CLP Group นำทัพนวัตกรรมเครื่องจักรกลในงาน ‘Farm Expo2024’ ยกระดับวิถีการผลิตเกษตรกรไทย สู่นักธุรกิจเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ธีม “Planting the Future” คิดค้นนวัตกรรมการผลิต การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และแปรรูป ตอบโจทย์โลกอนาคต ลดโลกร้อนและคนมีสุขภาวะดี ฉายวิสัยทัศน์ 5 ปี “สวนพี่แดง” พี่เลี้ยง ศูนย์เรียนรู้ พลิกชีวิตเกษตรกรไทย สร้างผลผลิตพรีเมี่ยม ส่งมอบคุณค่าซอฟต์พาวเวอร์ไทยก้องโลก
เกษตรกรไทย สัดส่วน 60% ของประชากรไทย ที่ยังติดกับดักความยากจน ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปีที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรไทย มีรายได้เงินสดจากการเกษตรกเฉลี่ยประมาณ 206,310 บาทต่อปี เฉลี่ย 17,192 บาทต่อเดือน รายได้ส่วนใหญ่มาจากกการปลูกพืชสัดส่วน 80% การเลี้ยงสัตว์ 17.4 %
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564 พบว่าสัดส่วน 6.32% ของประชากรไทย อยู่ใต้เส้นความยากจน หมายความว่ามีรายได้ต่ำกว่า 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน ทางข้อมูลของธนาคารโลกในปี 2565 พบว่า สัดส่วน 79% ของคนยากจนในประเทศไทยยังคงอยู่ในพื้นที่ชนบท และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่สำคัญ ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการลดความยากจน แต่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าเกษตรกรบางส่วนอาจมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าเส้นอัตราความยากจน แต่ยังมีปัญหาต่างๆ เข้ามารุมเร้า เช่น หนี้สินสูง ค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ไปกู้เงินเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต และรายได้หลังการเก็บเกี่ยวไม่เพียงพอกับรายจ่าย ขาดทุนในการทำการเกษตร เพราะเผชิญกับความผันผวนหลากหลายประการ โดยเฉพาะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง จึงเกิดความไม่แน่นอนของรายได้จากการเกษตร จึงส่งผลต่อการยังติดกับดักความยากลำบากทางการเงิน
นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญคือการเข้าถึงเทคโนโลยีและการศึกษา เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ขาดองค์ความรู้ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ จึงไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้
การแก้ไขปัญหานี้ต้องการการร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร เพื่อสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม
ทางผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร จาก CLP Group ได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านเกษตรกร “Farm Expo 2024” งานแสดงนวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่อธุรกิจในร่มครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 ตุลาคม 2567 ณ ไบเทค บางนา ฮอลล์ EH98-99 เพื่อเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่งในการยกระดับ เกษกรไทย ก้าวสู่ ธุรกิจเกษตรยุคใหม่
วัชรา ลีโกมลชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท CLP Group ผู้พัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรทางการเกษตรที่เป็นบริษัทคนไทย โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนาการแปรรูปเมล็ดข้าว ได้นำทัพเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าโชว์ศักยภาพภายในงาน โดยมาตั้งชื่อว่า “Planting the Future” การเพาะปลูกเพื่ออนาคตของประเทศ เป็นการตอบโจทย์สิ่งที่ขาดหายไปของวงการธุรกิจข้าว ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ จะต้องมีการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการดำเนินงานหลังการเก็บเกียว (Post Harvest) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ การเก็บเกี่ยวร่วมกับนวัตกรรมและเทรนด์ใหม่ๆ ทางการเกษตรโดยไม่เพียงแต่จัดแสดงโชว์ แต่ต้องการสร้างรูปแบบการร่วมเรียนรู ้ และมีความสนุกในการร่วมกิจกรรม
ภายในบูทมีการจัดแสดงภายใต้ธีม “Revolutionizing Farm Business” ปฏิวัติเกษตรกรรมไทย โดย CLP มุ่งหวังมีส่วนช่วยยกระดับศักยภาพการผลิต และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย เปลี่ยนผ่านเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ มีองค์ความรู้ ในการพัฒนาการบริหารจัดการการ ยกระดับวิธีการทำเกษตรเพื่อก้าวสู่การเป็น “นักธุรกิจการเกษตร” สร้างรายได้มั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัว ก้าวไปสู่การต่อยอดอุตสาหกรรมการเกษตร ฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของสังคมไทย
CLP นำทัพนวัตกรรมเครื่องจักร
เพิ่มมูลค่าเกษตรเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากไทย
เป้าหมายการพัฒนาธุรกิจของ CLP ต้องการขับเคลื่อนนวัตกรรม ช่วยยกระดับภาคการผลิตตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงหลังการเก็บเกี่ยวให้กับเกษตรกรไทย ด้วยการเริ่มต้นตั้งแต่สร้างองค์ความเข้าใจ องค์ความรู้ ไปพร้อมกันกับการบริหารจัดการ เมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมจะทำให้การเพาะปลูกของเกษตรกรไทย ไม่หยุดแค่เพียงการขายวัตถุดิบ เพิ่มมูลค่า และการผลิตให้สอดคล้องกันกับความต้องการของตลาด ส่งมอบคุณค่าของวิถีการเกษตรไทย กลายเป็นจากเกษตรกรก้าวสูู่ผู้ประกอบการายย่อยที่มีอำนาจต่อรองในตลาด ทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับมภาคของไทยให้แข็งแรง เติบโตอย่างยั่งยืน
หลังจากวิจัยและพัฒนาโมเดลการพัฒนาเครื่องจักรทางการเกษตร เพื่อใช้ในการแปรรูปภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าวมายาวนานกว่า 20 ปี จนค้นพบเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสีข้าว ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาปรับปรุงคุณภาพการแปรรูปข้าวให้มีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เข้าไปช่วยสนับสนุนโครงการพัฒนาภาคการเกษตรโดยร่วมมือกันกับหน่วยงานภาครัฐมากกว่า 3 ปี เข้าไปช่วยพัฒนาเกษตรกรไทยแล้วกว่า 300 ราย เริ่มต้นที่โครงการนาแปลงใหญ่ จึงต้องการขยายเครือข่ายการพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนที่มีอยู่กว่า 8,000 กลุ่มทั่วประเทศ รวมถึงการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ สร้างโอกาสการยกระดับวิถีชีวิตเกษตรกรไทยให้มีขีดความสามารถการแข่งขัน
ไม่ขายแค่เครื่องจักร สร้างความไว้ใจ
เพื่อนคู่คิด ปั้นเกษตรกรสู่นักธุรกิจเน้นคุณค่า
โดยรูปแบบการเข้าไปทำงานร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ สนับสนุนสั่งซื้อเครื่องจักรผ่านโครงการต่างๆ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐ ทางธุรกิจ CLP เข้าไปให้บริการองค์ความรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ควบคู่กับการต่อยอดเป็นมูลค่าก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเฉพาะด้าน ที่ไม่ใช่แค่เพียงปลูกข้าวขายแบบในอดีต แต่สามารถทำได้หลากหลาย
สิ่งที่CLP แตกต่างจากเครื่องจักรกลการเกษตรราคาถูกที่ส่วนใหญ่มาจากจีนไม่ใช่เพียงเทคโนโลยีและนวัตกรรม แต่มีการพัฒนาเครื่องจักรให้สอดคล้องกับความต้องการ และรูปแบบสายพันธ์ุข้าว เช่น การสีข้าว ก็จะมีทีมเซลล์ เข้าไปช่วยให้บริการคำปรึกษา ให้ข้อมูล องค์ความรู้ สร้างความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์พูดคุย ให้เติบโตไปด้วยกัน
“นี่คือสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากสินค้าจีนราคาถูกที่เข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากในขณะนี้ เพราะเราร่วมคิดเป็น ‘เพื่อนคู่คิด’ กับเกษตรกรไทย หากโรงสีข้าวทำงานคนเดียวก็สีข้าวอย่างเดียวแล้วขาย ชาวนาก็ขายข้าว แต่หากเราเข้าไปช่วยในการรวมกลุ่ม ส่งมอบเครื่องสีข้าวที่ทำงานครบทั้งฟังฟ์ชั่น ตั้งแต่ต้นจนจบ มีเพียงคนยืนเฝ้าเครื่องอย่างเดียว และทุกชิ้นที่เป็นผลผลิตก็ขายได้ มีเมล็ดข้าวที่ได้คุณค่าตามความต้องการ แยกแกลบทุกอย่างเพื่อไปต่อยอดหรือขายเป็นพลังงานชีวมวล แต่ละชุมชนแต่ละท้องถิ่นมีข้าวแตกต่างสายพันธ์ุจึงต้องการเครื่องสีข้าว และอุปกรณ์รองรับที่ปรับให้เข้ากับสายพันธ์ุข้าวประจำท้องถิ่น เราไม่ได้ตั้งใจขายแล้วทิ้ง หรือ ขายของอย่างเดียว ”
ติวเข้ม เกษตรกร อัจฉริยะ
รับมือโลกผันผวน ตอบโจทย์ลูกค้าอุตสาหกรรม
ทั้งนี้เพราะเข้าใจถึงปัญหาของเกษตรกรไทย แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ ความสามารถในการทำเกษตร ที่ทุกคนมีความเก่งในตัวเอง แต่สิ่งสำคัญในการยกระดับสร้างรายได้อยู่ที่ การบริหารจัดการองค์ความรู้และข้อมูล จากหลากหลายด้าน โดยเฉพาะความซับซ้อนของสภาพอากาศรุนแรงขึ้น จึงต้องมีการจดบันทึก เพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง รวมถึงการต่อยอดจากการทำแบบเดิม ที่จำหน่ายภายหลังการเก็บเกี่ยว ปล่อยใหัโรงสีนำไปพัฒนาวัตถุดิบต่อยอด ควรจะก้าวเข้าสู่การยกระดับสินค้าหลากหลาย เพื่อส่งมอบให้กับอุตสาหกรรมสร้างมูลค่าให้กับสินค้า มีการศึกษาความต้องการตลาด เพื่อกลับมาพัฒนาคุณภาพสินค้า มีการวางแผนการบริหารจัดการ เข้าไปให้ความรู้ตั้งแต่การพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน การใช้เครื่องจักร จนถึงการพัฒนาคุณภาพข้าว โดยมีการส่งข้อมูลความรู้
“หากเกษตรกรเข้าใจห่วโซ่ซัพพลายเชนของสินค้าที่ผลิต จะมีส่วนช่วยให้เข้าใจสินค้าและวัตถุดิบต้นน้ำที่ผลิต สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าได้หลากหลาย จะทำให้ไม่ทำแบบเดิม แต่คิดต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม”
‘สวนพี่แดง’ ศูนย์เรียนรู้ นิเวศเกษตรไทย
พี่เลี้ยง ปลูกปัญญาเกษตร สิ่งแวดล้อม
วัชรา ยังกล่าวถึงแผนภายใน 5 ปีข้างหน้า ต้องการพัฒนาภาคการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาสังคม ไม่เพียงแค่เพียงส่งมอบเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในเครื่องจักร มีแนวทางการยกระดับเกษตรกรไทยด้วยการสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้” ครบวงจร ชื่อว่า “สวนพี่แดง” ที่อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา บนพื้นที่ 100 ไร่ เป็นพื้นที่อบรม ให้ความรู้ ผ่านการสื่อสารหลากหลาย พัฒนาเป็นระบบนิเวศด้านการเกษตร ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์ การสาธิตการเกษตรอัจฉริยะ และสมัยใหม่ มีวิธีการทำการเกษตรลดคาร์บอนในหลากหลายวิธี ที่มีการบริการจัดการวัตถุดิบ พัฒนาพลังงานทางเลือกในรูปแบบต่าๆง เช่น จากของเหลือใช้จากการเกษตร อาทิ เแกลบ เศษไม้ ใบไม้ เป็นพลังงานชีวมวล และใช้พลังงานโซล่าร์เซลล์ ที่พัฒนาเป็นพลังงานไฟฟ้า เชื่อมต่อกับเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่คิดค้นมาได้ เช่น เครื่องอบข้าว จากพลังานชีวมวล รวมถึงมีการเวิร์คช็อป
“ศูนย์เรียนรู้ สวนพี่แดง ซึ่งเป็นชื่อคุณพ่อในวัย 72 ปี ต้องการคืนสิ่งดีๆ และโอกาสให้กับสังคม มอบความรู้ หลังจากได้รับโอกาสในการพัฒนาธุรกิจเริ่มต้น ธุรกิจยานยนต์ ทำให้เติบโตนำเงินทุนมาพัฒนาขยายเป็นธุรกิจภาคการเกษตร จึงสร้างมาเป็นอุทยานการเรียนรู้ เพื่อให้ความรู้ผ่านนิทรรศการ และเวิร์คช็อป เริ่มต้นที่โชคชัย เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้งไม่มีอะไรมาก่อน และอากาศสวิงมาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยากในการทำเกษตร หากเราทำสำเร็จ ที่อื่นก็สามารถนำไปรับใช้ได้”
สวนพี่แดงต้องการร่วมขับเคลื่อนประเทศด้วยฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืน โดยวางเป้าหมายเข้าถึงคนทุกกลุ่ม โดยมี 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก ประกอบด้วย
1.เกษตรกร กระดูกสันหลังของชาติ ที่ทำให้เข้าใจ ภาพรวม ของการทำเกษตรอย่างถูกวิธี มีการต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
2.กลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่เข้ามาแสวงหาความรู้ สร้างทีมงานที่มีแนวคิดด้านการส่งเสริมความยั่งยืน
3.กลุ่มเด็กเยาวชน เพื่อปลูกฝัง คุณค่าด้านการทำการเกษตร รวมถึงการปลุกจิตสำนึกในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเติบโตเป็นผู้นำรุ่นใหม่ ด้านความยั่งยืน และกลับมาช่วยพัฒนาบ้านเกิด
“ศูนย์การเรียนรู้เป็นที่มอบองค์ความรู้ด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนแบบครบวงจร ให้กับทุกภาคส่วนที่ต้องการ ทั้งภาคธุรกิจ มีการพัฒนามิวเซียม เพราะต้องการสร้าง แรงบันดาลใจให้กับคน ได้ศึกษาหาความรู้ด้านการเกษตรที่มีหลากหลาย ไม่ใช่เพียงพอบรมสัมมนา แต่มีวิธีการและรูปแบบการสื่อสาร และการปฏิบัติหลากหลายด้าน เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์การเกษตรทั้งหมด รวมถึงการคิดค้นการทำนาแบบใหม่ที่ช่วยลดมีเทน เพื่อให้คนในเมืองได้เข้าใจรวมถึงเด็กในชุมชน เพื่อที่จะเติบโตมามองที่ชาวนาหรือชาวไร่ไม่ได้เป็นอาชีพลำบากยากจน แต่เป็นผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ”
ความยั่งยืน เริ่มต้นที่ ‘สุขภาวะ’
ปิดท้าย วิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน ความหมายที่แท้จริง คือการมีสุขภาวะดี (Well-Being) ที่ไม่ใช่เพียงแค่สังคม แต่คือสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คือความร่วมมือผสมผสานกัน โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้ามาช่วยบริหารจัดการที่จะส่งผลทำให้การพัฒนารวดเร็วขึ้น เช่น การเสริมแร่ธาตุอาหาร เพื่อเร่งในการเติบโต โดยการวางสมดุล ธุรกิจ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ไม่รุกล้ำธรรมชาติ เบียดเบียนสังคม และมีผลผลิตที่ดี เพื่อสร้างรายได้ในการเติบโตทางเศรษฐกิจ
“หาสมดุล 3 แกน โลกจะเดินไปข้างหน้ากันได้อย่างมั่นคง รวมถึงการทำESG ที่เริ่มมานาน เพราะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้คือความยั่งยืนที่จะต้องอยู่รอดได้ในยุคต่อไป จึงมีการพัฒนาเครื่องจักรพลังงานสะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ส่งผลกระทบเป็นมลพิษต่อชุมชน และข่วยพัฒนาองค์ความรู้ให้กับสังคม จึงเติบโตได้ในระยะยาว”
เป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจต้องการที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยการผลักดันให้ภาคการเกษตรของไทย มีพื้นฐานที่แข็งแรงเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพสร้างมูลค่า เป็นที่ต้องการของตลาด โดยยกระดับเป็นพัฒนาสินค้าหลากหลายไม่ใช่เพียงสินค้าต้นน้ำเป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวสาร แค่มีการแปรรูป ต่อยอดได้หลากหลายเป็นสินค้าพรีเมี่ยม ที่ไม่ต้องแข่งขันในตลาดแมสสินค้าปริมาณมาก ทำให้ถูกกดราคา โดยการนำเสนอควบคุ่กับวัฒนธรรม ความอบอุ่น นี่คือความแตกต่างที่ทำให้คนอิ่มเอม เพื่อได้มาอยู่ท่ามกลางความเป็นไทย จึงถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ขับเคลื่อนควบคู่กับเกษตรไทย