อุตสาหกรรม “ดิจิทัล” โผล่เจ้าเดียว มีแนวโน้มสูงจ้างงานเพิ่มขึ้นหลังโควิด-19

อุตสาหกรรม “ดิจิทัล” โผล่เจ้าเดียว มีแนวโน้มสูงจ้างงานเพิ่มขึ้นหลังโควิด-19


เช็กสถานการณ์ 45 กลุ่มอุตสาหกรรมกับทิศทาง “การจ้างงาน” หลังโควิด-19 ขณะที่อนาคตการลดขนาดองค์กร จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงการ “แลกเปลี่ยน” แรงงานระหว่างกัน

โดย…กองบรรณาธิการ ThaiQuote

คณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยสถานการณ์การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 และคาดการณ์หลังการแพร่ระบาดเกี่ยวกับการจ้างงาน พบว่า 45 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ มีเพียงอุตสาหกรรมดิจิทัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่มีแนวโน้มการจ้างงานเพิ่มขึ้นหลังโควิด-19

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า 14 ประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม ที่จะมีการจ้างงานหลังโควิด-19 ลดลง ประกอบด้วย 1.กลุ่มอุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน 2.กลุ่มอุตสาหกรรมแก้วและกระจก 3.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ 5.กลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ 6.กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ 7.กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง

8.กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 9.กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 10.กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 11.กลุ่มอุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ 12.กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ 13.อัญมณีและเครื่องประดับ และ 14.กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

อย่างไรก็ตาม มีการจ้างงานในจำนวนเท่าเดิมอยู่หลายกลุ่มอุตสาหกรรมรวม 30 ประเภท ประกอบด้วย 1.กลุ่มอุตสาหกรรมก๊าซ 2.กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม 3.กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร 6.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ 7.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 8.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง 9.กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก 10.กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล

11.กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม 12.กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 13.กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 14.กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 15.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ 16.กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า 17.กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน 18.กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก 19.กลุ่มอุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บาง และวัสดุแผ่น 20.กลุ่มอุตสาหกรรมยา

21.กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ 22.กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า 23.กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม 24.กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร 25.กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ 26.กลุ่มอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง 27.กลุ่มอุตสาหกรรมหล่อโลหะ 28.กลุ่มอุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ 29.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก และ 30.กลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม

 

คณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน ส.อ.ท. วิเคราะห์ถึงตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อสะท้อนแนวโน้มความต้องการแรงงาน โดยจำแนกตามรายขนาดของอุตสาหกรรม และแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วงหลังการแพร่ระบาด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1.ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

พบว่าบริษัทขนาดกลาง และขนาดย่อม มีการจ้างงานในช่วงโควิด-19 ลดลงกว่า 50% ขณะที่บริษัทขนดใหญมีการลดการจ้างงานลงประมาณ 1 ใน 4 ภาพจึงชัดเจนว่าบริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลาง คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก


2.ช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

พบว่าบริษัททุกขนาด ยังคงมีแนวโน้มการจ้างงานหลังโควิด-19 ลดลง แต่มีอัตราส่วนน้อยลงจากช่วงการแพร่ระบาด แต่ทั้งนี้ มีบริษัทอีกกว่าครึ่งของทั้งหมดที่ยังคงการจ้างงานในอัตราเท่าเดิม และมีบริษัทที่คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 4-10% ด้วยกัน

ข้อมูลอีกชุดที่ คณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน ส.อ.ท.เปิดเผยออกมา คือแนวทางการปรับตัวสำหรับการจ้างงานในอนาคต โดยแบ่งออกเป็น 7 การคาดการณ์เชิงวิเคราะห์ด้วยกัน คือ

1.สัดส่วน 32.2% พบว่า จะเกิดการลดขนาดองค์กรและนำเทคโนโลยีมาใช้งานให้มากยิ่งขึ้น

2.สัดส่วน 19.5% พบว่า จะเกิดการจ้างค่าจ้างเพิ่มเพื่อให้ได้แรงงานที่มีทักษะที่หลากหลาย (Multi Skills)

3.สัดส่วน 17.8% พบว่า จะเกิดการปรับรูปแบบการจ้างงานให้มีความยืดหยุ่น เช่น จ้างรายชั่วโมง

4.สัดส่วน 15.5% ลดการจ้างงานลูกจ้างประจำ และมาใช้ระบบ Outsource แทนที่

5.สัดส่วน 3.2% พบว่า จะมีการปรับเปลี่ยนความสามารถ ที่จะมุ่งเน้นในเรื่องตลาดออนไลน์ และจะมีการปรับฐานเงินเดือนด้วย

6.สัดส่วน 4.6% พบว่ จะเกิดการแชร์หรือแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างอุตสาหกรรม

7.สัดส่วน 1.2% พบว่า จะเกิดการลดใช้แรงงานต่างด้าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ผ่าผลประเมิน SMEs รายภูมิภาค “เหนือ-อีสาน-กลาง” ฟื้นตัวปีนี้ ส่วน ”ใต้” รอปีหน้า

ผู้มีรายได้น้อย เฮ! เตรียมรับเงินเยียวยาโควิด 3,000 บาท ดีเดย์ 4 ก.ค.63