รายงาน ต้นทุนของการไม่ดำเนินการจากคู่มือของ CEO ในการนำทางความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ (The Cost of Inaction: A CEO Guide to Navigating Climate Risk) ของ WEF เจาะลึกถึงผลกระทบทางการเงินอันร้ายแรงจากการไม่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
แปลโดย: วันทนา อรรถสถาวร
ความยั่งยืนและความสำเร็จทางธุรกิจมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันโดยความสำเร็จของฝ่ายหนึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
ทั้งสองสิ่งนี้ต้องดำเนินไปควบคู่กัน โดยธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติที่คำนึงถึงสภาพอากาศเพื่อให้มั่นใจว่าจะอยู่รอดได้ การนำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนมาใช้ไม่ใช่แค่การปฏิบัติตามเท่านั้น แต่ยังช่วยปลดล็อกการประหยัดต้นทุน เสริมสร้างตำแหน่งแบรนด์ และรับรองประสิทธิภาพในการดำเนินงานในโลกที่คุณลักษณะเหล่านี้มีความจำเป็น
นอกจากนี้ พันธมิตรของซีอีโอผู้นำด้านสภาพอากาศของฟอรัมเศรษฐกิจโลกของ World Economic Forum (WEF)ยังได้เน้นย้ำประเด็นนี้เพิ่มเติมในรายงานต้นทุนของการไม่ดำเนินการ: คู่มือของ CEO ในการนำทางความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ (The Cost of Inaction: A CEO Guide to Navigating Climate Risk)
ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องใกล้ตัว
WEF กล่าวว่า ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศไม่ใช่ภัยคุกคามที่อยู่ห่างไกลอีกต่อไป แต่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก
ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศได้สร้างความเสียหายมากกว่า 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และความเสี่ยงก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
“สำหรับธุรกิจ ความเสี่ยงทางกายภาพ เช่น เหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้าย และความเสี่ยงในการเปลี่ยนผ่าน เช่น ราคาคาร์บอนที่สูงขึ้น กำลังเปลี่ยนแปลงตลาดและปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจอยู่แล้ว”
การนำทางความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่เพิ่มมากขึ้น
WEF ร่วมมือกับบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group-BCG) เจาะลึกถึงผลกระทบของความเสี่ยงด้านสภาพอากาศขององค์กรที่เพิ่มมากขึ้น
แต่ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป รายงานยังเน้นย้ำถึงโอกาสที่เกิดขึ้นกับธุรกิจต่างๆ เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสร้างหลักประกันให้กับตนเองในอนาคต รวมถึงวางแผนเส้นทางใหม่เพื่อก้าวไปข้างหน้า
รายงานดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ซีอีโอพาธุรกิจของตนผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้ด้วยคู่มือปฏิบัติที่มุ่งหวังที่จะติดอาวุธให้ผู้นำเพื่อให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงและคว้าโอกาสในสิ่งที่เรียกว่า “ โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ”
คู่มือนี้แบ่งออกเป็นขั้นตอนและตัวช่วยดังต่อไปนี้:
ขั้นตอนที่ 1:ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศอย่างครอบคลุม
ขั้นตอนที่ 2:จัดการความเสี่ยงในพอร์ตธุรกิจปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 3:ปรับเปลี่ยนธุรกิจของคุณเพื่อปลดล็อกโอกาส
ขั้นตอนที่ 4:ติดตามความเสี่ยงและรายงานความคืบหน้า
ตัวช่วยที่ 1:ยกระดับการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ
ตัวช่วยที่ 2:รวมความเสี่ยงด้านสภาพอากาศเข้ากับการดำเนินธุรกิจตามปกติ
ตัวช่วยที่ 3:พัฒนาระบบความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ
รายงานความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศของ WEF พบข้อค้นพบที่สำคัญอะไรบ้าง?
รายงานมีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:
-ธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเสี่ยงด้านสภาพอากาศอาจสูญเสียรายได้ประจำปีถึง 7%ภายในปี 2578
-คาดว่าความร้อนที่รุนแรงและอันตรายจากสภาพอากาศอื่นๆ จะทำให้ บริษัทจดทะเบียนสูญเสียสินทรัพย์ถาวรมูลค่า 560,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (19.27 ล้านล้านบาทถึง 610,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 21 ล้านล้านบาท) ต่อปี ภายในปี 2578
-บริษัทโทรคมนาคม สาธารณูปโภค และพลังงานมีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศมากที่สุด
-บริษัทที่ล้มเหลวในการลดการปล่อยคาร์บอนต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการเปลี่ยนผ่านที่เพิ่มขึ้น โดยกำไรสูงถึง 50% จะตกอยู่ในความเสี่ยงภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) ในภาคส่วนที่ปล่อยคาร์บอนสูง
-สำหรับบริษัทจดทะเบียนทั่วไป การสูญเสียที่เกิดจากสภาพอากาศอาจส่งผลให้กำไรลดลง 8.1% ถึง 10.1% ต่อปีภายในปี 2588
-บริษัทต่างๆ อาจประเมินผลกระทบทางการเงินจากความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเหล่านี้ต่ำเกินไป
-ธุรกิจที่ลงทุนด้านการปรับตัว ความยืดหยุ่น และการลดการปล่อยคาร์บอน พบว่าสามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสียได้สูงถึง 19 ดอลลาร์สหรัฐ (654 บาท) ต่อทุกๆ หนึ่งดอลลาร์ที่ใช้จ่าย
-ตลาดสีเขียวคาดว่าจะขยายตัวจาก 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (172 ล้านล้านบาท) เป็น 14 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (481.6 ล้านล้านบาท)ภายในปี 2030ซึ่งถือเป็นโอกาสเติบโตที่สำคัญ
เมื่อโลกกำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนที่ไม่อาจย้อนกลับได้ ผู้นำทางธุรกิจจึงอยู่ใน “ช่วงเวลาสำคัญ” ที่จะต้องดำเนินการ
กิม ฮวย (Gim Huay) กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าศูนย์ธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศแห่งฟอรัมเศรษฐกิจโลกกล่าวว่า นี่เป็นช่วงเวลาชี้ขาดที่ผู้นำจะต้องดำเนินการอย่างกล้าหาญและร่วมมือกัน เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของพวกเขาสามารถปรับตัวได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
บทบาทของซีอีโอ
นี่คือสิ่งที่ซีอีโอสามารถทำได้
ประการแรก รายงานแนะนำให้ซีอีโอดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพอากาศอย่างครอบคลุมเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่วัดผลไม่ได้
แม้ว่าการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ทะเยอทะยานจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ควรฝังเป้าหมายเหล่านี้ไว้ในกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยรวมและเพื่อให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล
ชิโระ คัมเบะ รองประธานบริหารอาวุโสและเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรของบริษัท โซนี่ กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น ( Sony Group Corporation) กล่าวว่า เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2040 จำเป็นต้องลดการปล่อยมลพิษของซัพพลายเออร์
“เรากำลังเริ่มขอให้ซัพพลายเออร์รายใหญ่ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 2 สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2030 และวางแผนสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถของพวกเขา”
WEF เสริมว่าการจัดสรรทรัพยากรให้กับโครงการเพื่อความยั่งยืนถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และโปรแกรมลดขยะ โดยส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืนภายในบริษัท ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าการพิจารณาเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเป็นศูนย์กลางของกระบวนการตัดสินใจตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไป
งานวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ WEF แนะนำให้ซีอีโอตรวจสอบว่าทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อรักษามูลค่าความยั่งยืนไว้ โดยระบุว่าซีอีโอควรลงทุนในงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถเสริมความพยายามด้านความยั่งยืนของบริษัทได้ การร่วมมือกับผู้กำหนดนโยบายยังสนับสนุนเรื่องนี้อีกด้วย เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาและการนำนโยบายด้านสภาพอากาศที่มีประสิทธิผลไปปฏิบัติ ซึ่งจะสร้างสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่สนับสนุน
ความเป็นผู้นำด้านสภาพอากาศในการปฏิบัติ
กลุ่มอิ๊กก้า (Ignka Group) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งแฟรนไชส์ อิเกีย (IKEA) ที่ใหญ่ที่สุด ถือเป็นตัวอย่างของความสมดุลและความสามัคคีระหว่างการดำเนินการเพื่อสภาพภูมิอากาศและการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
เจสเปอร์ โบรดิน (Jesper Brodin) ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัทเป็นประธานร่วมของกลุ่ม พันธมิตรผู้นำด้านสภาพอากาศของ CEO (Alliance of CEO Climate Leaders) กล่าวว่า การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศไม่จำเป็นต้องแลกมาด้วยประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ การใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดหมายถึงการใช้ต้นทุนอย่างชาญฉลาด และการดำเนินธุรกิจอย่างชาญฉลาด
“นับตั้งแต่ปี 2016 เราสามารถลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศได้ 24.3% ในขอบเขต 1, 2 และ 3 ในขณะที่ธุรกิจของเราเติบโตขึ้น 30.9%”
“การทำงานเพื่อมุ่งสู่สังคมปลอดคาร์บอนไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังเป็นรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืนเพียงหนึ่งเดียวสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย สิ่งสำคัญคือธุรกิจต้องเริ่มต้นเส้นทางสู่การลดการปล่อยคาร์บอนหรือได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นในการเริ่มต้นเส้นทางดังกล่าว
“ต้นทุนของการไม่ดำเนินการใดๆ นั้นมีมากกว่าต้นทุนของการลงทุนเชิงรุก การเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจปลอดคาร์บอนได้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นสิ่งที่ไม่อาจหยุดยั้งได้”
คาเรน พ.ฟลัก (Karen Pflug) CSO ของกลุ่มอิงก้า (Ingka) กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นความจริงที่มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบต่อเราทุกคนทุกปี และรายงานใหม่เหล่านี้ตอกย้ำว่าการผนวกความเสี่ยงและโอกาสด้านสภาพภูมิอากาศเข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจที่เจริญรุ่งเรืองอีกด้วย
“เราได้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์จากพืช การเปลี่ยนการขนส่งให้เป็นไฟฟ้า และการเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่เพียงช่วยให้เราลดการปล่อยมลพิษและต้นทุนในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย”
ที่มา: https://sustainabilitymag.com/net-zero/world-economic-forum-how-ceos-should-navigate-climate-risk