“เรื่องหัวใจเป็นเรื่องที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้” TIMS ประเมินคนไทยพบมีผู้เสี่ยงโรคซึมเศร้ามากขึ้น พบอยู่ในกลุ่มต่ำกว่า 20 ปี การดูแลจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ เข้าใจและรับมือตนเองอย่างปลอดภัย และเมื่อไม่ไหวยังมีพื้นที่ปลอดภัยมากกว่าหนึ่งแห่งที่พร้อมเคียงข้าง อีกทั้งยังมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่คอยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางส่งเราออกนอกรั้วอารมณ์
จากสถิติของสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) พบว่าในจำนวนผู้ตอบแบบประเมินกว่า 5 ล้านคน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 11 เมษายน 2567 มีผู้เสี่ยงซึมเศร้าถึง 9.35% มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 5.32% และมีความเครียดสูง 7.95% โดยประชากรกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เสี่ยงซึมเศร้าและฆ่าตัวตายมากที่สุด อีกทั้งยังพบว่า ในปี 2566 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น 7.94 รายต่อแสนประชากร
สถิติพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ปัญหาสุขภาพจิตมีอยู่จริงและมีอยู่เยอะมาก ซึ่งคนเป็นทรัพยากรบนโลกใบนี้ที่ต้องช่วยกันให้ความสำคัญ โดยเฉพาะคนรุ่นหลังที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่จะกลายเป็นคนขับเคลื่อนสังคมของเราต่อไป แต่เราจะช่วยคนอื่นได้ ก็ต่อเมื่อภายในใจของเราพร้อมแบ่งปัน
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ให้ข้อมูลว่าช่วงวัยเปลี่ยนผ่านหรือผู้ใหญ่วัยเริ่ม ที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ส่วนใหญ่เริ่มมีความเชื่อว่าอนาคตของตัวเองจะเป็นไปด้วยดีและสดใส แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้หลายประเทศประสบปัญหาการจ้างงานและได้ค่าแรงที่ลดลง อีกทั้งผู้ใหญ่วัยเริ่มต้องเจอผลกระทบที่จัดการได้ยากหลายประการ เช่น การค้นหาตัวตน (identity exploration) วางแผนเป้าหมายที่อาจเป็นตัวกำหนดชีวิต , ความรู้สึกไม่มั่นคง (instability) ในหน้าที่การงาน การเรียน และการทำงาน, มุ่งให้ความสำคัญกับตนเอง (self-focused) คาดหวังความสนใจจากผู้อื่นและรู้สึกกังวลกับสายตาที่มองเข้ามา , ความรู้สึกก้ำกึ่ง (feeling in-between) สับสนว่าบางครั้งตนเองกำลังเป็นผู้ใหญ่และบางครั้งก็ไม่ใช่เลย ทำให้วัยนี้มีช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจชีวิต ผ่านการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่มากมาย
เสริมสร้างเกราะป้องกันและเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลใจ
เมื่อมีเกราะป้องกันไปสู่วันข้างหน้า หากต้องเจอกับเรื่องกระทบกระเทือนใจอาจรู้สึกเจ็บน้อยลงและการรับมือเบื้องต้นเป็นเรื่องสำคัญที่เปรียบเสมือนพกอาวุธไว้สู้กับภาวะอารมณ์ ซึ่งสุขภาพจิตไม่สนเพศและอายุ โรงพยาบาลมนารมย์ได้แนะนำ 5 วิธีรับมือเมื่อความเศร้าก่อตัวรบกวนใจ ดังนี้
- แค่ “เศร้า” ไม่ได้แปลว่า “อ่อนแอ” ยอมรับกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างไม่ต้องกดไว้
- ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกาย ช่วยปลดปล่อยความเครียด
- ทำกิจกรรมที่ชอบ เลือกกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี ๆ
- ตั้งเป้าหมายเท่าที่ทำไหว เหลือพื้นที่ไว้สำหรับการพักผ่อนบ้าง
- ดูแลตัวเองให้ดี โดยเฉพาะการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ขณะเดียวกัน กรมสุขภาพจิต กำลังดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาวะของคนไทยระยะเร่งด่วนภายใน 6 เดือน คือ
1.เพิ่มอัตรากำลัง และเร่งการผลิตพัฒนาบุคลากรทุกสาขา
2.เพิ่มการจ่ายค่าบริการของกลุ่มโรคทางจิตเวชให้สะท้อนต้นทุนค่ารักษาที่แท้จริง
3.ผลักดันรายการยาจิตเวชในบัญชียาหลักแห่งชาติ
4.ปรับมาตรฐานบริการจิตเวชฉุกเฉิน “เฝ้าระวัง ฉับไว ไม่รีรอ ลดการรอคอย”
เมื่อการรับมือกับตัวเองเป็นเรื่องยาก ลองมองหาพื้นที่ปลอดภัยช่วยพยุง
เราล้วนเป็นเส้นใยที่เกี่ยวพันกันกับคนอื่น โรคซึมเศร้าไม่ใช่สิ่งที่ต้องเผชิญเพียงลำพัง เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ที่ต้องมีการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ด้วยการเติมเต็มความสุขในพื้นที่สบายใจ สามารถอยู่หรือแสดงออกได้อย่างไม่ต้องกลัวการถูกตัดสิน “สติแอพ” เป็นแอปพลิเคชันที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถระบายความเครียดหรือความรู้สึกเศร้าของตนเองได้ฟรี โดยอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมจากกรมสุขภาพจิต โดยพบว่าปัญหาที่คนส่วนใหญ่มักโทรเข้ามาระบาย คือ ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ รองลงมา คือ เรื่องครอบครัว
และออกเดินทางหาความสุขพร้อมแบ่งปันในทุกด้าน ด้วยธีม L.O.V.E. ได้แก่ รักตัวเอง (L – Loving Yourself: The Art of Self-Care), รักเพื่อนร่วมโลก (Opening Hearts – Embracing Social Inclusion), รักในการที่จะมีสุขภาวะชีวิตที่ดี (Valuing Lives – Understand Well-Being), รักที่จะได้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ดี ๆ ในสังคม (Enhancing Connection – Fostering Community Support)
จากบุคคลสำคัญด้านสุขภาพจิตหลายแขนง ทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต นักเคลื่อนไหวด้านสุขภาพจิต รวมไปถึงดารานักแสดงชื่อดังใน 4 หัวข้อ L.O.V.E.
ชวนเติมพลังงานด้วยของหวาน Harmony Ice Cream กาแฟ Dots Coffee จากผู้พิการทางสายตาจาก, เติมอุปกรณ์บำรุงหัวใจด้วย กล่องปฐมพยาบาลใจ, ฟังเพลงฮีลใจผ่านมินิคอนคอนเสิร์ต ฯล ในงาน BetterMindBetterBangkok ปี 3 ที่จะจัดขึ้น 6 ตุลาคม 2024 นี้ที่สามย่านมิตรทาวน์ ชั้น 3 โดยสติแอพร่วมกับสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมย์เบลลีน นิวยอร์ก (Maybelline Brave Together) และมูลนิธิเพื่อคนไทย
ธีมงาน L.O.V.E ในปีนี้ นั้น สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จาก “สติแอพ-SATI App” แอปพลิเคชันพื้นที่ปลอดภัยที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถระบายความเครียดหรือความรู้สึกเศร้าโดยไม่ต้องเกรงกลัวที่จะถูกตัดสิน เพราะคนส่วนใหญ่มักโทรเข้ามาระบายกับอาสาสมัครผ่านแอพพลิเคชันสติเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ตามด้วยปัญหาครอบครัว ช่วยให้กลับมารักตัวเอง
สำหรับเนื้อหาหลักบนเวทีเสวนาตามธีม L.O.V.Eประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1.การรักตัวเอง (L – Loving Yourself: The Art of Self-Care) สำรวจความสำคัญของการดูแลตนเองและสำรวจว่าการดูแลตัวเองแบบไหนที่จะช่วยสร้างสุขภาพจิตและร่างกายให้ดีได้พร้อมกัน วิทยากร คุณเอ๋ นิ้วกลม สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ คุณดุจดาว วัฒนปกรณ์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์คุณยิปโซ อริย์กันตา มหพฤกษ์พงศ์ ( https://rb.gy/qzfc0f )
- ความรักต่อเพื่อนร่วมโลก (Opening Hearts – Embracing Social Inclusion) ความสำคัญของการยอมรับการอยู่ร่วมกันและความหลากหลายที่สามารถส่งเสริมความสามัคคีในสังคมและช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีสำหรับทุกคน วิทยากร คุณฝ้าย กันตพร สวนศิลป์พงศ์ คุณสโรชา กิตติสิริพันธุ์ คุณซิลวี่ ภาวิดา มอริจจิ ดร.นพ. วรตม์ โชติพิทยสุนนท์
- ความรักในการที่จะมีสุขภาวะชีวิตที่ดี (Valuing Lives – Understand Well-Being)แนวคิดและบทบาทสำคัญของสุขภาวะทางจิตใจที่มีผลต่อสุขภาพองค์รวม รู้จักวิธีการและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี วิทยากร คุณมะเฟือง เรืองริน อักษรานุเคราะห์ คุณไมกี้ ปณิธาน บุตรแก้ว พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ คุณจารุปภา วะสี
4.ความรักที่จะได้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ดี ๆ ในสังคม (Enhancing Connection – Fostering Community Support) ทำความเข้าใจความเหงาในสังคมและผลกระทบต่อสุขภาพจิต ร่วมค้นหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมาย การสร้างเครือข่ายสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาความเหงา วิทยากร คุณนุ่น บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล นพ.ธีรวีร์ วีรวรรณ คุณอมรเทพ สัจจะมุนีวงศ์ คุณเขื่อน ภัทรดนัย เสตสุวรรณ
นอกจากเวทีเสวนาแล้วภายในงานยังมีกิจกรรมhttps://rb.gy/qzfc0f ให้ทุกคนสามารถมาปฐมพยาบาลใจจิตเบื้องต้นได้ด้วยการมาเขียนข้อความบอกรักตัวเองด้ว
งานปีนี้ยังมุ่งเน้นเสริมพลังประชาชนผู้เข้าร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายด้านการดูแลสุขภาพจิตของคนไทย สามารถร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาวะเบื้องต้นโดยไม่ระบุตัวตนผ่านเครื่องมือชื่อ “กล่องปฐมพยาบาลใจ” ซึ่งเป็นแบบสอบถามออนไลน์ได้ที่ https://yourfirstaidkit.paperform.co