อัตราการปลอยก๊าซเรอนกระจก (Emission) เป็นตัวการหลัก ต่อการส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรนแรงมากขึ้นทั่วโลก หลายประเทศจึงต้องรีบดำเนนการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกร้อน
รายงานในปี 2024 ชี้ให้เห็นว่าประเทศสมาชิกกว่า 198 ประเทศที่ลงนามในการประชุมการประชุมระหว่างประเทศของสมาชิกในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP-Conference of the Parties) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC-United Nations Framework Convention on Climate Change) ที่มาเจรจาและหามาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกรอบงานของความรับผิดชอบที่กำหนดนโยบายและแผนการปล่อยก๊าซแห่งชาติ (Nationally Determined Contributions -NDCs) ที่จะต้องภายในต้นปี 2025 (พ.ศ. 2568) ก่อนการประชุม COP30 โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซให้ได้ 42% ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) และ 57% ภายในปี 2035 (พ.ศ.2578) เพื่อรักษาเป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิไว้ที่ 1.5°C ตามข้อตกลงปารีส
หากประเทศไม่สามารถเพิ่มความมุ่งมั่นใน NDCs และดำเนินการอย่างเร่งด่วน เราอาจเผชิญกับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น 2.6-3.1°C ภายในศตวรรษนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตมนุษยฺ์ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
ผลรายงานความแตกต่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2024 พบว่าส่งผลกระทบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ในหลาย ๆ ประเทศต้องเร่งดำเนินการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อพิจารณาและเสนอทางแก้ไขในการต่อสู่กับสภาวะโลกร้อน
เมื่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทั่วโลก รายงานความแตกต่างจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2024 พบว่าประเทศต่าง ๆ ต้องดำเนินการและพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้น โดยมีนัยสำคัญในครั้งถัดไปของ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด Nationally Determined Contributions (NDCs) ถ้าไม่อย่างนั้น เป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิที่ 1.5°C ภายใต้ ข้อตกลงปารีส จะกลายเป็นปัญหาที่เป็นไปไม่ได้ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า
รายงานฉบับนี้เป็นฉบับที่ 15 ในชุดรายงานที่รวบรวมข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลก เพื่อพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเสนอทางออกที่เป็นไปได้สำหรับความท้าทายในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
มีการพิจารณาว่าประเทศต่าง ๆ ต้องให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหนและต้องทำให้สำเร็จในรอบถัดไปของ Nationally Determined Contributions (NDCs) ที่จะต้องส่งภายในต้นปี 2025 ก่อนการประชุม COP30 โดยจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซให้ได้ 42% ภายในปี 2030 และ 57% ภายในปี 2035 เพื่อให้สามารถรักษาเป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิที่ 1.5°C ได้
หากประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถเพิ่มความมุ่งมั่นใน NDCs ใหม่และเริ่มดำเนินการในทันที จะทำให้เราอยู่ในเส้นทางที่จะต้องพบเจอกับอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นระหว่าง 2.6-3.1°C ตลอดศตวรรษนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้คน, โลก, และเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่จะกลับไปสู่เป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิที่ 1.5°C ถ้าเราหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, และป่าไม้ ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการที่จะทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริง NDCs จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเร่งด่วนจากการร่วมมือของรัฐบาลในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งต้องมีมาตรการที่เพิ่มผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การร่วมมือระหว่างประเทศในการปฏิรูประบบการเงินระดับโลก การกระทำที่มาจากภาคเอกชนที่เปรี่ยมไปด้วยพลัง และการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซที่ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยหกเท่า โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม G20 ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซมากที่สุด จะต้องเป็นผู้นำในการดำเนินการนี้
มาทบทวนต้นเหตุหลักของการทำให้โลกร้อน โดยพิจารณาจากอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปี 2023
ในปี 2023 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมีการจำแนกตามภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้:
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปี 2023 โดยแยกตามภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้
- 26% (15 กิกะตัน): ภาคพลังงาน
- 15% (9 กิกะตัน): ภาคขนส่ง
- 11% (6 กิกะตัน): อุตสาหกรรม
- 11% (6 กิกะตัน): เกษตรกรรม
- 10% (6 กิกะตัน): การผลิตเชื้อเพลิง
- 9% (5 กิกะตัน): กระบวนการอุตสาหกรรม
- 7% (4 กิกะตัน): การใช้ที่ดินและป่าไม้
- 6% (3 กิกะตัน): อาคาร
- 4% (2 กิกะตัน): ของเสียและอื่น ๆ
จากสถิติ ในปี 2023 ที่ผ่านมา พบว่า มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นถึง 57.1 กิกะตัน จึงต้องพยายามให้ลดการปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้น 7.5% ต่อปี จนถึง 2035 เพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่สูงขึ้นเกินกว่า 1.5°C
ทั้งนี้พบว่า การผูกมัดสัญญาปัจจุบันยังห่างไกลจากเป้าหมาย ทำให้อัตราที่ดีที่สุด อุณหภูมิสู่ภาวะโลกร้อนจะเพิ่มขึ้นราวอ 2.6°C ภายใน ศตวรรษนี้ ที่จะต้องมีการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แต่ก็ยังมีความหวัง โดยรายงานได้แนะนำเทคนิคที่ควบคุมอุณหภูมิไม่สูงเกินกว่า 1.5°C โดยการใช้เทคโนโลยีโฟโตวอลเทอิก (solar photovoltaic technologies) หรือการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และพลังงานลมเพิ่มขึ้น จึงสามารถลดการปล่อยก๊าซได้ 27% ในปี 2030 และ 38% ในปี 2035
ขณะที่แนวทางเกียวกับการการอนุรักษ์ป่าไม้ สามารถลดอุณหภูมิได้ประมาณ 20% ผ่านแนวทาง คือ เพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ไฟฟ้า และการเปลี่ยนเชื้อเพลิงในอาคาร ขนส่ง และอุตสาหกรรม
อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน ผู้อำนวยการบริหาร โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (Inger Andersen Executive Director United Nations Environment Programme -UNEP) ให้ความเห็นว่า การบรรลุเป้าหมาย จะต้องมีความร่วมมือจากรัฐบาลที่กำหนดนโยบาย มาตรการที่เพิ่มแรงจูงใจด้านประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และการลงทุนในการลดการปล่อยก๊าซต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 6เท่า พร้อมทั้งปรับโครงสร้างทางการเงินโลก รวมถึงมีการหารือกันอย่างเข้มแข็งกับภารเอกชน และสมาชิก G20 โดยเฉพาะประเทศที่ปล่อยก๊าซมากที่สุดต้องเป็นผู้นำในการดำเนินการนี้
“การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ต้องเกิดขึ้น และยิ่งเริ่มต้นได้เร็วเท่าไร ยิ่งดี ทุกองศาที่หลีกเลี่ยงได้มีความหมายในแง่ของชีวิตที่รอด เศรษฐกิจที่ป้องกัน ความเสียหายที่หลีกเลี่ยง ความหลากหลายทางชีวภาพที่รักษาไว้ และความสามารถในการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว”
ดังนั้น จึงต้องให้ทุกประเทศ ที่เข้าร่วมประชุม COP 29 ที่บาคู อาเซอร์ไบจาน เพิ่มวิธีการดำเนินการ NDCs อยเพื่อเดินหน้าสู่การรักษาอุณหภูมิไม่เกิน 1.5°C ภายในปี 2030
“ยิ่งเราเริ่มต้นได้เร็ว การมุ่งหน้าไปสู่อนาคตที่มีคาร์บอนต่ำได้เร็ว ก็ยิ่งจะถึงเป้าหมายเร็วขึ้น จะช่วยรักษาชีวิต ประหยัดเงิน และปกป้องระบบนิเวศของดาวเคราะห์ที่เราทุกคนพึ่งพา”
ข้อมูลอ้างอิงจาก UN – Emissions Gap Report 2024 และนำเสนอโดย Visual Capitalist
https://www.unep.org/resources/emissions-gap-report-2024