ธาอีส แบรนด์เครื่องหนังรีไซเคิล แลกเปลี่ยนวิถีธุรกิจที่คิดจาก ESG เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ เริ่มต้นจากคิดแก้เพนพอยท์ ปัญหาขยะเครื่องหนังไร้ค่า ชุบชีวิตสู่สินค้าสร้างคุณค่า4 ไลน์ธุรกิจตอบโจทย์ครบวงจร กำจัด แปลงสู่วัสดุ จนถึงของที่ระลึกแบรนด์องค์กร
ในการเปิดตัวจักรวาลแห่งความยั่งยืน แพลตฟอร์ม ESG Universe และมีการเสวนา” โอกาสและอุปสรรคของ SME หลังเทรนด์โลกมุ่งสู่ ESG ‘พา SME ไทย ไป Universe” มีพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมงานเปิดตัวและสัมมนาซึ่งเป็นจุดกำเนิดแห่งการสร้างพลังที่ส่งผลกระทบเชิงบวก มุ่งหวังจุดประกายให้กับทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปสู่สิ่งที่ดี และยั่งยืนไปพร้อมกัน
ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จำกัด ผู้พัฒนาแบรนด์ ธาอีส อีโคเลทเธอร์ เปิดเผยว่า เริ่มต้นธุรกิจแปลงเศษวัสดุเครื่องหนัง 4 ปีที่แล้ว เพราะความหลงใหลในความคลาสสิคของเครื่องหนัง ที่มีคุณค่าสวยงามในตัวเอง จึงไม่อยากเกิดวามหงุดหงิด กับการต้องทนเห็นขยะเศษเครื่องหนังในโรงงานอุตสาหกรรมiรองเท้าและอื่น ที่กองมหาศาลถูกโละทิ้งโดยแบบไร้ค่า มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท ต่อปี โดยที่ยังไม่มีการกำจัดแบบที่ควรจะสร้างคุณค่า มีเพียงการนำไปเผา และฝังกลบ
นั่นเท่ากับว่ายิ่งผลิตเครื่องหนังมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีกองขยะมากขึ้นเท่านั้น ทุกๆ ปี จึงมีกองขยะเศษเครื่องหนังมากกว่า 10,000 ตัน หากนึกภาพไม่ออกว่ามากขนาดไหน ให้เทียบเท่ากับขนาดตึกมหานคร 6 ตึกรวมกัน
เมื่อความหลงใหลในเครื่องหนัง มาเจอกับความสนใจงานฝีมือ (Craft) จึงมาลงตัวที่การแปลงเครื่องหนังสู่ งานคราฟท์ ในเฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น เศษวัสดุเหลือใช้ทั้งกากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม หรือ ของชำร่วยๆ ต่างๆ ให้กับแบรนด์องค์กร และแบรนด์ตัวเอง THAIS (ธาอีส) สอดคล้องกับ แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทุกสิ่งนำมาหมุนเวียนสู่กระบวนการผลิตได้
จากเศษเครื่องหนัง สู่ Total Solution
กำจัดขยะ จนถึงสินค้าปลายทาง
เขาเริ่มต้นวางแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว) การพัฒนาธุรกิจที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนจากฐานรากความเข้มแข็งของประเทศ และยังสอดคล้องกับแนวคิดล่าสุดของโลก ESG (สิ่งแวดล้อม, สังคม และ ธรรมาภิบาล) ถือเป็นหลักการสร้างกรอบการทำธุรกิจให้เข้าใจภาพรวมการวางแผนธุรกิจจะต้องคำนึงถึง 3 เสาหลัก ได้ชัดเจนขึ้น จึงทำให้ขยายจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษเครื่องหนัง ขยายไปสู่เศษวัสดุจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กาก ใย สับประรด
“จุดเริ่มต้นการเดินทางมาเรื่อยจนเข้ากับโมเดล BCG จึงเริ่มมองเห็นสินค้าที่จะเข้าไปต่อยอดได้ครบลูฟท์ทั้งอุตสาหกรรม จนกระทั่งโมเดล ESG เกิดขึ้น ทำให้กรอบการทำงานชัดเจนขึ้น ในการประยุกต์ธุรกิจให้สร้างความยั่งยืน จากพัฒนานวัตกรรมเศษหนัง ขยายไลน์ไปสู่เศษวัสดุอื่น ๆ ที่เหลือจากการผลิต เช่น วัสดุเป็นผ้า เศษกากอุตสาหกรรมมาจากใยสัปปะรดพัฒนาสู่เส้นใยในวงการแฟชั่น จากจุดนี้ทำให้ก้าวขึ้นสู่ผู้ผลิตวัสดุเพื่อส่งให้โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งการกำจัดขยะ มาต่อยอดสร้างคุณค่าให้กับของเหลือใช้ในโรงงาน โดยการวางตัวเป็นผู้ให้บริการครบวงจรในการจัดการของเสีย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (Total Solution)”
นี่เป็นที่มาของการที่ธาอีส ไม่ได้ต้องการเป็นนักธุรกิจที่เติบโตเพียงลำพัง แต่ต้องการให้สังคมชุมชนเดินไปพร้อมกัน จึงเป็นเป็นพันธมิตรร่วมธุรกิจกับชุมชน สร้างอาชีพ สร้างงาน และได้ผลิตภัณฑ์ให้กับธุรกิจ เริ่มต้น 3 จังหวัด อาทิ อ.ทุ่งควายกิน จ. ระยอง, จ.ชลบุรี และ จ.กระบี่
วิถีความยั่งยืนคู่กัน ระหว่างธุรกิจและสังคม
“แนวคิดการดึงชุมชนมาเป็นพันธมิตรร่วมธุรกิจ จะต้องเริ่มจากการที่มองตัวเราไม่ใช่นายจ้างเขา เขาไม่ใช่ลูกจ้างเรา แต่เรามีจุดร่วมสร้างผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อเราเข้าใจในวัฒนธรรมที่เขามี ก็จะเป็นการสร้างวินัยทั้งเรา และเขาได้ทำงานร่วมกัน ทำให้ชุมชนแข็งแรง ชาวบ้านสามารถทำงานตัดเย็บ ตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนให้กับลูกค้าของเราได้”
เรื่องราวของผลลัพธ์ การผนึกพลังเป็นพันธมิตรให้กับชุมชน ทำให้มีผู้ผลิตสินค้าจากท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน จะทำให้ลูกค้าองค์กร อาทิ SMES D Bank, กฟผ.ได้เห็นถึงคุณค่าจากสินค้าที่ให้ธาอีส ผลิตนั้นได้ช่วยสร้างชีวิตความเป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้นได้ ถือเป็นจุดแข็งบอกเล่าเรื่องราวไปสู่ลูกค้าได้ภาคภูมิใจที่ร่วมเป็นห่วงโซ่แห่งนี้
ESG เรื่องราวมีแรงดึงดูดการลงทุน
จากธรรมาภิบาลองค์กร
สิ่งสำคัญของการนำESG มาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ คือการคำนึงถึง รากวัฒนธรรม ความเป็นชุมชน พื้นฐานของสังคม เพราะเราเดินมาสู่ยุคเฟื่องฟูเศรษฐกิจ จนโลกกลับคิดถึงรากวัฒนธรรม เมื่อบริษัทมีการทำ ESG จึงช่วยสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีแรงดึงดูดจากลูกค้าและนักลงทุน มีกรอบการสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่นำมาพัฒนาสู่ธุรกิจได้ชัดเจน
“ยุคก่อน Modernize ที่โลกทั้งโลกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุกคนที่มีวัฒนธรรมที่ร่ำรวยคนก็จะแห่กันไปเที่ยวเมืองเหล่านั้น แต่เมื่อเมืองที่มีเศรษฐกิจที่ดีคนก็จะแห่ไปลงทุน สุดท้ายเมื่อมี ESG คือวัฒนธรรมขององค์กร ที่ทำให้เห็นชัดเจนว่าองค์กรมีธรรมาภิบาล ที่นำไปต่อยอดสร้างการเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และถูกเลือกจากนักลงทุนที่จะสามารถสร้างความยั่งยืนในอนาคตได้ชัดเจน”
เขาเล่าว่าธุรกิจเติบโตจนกระทั่งมีธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่นมาขอซื้อกิจการ ซึ่งเป็นธุรกิจที่พัฒนาเป็นสินค้าสำหรับองค์กร และมีสินค้าที่เป็นแบรนด์ ป้อนวัตถุดิบให้กับลูกค้าที่ญี่ปุ่น ดูไบ อังกฤษเพราะสนใจเทคโนโลยีสะอาดของธาอีส ที่พัฒนาจนกระทั่งได้รับรางวัลจาก จากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UN) ปี 2563 แต่ต้องปฏิเสธไปเพราะธุรกิจมีการเติบโตชัดเจนในแบบแนวทางที่เขาสร้างมา แม้จะให้ราคาสูงถึงราว 300-400 ล้านบาท