั้งในชีวิต และ ประมาณ 10-15% มีอาการนอนไม่หลับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในระยะยาว และจากการศึกษาหลายแหล่งยังพบว่า อาการนอนไม่หลับในวัยรุ่นเป็นอาการนอนไม่หลับชั่วคราว (Acute Insomania) และอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic Insomania) ซึ่งอาการนอนไม่หลับนี้จะส่งผลต่อการดำรงชีวิจ และการที่ร่างกายไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่

 

 

 

 

สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับในวัยรุ่น

1.ปัยจัยทางจิตใจ (Phychological Factors)

    – ความเครียด: การต้องเผชิญหน้ากับปัญหาครอบครัว สภาพแวดล้อมในการเรียน การสอบ หรือความสัมพันธ์กับเพื่อน

  – ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล: ปัญหาทางอารมณ์สามารถทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ เนื่องจากสภาพจิตใจไม่สงบ

  – การเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่น: เมื่อเราโตขึ้น ฮอร์โมนได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ

2.พฤติกรรมที่ส่งผลกระทบ (Behavioral Factors)

  – การใช้เทคโนโลยี: การใช้โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะข่วงก่อนนอน ทำให้นอนหลับยาก

  – การนอนดึก: โดยส่วนมากวัยรุ่นมักจะนอนดึกและตื่นสาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการนอนหลับ

3.สาเหตุทางร่างกาย

  – ปัญหาสุขภาพ: เช่น โรคหอบ หรือโรคอื่น ๆ ที่แทรกซ้อนมากับสภาวะการนอนไม่หลับ คือ โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง และโรคสมองเสื่อม

 

   

อาการนอนไม่หลับที่พบเจอโดยทั่วไป

1.ไม่รู้สึกง่วง 

2.มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ 

3.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 

4.ง่วงในตอนกลางวัน และในช่วงกลางคืนจะไม่รู้สึกง่วง

5.ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือจดจ่อกับการทำกิจกรรม

 

วิธีแก้ไขการนอนไม่หลับในวัยรุ่

1.การปรับเปลี่ยนเวลานอนให้เป็นเวลา กำหนดเวลาเข้านอนและการตื่นให้คงที่

2.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือมือถือก่อนนอน 

3.การจัดการความเครียด เพราะความเครียดก่อนนอน ส่งผลให้เราคิด ฉะนั้นควรจัดการความเครียด โดยการฝึกสมาธิ อ่านหนังสือก่อนนอน หรือการฟังเพลง พอดแคสต์ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น

4.การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่ทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น แต่การออกกำลังกายถือว่าฝึกสมาธิอย่างนึง ทั้งยังทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นตามมา และส่งผลทำให้นอนหลับง่ายขึ้น

5.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนใ่นช่วงบ่ายเป็นต้นไป เวลาที่เหมาะสมในการดื่นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนที่สุดคือ ช่วงเช้า

6.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือการเข้ารักษาอาการนอนไม่หลับกับแพทย์หรือจิตแพทย์ เพื่อประเมินผลและรักษาอาการนอนไม่หลับ

 

วิธีการแก้ไขการนอนไม่หลับได้ดีที่สุดคือ การสร้างนิสัยของการนอนที่ดี ให้มีประสิทธิภาพในการนอนมากขึ้น

อาการนอนไม่หลับในวัยรุ่นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งด้านจิตใจ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และสุขภาพ โดยมีผลกระทบต่อการเรียน การสอบ การใช้ชีวิต และส่งผลถึงสุขภาพจิตในระยะยาว การปรับพฤติกรรมการนอนและการจัดการกับความเครียด ควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันการนอนไม่หลับในระยะยาว และปรับการนอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

 

ที่มา: ไขปัญหาสุขภาพจิต กับอาการนอนไม่หลับ – รามา แชนแนล 

         โรคนอนไม่หลับ โรงพยาบาลเพชรเวช

         โรคนอนไม่หลับ: สาเหตุผลกระทบ และวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

         ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)

        กรมสุขภาพจิตพบคนไทย นอนไม่หลับ – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)