117 ปี SCB วางรากแก้วยั่งยืนเศรษฐกิจไทย สู่หมุดหมายใบโพธิ์อยู่อย่างยั่งยืน 200 ปี

by ESGuniverse, 12 กันยายน 2567

จากธนาคารเพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย แบงก์สยามกัมมาจล ทุน จึงถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางยุคล่าอาณานิคม ที่มีธนาคารต่างชาติถึง 3 แห่งครองตลาด ก้าวผ่าน 117 ปี กำลังก้าวข้ามความท้าทายเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจใหม่ ฝ่ายุคโลกรวน และดิจิทัลปั่นป่วน ก้าวสู่หมุดหมายแบงก์ใบโพธิ์ที่สร้างนิเวศเศรษฐกิจอยู่คู่โลกไปยืนยาวสู่ 200 ปี

 

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ (Siam Commercial Bank of Thailand) เป็นธนาคารไทยแห่งแรก ก่อตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาต ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มต้นก่อตั้งขึ้นอย่างลับ ๆ ในนาม ‘บุคคลัภย์’ (Book Club) ในวันที่ 4 ต.ค. พ.ศ. 2447 เป็นการสับขาหลอก ของการเปิดธนาคารไทยแข่งขันกับต่างชาติ ท่ามกลางยุคล่าอาณานิคมฝั่งตะวันตก บุกมาประชิดไทย ทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส เปิดธนาคารในไทยถึง 3 ราย โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระบาทสมเด็จรัชกาลที่ 5 ทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารของชาติ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ

หลังจากธนาคารเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ จึงเริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 4 ปีต่อมา เปิดตัวสาขาแรกอย่างเป็นทางการ ‘บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจล ทุน จำกัด’ ประกอบธุรกิจธนาคารแห่งแรกของคนไทย เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2449 สาขาแรกคือสาขาตลาดน้อย แต่ตั้งอยู่แถวบ้านหม้อ มีเป้าหมายการก่อตั้งก็เพื่อเป็นที่เก็บรับฝากเงินของคนไทย เป็นการรากฐานสร้างความยั่งยืน และสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศในระยะยาว และเป็นธนาคารที่มีบทบาทสร้างความยินดีอยู่ดีสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

“เจตนารมณ์ของการก่อตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ในช่วงแรกมีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนของคน และของประเทศ เพราะทำให้คนไทยระดับภาคครัวเรือนสามารถเข้าถึงธนาคาร ทำให้มีโอกาสเติบโตสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ”

ธุรกิจในปัจจุบันกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ความท้าทายใหม่ที่สำคัญต่อความยั่งยืนในศตวรรษใหม่ ต้องมีโจทย์ท้าทายหลากหลายและซับซ้อน กระทบต่อหมุดหมายความยั่งยืนธนาคารแห่งแรกของคนไทย ตั้งแต่ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจตกต่ำ การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว ที่เป็นทั้งภัยคุกคามและโอกาสในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ จะมียุทธวิธีรับมืออย่างไร ให้ยังใบโพธิ์ยังเป็นรากแก้วแข็งแกร่ง แตกใบเติบโตสู่องค์กร 200 ปี

117 ปี สู่ยุคเปลี่ยนผ่าน
ความท้าทายจาก ดิจิทัลป่วน - โลกรวน

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เล่าถึงยุคก่อตั้งธนาคารแห่งแรกของไทยที่เติบโตอายุยืนยาวอยู่คู่สังคมไทยเป็นเวลากว่า 117 ปี มีบทบาทสำคัญในการให้บริการทางการเงินในประเทศไทยผ่านวัฎจักรเศรษฐกิจมากมาย จนเกิดความเชี่ยวชาญการบริการทางการเงินครบวงจรและหลากหลาย

3 เสาหลัก รากแก้วความยั่งยืน คู่สังคมไทย 117 ปี

ความยั่งยืนในบริบทของไทยพาณิชย์ มี 3 เสาหลักหลัก ที่สะท้อนความยังยืน ประกอบด้วย

1.ประวัติศาสตร์อันยาวนาน 117ปี ถือว่าเป็นธนาคารแห่งแรกของคนไทย เปิดขึ้นเป็นธนาคารแห่งที่ 4 หากเทียบกับต่างชาติ จึงเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ

2.ขนาดธุรกิจที่กลายเป็นสถาบันการเงินที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่กว่า 18 ล้านราย

3.ยุทธวิธีของธนาคารไทยพาณิชย์ในการบรรลุเป้าประสงค์ของความยั่งยืน เป็นสิ่งที่ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสถาบันสถาบันแรก ๆ แล้วก็ยังเป็นธนาคารเดียวของไทย ที่มีพันธกิจในการดําเนินการของการสร้างความยั่งยืนที่ไม่เหมือนคนอื่น ด้วยการมาตรวัดที่เข้มข้น

จากธนาคารพาณิชย์ในยุคเริ่มต้นที่วางเป้าหมายด้านความยั่งยืนตั้งแต่วันแรก ของการก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 กำเนิดธนาคารเพื่อเป็นที่เก็บรับฝากเงินของคนไทย วางรากฐานสร้างความยั่งยืน และสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศในระยะยาว และเป็นธนาคารที่มีบทบาทสร้างความอยู่ดีมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

“เจตนารมณ์ของการก่อตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ในช่วงแรกมีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนของคน และของประเทศ เพราะทำให้คนไทยระดับภาคครัวเรือนสามารถเข้าถึงธนาคาร ธุรกรรมทางการเงิน ทำให้มีโอกาสเติบโตสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ”

เปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจสีเขียว
สร้างนิเวศซัพพลายเชนแห่งความยั่งยืน

กฤษณ์ ยังได้กล่าวถึงแผนการขับเคลื่อนธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อภาวะโลกร้อนอันเป็นผลต่อเนื่องมาถึงการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำด้วยการปรับนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน จึงเป็นช่วงของการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจทั้งระบบกำลังปรับตัวไปพร้อม ๆ กัน แปลงความท้าทายเป็นโอกาสที่จะสร้างการขยายตัวให้เศรษฐกิจครั้งใหม่ได้อย่างมหาศาล จึงจะก้าวไปสู่ความยั่งยืน ทั้งระบบเศรษฐกิจ

“เพราะความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือกแต่คือทางรอด” ซีอีโอ ธนาคารไทยพาณิชย์ ตอกย้ำประโยคที่พูดกันจนชินหู แต่เป็นความจริงที่โลกธุรกิจจะต้องมุ่งขับเคลื่อนไป

สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของเอสซีบี คือ การหลอมรวมทักษะของคนให้ทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีดิจิทัล Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคารซึ่งครอบคลุมถึงมิติด้านความยั่งยืนที่มีการดำเนินงานด้านนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมาตลอด 3 ปี โดยมุ่งมั่นเป็นธนาคารชั้นนำแห่งความยั่งยืน ธนาคารจึงได้กำหนดแนวคิด ‘อยู่ อย่าง ยั่งยืน’ (Live Sustainably) เพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่จะนำการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกคน

อยู่ อย่าง ยั่งยืน วิถี SCB
แรงกระเพื่อมพอร์ตสินเชื่อคาร์บอนต่ำ

ธนาคารมีกรอบพันธกิจความยั่งยืน จากแนวคิด ‘อยู่ อย่าง ยั่งยืน’ ของธนาคารที่จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางเดียวกันทุกมิติ ผสานศักยภาพเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมขับเคลื่อนธุรกิจและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนทั้งในระดับธนาคาร ลูกค้า และสังคม มองความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องให้ความสำคัญ

ภายใต้แนวคิด ‘อยู่ อย่าง ยั่งยืน’ เพราะเชื่อว่า มิติความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องร่วมกันตั้งเป้าหมาย สร้างแรงกระเพื่อม ประสานความร่วมมือ เพื่อสร้างอนาคตให้ทุกคนได้อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน

โดยธนาคารมีบทบาทการสนับสนุนความยั่งยืนด้วยการจัดสรรเงินทุนให้แก่ลูกค้า(Sustainable finance) กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ (Responsible lending) พร้อมนำความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคารเข้าสนับสนุนการดำเนินงานความยั่งยืนทุกมิติ

ทั้งนี้ ธนาคารได้วางเป้าหมายสู่ความยั่งยืนใน 3 ระยะ ประกอบด้วย

1.สนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนจำนวน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025 โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.11 แสนล้านบาท (โดยนับตั้งแต่ปี 2023)

2.ปรับการดำเนินงานองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030

3.เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science-Based Targets Initiative (SBTi) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาทสู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียว

“เป้าหมาย Net Zero ถือเป็นความท้าทาย จึงต้องพร้อมเป็นต้นแบบส่งต่อความยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ควบคู่กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในสังคม เพื่อให้คนไทยได้อยู่ อย่าง ยั่งยืน ต้องตอบโจทย์การลดคาร์บอน และก้าวสู่ธุรกิจสีเขียวในทุก segment เดินไปด้วยกันกับลูกค้า โดยเริ่มต้นจากปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเพื่อมองเป้าหมายความยั่งยืนร่วมกัน”

กลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนคือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เกิดการตระหนักรู้ถึงการทำธุรกิจปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ฺ มีการติดตามวัดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ทำให้รายใหญ่ที่มีความพร้อมช่วยซัพพลายเชนในเครือข่ายที่ทำธุรกิจให้เกิดความพร้อมไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว เดินไปสู่ความยั่งยืน

นิเวศยั่งยืน จากธุรกิจคืนสู่สังคม

สิ่งสำคัญที่ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ อยู่ยืนยาวคู่สังคมไทยเป็นระยะเวลา 117 ปี เกิดจากการวางพันธกิจที่ชัดเจนในการมีส่วนขับเคลื่อนเเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ โดยการเป็นธนาคารที่มีความเข้มแข็ง พร้อมกันกับวางระบบนิเวศความยั่งยืน ใส่ใจดูแลสังคมและผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)


“ถ้าเราเข้มแข็งคนเดียวแต่ระบบนิเวศรอบตัวเราไม่เข้มแข็งก็ไม่สามารถที่จะไปต่อได้ ธนาคารจึงทำธุรกิจควบคู่กับการแบ่งปัน ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาด้านสังคมในหลากหลายมิติ ผ่านการดำเนินโครงการรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) อาทิ การพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ พัฒนาแหล่งน้ำ แบ่งปันองค์ความรู้เปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมชนบท”


S C B อีกร้อยปีธนาคารเพื่ออนาคตลูกหลาน

ความยั่งยืนที่พร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าอีก 100 ปี หรือ ครบสองร้อยปี เพื่อเป็นธนาคารที่สร้างอนาคตยั่งยืนให้กับลูกหลานและธนาคารของประเทศไทย

“กว่าหนึ่งศตวรรษที่ธนาคารไทยพาณิชย์ธนาคารแห่งแรกของคนไทยมุ่งมั่นดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมเราส่งเสริมความยั่งยืนในประเทศไทย เพื่อสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน นี่คือภารกิจในการสร้างองค์กรแห่งนี้ให้อยู่คู่คนไทยไปอีกร้อยปีข้างหน้านั้น”

ด้วยหลักการ 3 เสาหลัก S C B ประกอบด้วย

S -การสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable banking) ธนาคารหนุนลูกค้าทุกกลุ่มให้สามารถเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ และโซลูชั่นทางการเงินที่ยั่งยืน โดยการสนับสนุนลูกค้าลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจกับคู่ค้า และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการเสริมโอกาสทางธุรกิจ ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในการสร้างสรรค์และพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

C -สร้างองค์กรต้นแบบแห่งความยั่งยืน (Corporate practice excellence) มุ่งเน้นการนำไทยพาณิชย์ให้เป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนในทุกมิติ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และได้กำหนดเป้าหมาย Net Zero 2030 จากการดำเนินงานภายใน ทั้งทางด้านการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในองค์กรให้เป็นระบบประหยัดพลังงาน และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด นอกจากนี้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้วยการสร้างวัฒนธรรมความยั่งยืนภายในองค์กร พร้อมปลูกฝัง DNA ความยั่งยืนให้พนักงานธนาคารทุกคนด้วยทักษะและหลักสูตรต่างๆ ธนาคารมุ่งมั่นสร้าง อนาคตที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นภายในธนาคารก่อนดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล สร้างวัฒนธรรมองค์กร พร้อมปลูกฝัง DNA และทักษะด้านความยั่งยืนให้พนักงานธนาคารทุกคน เข้าไปช่วยเหลือลูกค้า

B -ยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Better society) การพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้นเป็นหนึ่งในความยั่งยืนที่ธนาคารให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง และได้ร่วมช่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่เยาวชน ชุมชน และสังคมไทย มาเป็นเวลามากกว่า 3 ทศวรรษ ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ ที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสำหรับโลกอนาคต ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาเยาวชน ผสานด้วยเทคโนโลยีของธนาคารที่เข้าไปร่วมสร้างระบบนิเวศทางด้านการเงินและดิจิทัล มอบองค์ความรู้และส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีให้ผู้คนในรูปแบบที่เป็นไปได้ อาทิ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นโครงการ Smart University และ Smart Hospital โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ แล้วกว่า 400,000 ราย เพราะการสร้างสังคมที่ดี คือ รากฐานของ ‘อนาคตที่ยั่งยืน’ จึงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนในสังคม พร้อมเสริมสร้างพลังคนรุ่นใหม่เพื่ออนาคต และปลูกฝังองค์ความรู้ด้านการเงินและดิจิทัล

“ตอบโจทย์ความยั่งยืนของประเทศ พร้อมกันกับธนาคารไทยพาณิชย์ สร้างองค์กรที่มีความรับผิดชอบ เป็นต้นแบบที่ดี ในการตอบแทนสังคมยั่งยืน จึงเกิดระบบนิเวศแห่งความยั่งยืน ที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่สร้างสมดุลของการเติบโตในเรื่องธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรให้กับลูกค้าจับมือก้าวข้ามความความท้าทายในเรื่อง Climate change”