ตามรอยเส้นทาง ผู้นำบริหารกองทุน กบข. ปักหมุดทุนโลก เปลี่ยนทิศทางวิถีทุนวัดกำไรยั่งยืน 5 ปี วางโครงสร้างรากฐานวัดผลกิจการยั่งยืน ผ่าน่กลยุทธ์ 3 ขั้นตอน เผยเทคนิคดีลปิดเสี่ยงธุรกิจฟอกเขียว ก่อนส่งไม้ต่อเลขากบข.คนใหม่ ลงลึกมาตรฐานเฉพาะกบข. สู่โลกบอล วัดความยั่งยืนเป็นรูปธรรม
หนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะการเปลี่ยนทิศทางโลกไปสู่การพัฒนายั่งยืนได้ หลังวิถีทุนนิยม ถูกตั้งคำถาม ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่ผ่านมา พบว่า ยิ่งเศรษฐกิจเติบโต แต่กลับมีสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้น เกิดการใช้แรงงานไม่ถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน วิถีทุน ภาคธุรกิจ จึงถูกมองว่า หวังผลกำไรระยะสั้น โดยขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือจากนักลงทุน
กองทุนเพื่อการลงทุน สถาบันด้านการลงทุน ที่ต้องการได้รับการยอมรับ น่าเชื่อถือ และให้ผลตอบแทนระยะยาว สร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิก จึงต้องวางรากฐานการลงทุนเพื่อความยั่งยืน
ทิศทางการลงทุนแบบESG มีอิทธิพลในตลาดการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ผลสำรวจนักลงทุนหลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ระบุว่า นักลงทุนบุคคล และนักลงทุนสถาบัน ต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนแบบยั่งยืน (หรือ ลงทุนธุรกิจที่มีหลักการ ESG) สัดส่วน 80% มีการจัดสรรเงินลงทุนกับธุรกิจตามหลัก ESG
แม้กระทั่ง ผู้แนะนำทางการเงินและการลงทุน หรือแม้แต่ผู้ลงทุนด้วยตัวเองก็มุ่งเน้นหุ้นกองทุนแบบ ESG ที่มีทิศทางการเติบโตยั่งยืน
นั่นทำให้เกิดการจัดทำดัชนีความยั่งยืน กับแนวคิด ESG ธุรกิจที่ได้รับการยอมรับดัชนีจะได้รับความสนใจจากนักกลงทุนมากขึ้น บทสะท้อนถึงการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคหน้า
เช่นเดียวกันกับ การลงทุนในพอร์ตกบข. จึงต้องสอดคล้องกับทิศทางการคัดเลือกลงทุนในหุ้น ESG และแนวคิดความยั่งยืน
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นองค์กรที่ดูแลกองทุนสะสมสำหรับสมาชิกข้าราชการที่มุ่งเน้นความมั่นคงเป็นหลัก ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2540 มีพันธกิจในการบริหารกองทุนซึ่งมาจากเงินออกมของสมาชิกข้าราชการ เงินสมทบและเงินชดเชยจากบำนาญรัฐ และ ผลประโยชน์จากากรลงทุน ปัจจุบันมีการลงทุนต่างประเทศ 60% มูลค่ากองทุนสะสมอยู่ที่ 1.28ล้านล้านบาท จากสมาชิกข้าราชการ 1.19ล้านราย
ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. (ซึ่งทำหน้าที่บริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) ระบุถึงจุดเริ่มต้นวาวางยุทธศาสตร์มุ่งเน้นการลงทุนยั่งยืน สร้างผลตอบแทนจากกองทุนระยะยาว ลดความเสี่ยง และเพื่อมีภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างชื่อเสียงในกลุ่มนักลงทุน จึงนำหลักการการลงทุนสอดคล้องกับ ESG มาใช้ตั้งแต่ปี 2018 (พ.ศ.2561) มีการจัดกระบวนการการประเมินให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล หลอมรวมกรอบการทำESG และ SDGs จากหลายสถาบัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเข้าไปลงทุนสร้างผลตอบแทนในระยะยาว มีความมั่นคงให้กับกองทุน ทำให้กบข. เป็นผู้นำด้านกองทุน ESG 100% สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนทั่วโลก 80% ต้องเป็นการลงทุนด้านESG มีรูปแบบการลงทุนยั่งยืน
“จุดยืนของกบข. มีความเชื่ออย่างจริงใจว่าการลงทุน ที่ทําลายสิ่งแวดล้อมไปแล้วเอากําไรไปได้ สุดท้ายก็จะหาการลงทุนที่ดีไม่ได้ เพราะคุณทําลายหมดแล้ว เราจึงมุ่งเน้นลงทุนทั่วโลกระยะยาว ESG ไม่ใช่เรื่องแค่สร้างภาพ ไม่ใช่การประชาสัมพันธ์ หรือ CSR เน้นความจริง มีการจัดทำกรอบการทำงานทั้งกระบวนการ 100% ESG “
หลังจากเริ่มแนวคิดการลงทุนระยะยาว ทางกบข. ก็มีการจัดทำกรอบการทำงาน (Framework) ให้ชัดเจนในทุกกระบวนการลงทุน ตั้งแต่ก่อนลงทุุน ระหว่างลงทุน มีการทำงานชัดเจนในทุกระบวนการ สร้างหลักเกณฑ์วิเคราะห์ รูปแบบการประเมิน ตีมูลค่า หุ้นยั่งยืน มีองค์ประกอบการพิจารณาและบริหารจัดการขับเคลื่อนการลงทุนกับพันธมิตรนักลงทุน นักธุรกิจ และกิจการทั่วโลกให้ร่วมมือกัน
“ทิศทางการวางรากฐานการลงทุนที่นำพอร์ตมูลค่า 1.28 ล้านล้านบาท มุ่งเน้นการวางรากฐาน ESG ตั้งแต่ปี 2018 ประกาศจุดยืนว่าเราจะต้องเป็นกองทุน “ผู้นำการลงทุนด้านกองทุน ESG ( Leaders in ESG Investing) และการเชื่อมรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนในประเทศไทย (Initiative ) เพื่อสนับสนุนภาคการเงินให้มีระบบนิเวศ(Ecosystem) ที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนการลงทุนยั่งยืนในระดับโลก”
ทั้งนี้กระบวนการจัดรูปแบบการลงทุน กบข. ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ เพราะต้องรวบรวมวิธีการทำงานจากหลากหลายสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับสากล 3-4 แห่ง ผสมผสานสร้างหลักการ การลงทุนยั่งยืนมาตรฐานยอมรับระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น OECD, องค์การสหประชาชาติ (UN), ธนาคารโลก ( World Bank), PRI และ UNDP รวมถึง MSCI มีการพัฒนา ESG การกำกับดูแลรับผิดชอบการลงทุน (responsible Business conduct) ของ OECD” และเกณฑ์เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs) 17 ข้อ รวมถึงหลักมนุษยชน (Human right)
“ใช้เวลาทําความเข้าใจเฟรมเวิร์กเพื่อไม่ให้เราหลุดคอนเซ็ปต์ที่ดีของการเป็นนักลงทุนจริง ไม่คิดเองเออเอง มีมาตรฐานวิธีการจัดการลงทุนไว้เรียบร้อย ทำให้มีพื้นฐานของความเป็นนักลงทุนที่มีความรับผิดชอบอย่างจริงจัง มีการผสมผสานหลักเกณฑ์การลงทุนระยะยาว (ESG Integration) เข้าสู่ระบบ มีเกณฑ์ การลงทุนนักลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ผลตอบแทนระยะยาวชัดเจน สอดคล้องตามกระบวนการลงทุนยั่งยืนสากลจากหลากหลายกระบวนการESG Integration ที่ทำให้กองทุน กบข. มั่นใจว่ามีพอร์ตการลงทุน ESG 100% “
สิ่งแรกของแนวทางการทำงานด้าน ESG ลำดับแรก คือ การคัดเลือกผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ความสามารถด้าน ESG และสามารถตอบคำถามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ESG ในการลงทุน มีวิธีการอย่างไร มีหลักเกณฑ์เลือกอย่างไร
ส่งต่อการบ้าน โจทย์ท้าทายเลขากบข.คนใหม่
หลังจากดร.ศิริกัญญา ได้วางโครงสร้าง กองทุนกบข.มุ่งเน้นการวางรากฐานการลงทุนด้าน ESG มายาวนานกว่า 5 ปีจนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดลงทุน (ESG Leader) ที่สามารถวางรูปแบบการลงทุนยั่งยืน ซึ่งได้หมดวาระลงในสิ้นปี 31 ธันวาคม 2566 เลขาคนใหม่ ดร.ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนการลงทุนกองทุน กบข.ตามหลักการ ESG ในปี 2567
ดร.ศิริกัญญากล่าวว่า การลงทุนESG ยังคงต้องการการผลักดันและสร้างหลักเกณฑ์การเลือกลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่อง ในเชิงลึกที่มีหลักวิทยาศาสตร์พิสูจน์มากขึ้น นี่คือสิ่งที่ท้าทาย ในการออกแบบหลอมรวม ทุกหัวข้อที่นักลงทุนให้ความใส่ใจเกี่ยวกับESG ให้สอดคล้องกับหลักการสากล ่อาทิ การแก้ไขสภาวะภูมิอากาศ ลดโลกร้อนได้กี่เปอร์เซ็นต์ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการพิสูจน์ให้ชัดเจน
“ถึงแม้ในปัจจุบันได้มีองค์กรเอกชนได้จัดทำ ESG Score มาขายเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่มีมาตรฐานหนึ่งเดียวที่ชัดเจน สิ่งที่ทำได้ตอนนี้ คือการขับเคลื่อนการลงทุนไปในทิศทางเพื่อความยั่งยืน”
การลงทุนESG เป็นสิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดสร้างมาตรฐานการออกแบบธุรกิจใหม่ให้กับโลก และจะกลายเป็นวิถีชีวิตที่จะอยู่กับโลกตลอดไป สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุต่ำกว่า 30 หรือ 20 ต้นๆ ลงมาล้วนมีความห่วงใยในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กำหนดทิศทางธุรกิจจากเสียงผู้บริโภค
3 บันได ลงทุน ESG 100%
สำหรับขั้นตอนการการลงทุนอย่างยั่งยืนแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ก่อนการลงทุน (Before Investment) และระหว่างการลงทุน ( During Investment) และหลังการลงทุน (After Investment)
ก่อนการลงทุน
มีการเริ่มต้นตั้งแต่การวจัดวางหลักเกณฑ์ก่อนการลงทุน จะต้องมีการทำความเข้าใจ บริษัทจัดการประเด็น ESG อย่งไร (Due Diligence) และมีการ มีการคัดสรรผู้จัดการกองทุน, หลักเกณฑ์การประเมิน (ESG Score ) ประเมินบริษัททำเรื่องESG ได้ดีแค่ไหน คัดเลือกกิจการที่เข้าไปลงทุน
การคัดเลือกผู้จัดการกองทุน มีการจ้างที่ปรึกษาทั้งในและต่างประเทศกำหนดอำนาจทั่วไป (Mandate) ให้นำESG เข้ามาสู่กระบวนการคัดเลือกในกิจการที่เข้าไปลงทุน
“มีการวิเคราะห์ ประเด็น ESG ตามบริบทความเสี่ยงเพื่อการลงทุน มีการตีมูลค่าสินทรัพย์การลงทุน (Evaluation ) มีหลักเกณฑ์การประเมินไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือตราสารหนี้ ที่ยกระดับจากเดิมวิเคราะห์ ผลประกอบการทางการเงิน สร้างผลตอบแทนทางกำไร เมื่อเพิ่มหลักเณฑ์ ESG นำประเด็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลมาตีมูลค่าธุรกิจและการลงทุน “
“ความยากและท้าทายอยู่ตรงที่ จะต้องคิดสูตรในการประเมินของกบข. ให้สอคคล้องกับหลักมาตรฐานโลกจากทุกสถาบัน”
สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินการลงทุนมีหลักเกณฑ์ที่ตรวจสอบ แบ่งแยก ธุรกิจESG ที่ทำให้วางสมดุล และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจสีเขียว คือ
-เป็นธุรกิจสีเขียว ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทน ทำกำไรในระยะยาว เช่น ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า เป็นธุรกิจที่ระยะสั้นยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทนทำกำไรได้ แต่ในระยะยาวตลาดจะขยายและมูลค่าสูงแทนที่ตลาดรถยนต์สันดาป จะยินยอม (Compromise) ยอมรับผลตอบแทนระยะสั้น เพื่อมองเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
-จัดทำการประเมินการสร้างการลงทุนที่จะสร้างผลกำไรคืนกลับจากESG เช่น การขับเคลื่อนการลงทุนกิจการที่ทำให้คาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) จะส่งผลตอบแทนคืนกลับมาได้อย่างไร จะต้องมีหลักการคำนวณให้ชัดเจน รวมถึง การสนับสนุนหลักการด้านมนุษยชน จะดีต่อกิจการอย่างไร ที่จะต้องมีการวัดเป็นคะแนน (Score) ซึ่งในรายละเอียดยังมีประเด็นที่ต้องจัดทำในเชิงลึกต่อเนื่อง เพื่อสร้างมาตรฐานในอนาคต เพราะมีการประเมินลงลึกไปถึงวัตถุดิบ และห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด (Value Chain)
“นักลงทุนสถาบัน จะต้องอ่านค่าผลการดำเนินงาน ที่มีการวัดในเชิงมูลค่าได้ทุกข้อกำหนด ซึ่งการลงทุนESG ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับค่า Performance แต่สิ่งที่เป็นการบ้านที่ต้องเดินหน้าคิดต่อ คือการ หาทางออก เกี่ยวกับหลักการประเมิน ESG ในเชิงลึกในกิจกรรมที่ทำ เช่น หากให้น้ำหนักกับการลดคาร์บอนในแบบเดียวกัน แต่บริษัทในเครือกลับมีหลักเกณฑ์ตีมูลค่าที่ไม่เหมือนกัน ยังมีข้อแตกต่างกันอยู่ค่อนข้างสูง และจะต้องลงลึกในรายละเอียด ”
ระหว่างการลงทุน
จะต้องมีการสื่อสารและติดตามการดำเนินงานด้านESG ของบริษัท และผลักดันให้บริษัึทจัดการประเด็นESG อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ หากระหว่างการลงทุนในกิจการ พบว่ามีประเด็นที่เป็นข้อกังวลจากสาธารณะเกี่ยวกับESG ในด้านลบ จะต้องใช้เกณฑ์เหล่านี้กลับไปสอบถามธุรกิจ เพื่อให้อธิบายทำความเข้าใจ
สิ่งที่จะทำปกป้องการฟอกเขียวได้คือการประเมินกรอบด้านทั้ง ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ มีการผลักดันESG จะมีความชัดเจนและตรวจสอบได้ เพราะมีกลุ่มนักลงทุน 90% ยังไม่เชื่อเกี่ยวกับการดำเนินการESG ทำจริง ดังนั้นการทำเนินการในรายละเอียด จึงช่วยในการพิสูจน์
“จะต้องเข้าไปดูทั้งต้นน้ำยันปลายน้ำ ในกิจการ ในมาตรฐานนักลงทุน สมมุติว่ามีบริษัทหนึ่ง ขายเสื้อผ้าราคาถูกแล้วขายดีมากเลย แต่ว่ามีประเด็นโรงงานผลิตอยู่ในอุยก็ต้องหารือก้นตลอด สอบถามมีการใช้แรงงานต้นทุนถูก แรงงานทาส สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษชนหรือไม่ มีการซื้อวัตถุดิบจากโรงงานที่ใช้แรงงานทาสหรือไม่ ไม่สามารถหลับตาข้างเดียวได้ มีการปรับปรุงพัฒนาตาม ESG ทุกกระบวนการ”
หลักเกณฑ์และเป้าหมายการลงทุน ESG เปิดขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนด้านควาามยั่งยืน จึงเชื่อในการเจรจาสร้างความเข้าใจ แสวงหาความร่วมมือ จึงสามารถเปลี่ยนแปลงตลาด ผ่านการช่วยเหลือ ยกระดับซัพพลายเชน ไปสู่มาตรฐานสากลได้ โดยไม่มีการถอนการลงทุน แต่จะมีการปรับประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เป็นกังวลก็ควรเข้าไปสร้างความร่วมมือ(Colaborative Engagement) ผ่านหลากหลายช่องทาง เพื่อมองเป้าหมายความยั่งยืน
เป้าหมายของการลงทุน ESG เพื่อต้องการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนทั่วโลก จึงไม่ต้องการลงโทษกิจการที่ไม่สอดคล้อง หากมีประเด็นความเสี่ยงจะนัดหารือ จากพื้นฐานหลักคิดที่มองว่าทุกกิจการอยากเป็นกิจการที่ดี ไม่ต้องการเป็นกิจการที่ไม่ดี แต่เมื่อมีประเด็น จึงต้องเกิดการเจรจา หารือ ปรับความเข้าใจ ไม่ถึงจุดที่ต้องถอนการลงทุน เพราะถ้ามีการCommite (ตอบตกลง) ซึ่งต้องเข้าใจข้อจำกัดของธุรกิจที่ต้องการต้นทุนต่ำ ใช้แรงงานต่ำ ขณะเดียวกันต้องยกระดับการปรับตัวไปสู่การสร้างมาตรฐานพื้นฐานที่ธุรกิจพึงมี รวมถึงสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้สอดคล้องกัน ความยั่งยืน
“เราเชื่อด้านมาตรการป้องกันมากกว่าเข้าไปแก้ไขปัญหา จึงต้องมีการหารือพูดคุยเจาะลึกในบางประเด็นที่มีข้อกังวลจากสาธารณชน ไม่ปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไป และไม่ถอนตัวในการลงทุน เพราะเมื่อมีการพูดคุยหารือ ผลักดันได้ผลมากกว่า ทุกคนพร้อมที่จะดำเนินการให้ถูกต้อง ในสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจและเป็นกังวล”
หลังการลงทุน
จะต้องมีการติดตามการดำเนินงานด้านESG ของบริษัท เพื่อบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลจากหลกาหลายแหล่งมาประเมิน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเปิดเผยจากรายงานความยั่งยืน (SD Report),เว็บไซต์,ข้อมูลจากฐานข้อมูลในแหล่งต่างๆ จนถึง ข้อมูลจาก Due Deligence)
3 หลักลงทุนตอบแทนอนาคต คิดยาว มองไกล
แนวทางการขับเคลื่อนการลงทุนผ่านESG ถือเป็นแนวทางการการเสริมความยั่งยืนให้กับพอร์ต กบข. ที่ไม่มองผลตอบแทนระยะสั้น เข้าเร็ว ออกเร็ว แต่กลยุทธ์จะมุ่งเน้นการวางรากฐานสร้างการเติบโตจากการลงทุนอย่างยั่งยืนในอนาคต ผ่าน 3 เสาหลักในการบริหารกองทุน ประกอบด้วย
1.สร้างความเพียงพอให้กับคนในกองทุน ให้ผลตอบแทน
2ยึดหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
3.กองทุนด้านความยั่งยืน (sustainability) สร้างโอกาสผลตอบแทนในระยะยาว ดีต่อคน โลก และมีกำไร
สิ่งสำคัญ คือการดวางสมดุล ระหว่างกำไร กับ การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจทางสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ผลการดำเนินงานต้องดี เพื่อความพึงพอใจของสมาชิกกองทุน
“สมาชิกกองทุนสําคัญที่สุด เพราะเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริง เราไม่สามารถเอาเงินของสมาชิกมาเสียสละในการไปลงทุนอย่างไร้ขอบเขตได้ และทำให้เห็นว่าการลงทุนESG เป็นการขับเคลื่อนเพื่อผลตอบแทนยั่งยืนในวันข้างหน้าที่มีผลตอบแทนชุดเจน”
การดำเนินการลงทุน จะต้องมีการติดตาม และนำกลับมารายงานผลการวิเคราะห์การดำเนินงาน โดยมีหลักเกณฑ์ESG อยู่ในรายงาน
่
เทรนด์ความยั่งยืน และESG ในปี 2024
ดร.ศิริกัญญา กล่าวถึง ทิศทางการลงทุนESG ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นแนวทางมาจะอยู่กับโลกตลอดไป มาแล้ว ไม่มีวันถอยกลับ ไม่ว่าจะเป็น ESG SDG หรือ Human Rights 3-4 เรื่องไม่มีวันถอยกลับอยู่แล้ว เพราะว่าเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั้งโลกเชื่อเหมือนกัน โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่ต่างมีความเชื่อเหมือนกัน จึงเป็นพลัง ในการขับเคลื่อนการลงทุนESG ทั่วโลกให้เดินไปข้างหน้า ไม่มีวันถอยหลัง ในปี 2024 จึงมีเมกะเทรนด์ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ที่ทั้งภาคธุรกิจ การลงทุนจะต้องขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับเทรนด์เหล่านี้ ธุรกิจจึงจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
หลังจากความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นสิ่งที่กว่า 200 ประเทศทำความตกลง พันธสัญญา หรือ ทั้งโลกมีมติตรงกัน ทำให้ปัญหาโลกร้อนเริ่มถูกพูดถึงและขยายวงกว้างมากขึ้น และเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน รวมถึงภาคธุรกิจ จะต้องปรับกระบวนการผลิตสินค้า เครื่องจักรลดการปล่อยคาร์บอน
“รัฐบาลทั่วโลกได้ทำพันธสัญญาไปแแล้ว ทุกคนเข้าใจเรื่องภาวะโลกร้อนมากขึ้น ทำให้เป็นสิ่งที่ทุกคนเดินหน้าต่อไปไม่มีถอย”
ความหลากหลายทางชีวภาพ (ฺฺBiodiversity)
ประเด็นที่จะส่งผลกระทบและเกิดเป็นเทรนด์ขนาดใหญ่ในปี 2024 คือ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ซึ่งจะต้องสร้างความร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชนในการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ที่จะต้องเพิ่มระดับมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมาสู่สมดุล ทั้งทะเล และภูเขา ป่าไม้
วางกลยุทธ์ความยั่งยืนจากภายในองค์กร (Insetting)
การออกแบบความยั่งยืนจากภายใน (Insetting) ที่ผ่านมาส่วนใหญ่รูปแบบจะดำเนินการไปตามกิจกรรม หรือ เรียกว่า offsetting เช่น การจัดกิจกรรมความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจและกิจกรรม อาทิ การไปซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชย ปัญหาในการทำธุรกิจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม กิจการอาจจะไม่ดี แต่มีคาร์บอนเครดิตจำนวนมาก นี่คือกระแสเก่าที่จะไม่ได้รับการยอมรับ การทำESG ไม่สอดคล้อง เป็นการทำภายนอกจะทำให้เกิดการตั้งคำถาม แต่ในปีหน้าความเข้มข้น เริ่มวางกลยุทธ์ทุกกระบวนการให้สอดคล้องกับความยั่งยืน เมื่อสื่อสารออกไปจึงส่งผลทำให้คนเชื่อมั่น หากเริ่มต้นจัดการทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ดีลกับฟอกเขียว
ส่วน ประเด็นที่กังวล เรื่องการฟอกเขียวนี่มันก็เป็นเรื่องของกิจการที่ให้ข้อมูล ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือ ฟอกเขียว (Green washing) กบข. มีขั้นตอนการคัดเลือกกิจการที่ลงทุนไปแล้ว แบบมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ดังนั้นกิจการ ที่จะผ่านจุดที่คัดสรรมาอยู่ในพอร์ตกบข.ได้ จะเป็นกิจการที่ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการฟอกเขียวง่ายๆ มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง
ดร.ศิริกัญยากล่าวทิ้งท้ายว่า กบข. มุ่งเน้นลงทุนที่สอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนายั่่งยืน มุ่งเน้นโครงการ ภาคธุรกิจ ที่มีส่วนการขับเคลื่อนความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทุกการลงทุนจะผลักดัน เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกาารสร้างเมืองยั่งยืน รวมถึงการให้ความสำคัญ ไม่ทำลายชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ภาคการผลิตที่มีห่วงโซ่คุณค่าการลงทุนที่ (Valuechain) รวมไปถึงส่วนที่จะเข้าไปสนับสนุน ความสัมพันธ์ของสังคม ชุมชน (Social Elements) จึงได้รับให้เป็นการลงทุนเพื่อความยั่งยืนที่มั่นคงและให้ผลตอบแทนยั่งยืนระยะยาว เพราะให้ความสำคัญกับการผสานประโยชน์ร่วมในทุกผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)