แนะรัฐแก้หนี้ครัวเรือน- สร้างวินัยการเงิน-ทำเกษตรหลากหลาย

แนะรัฐแก้หนี้ครัวเรือน- สร้างวินัยการเงิน-ทำเกษตรหลากหลาย


ต่อกรณีดังกล่าวนายนิพนธ์
พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ
กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า จากที่ติดตามมาตลอดพบว่าหนี้สินของเกษตรกรที่ไม่มีฐานะจนแต่กู้หนี้มากกว่าเกษตรกรที่ยากจนถึง
2 เท่า ขณะเดียวกันเกษตรกรยากจนเป็นหนี้คิดเป็น 20
% ของหนี้เกษตรกรทั้งหมด
และเกษตรกรที่ยากจนมีหนี้สินต่อรายได้สูงถึง 142
% ส่วนเกษตรกรที่ไม่จนมีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ในอัตราส่วน  63%  

ขณะที่ปัญหาหนี้สินคงค้างของเกษตรกรเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ นับจากปี 2540 ซึ่งปัญหาของเกษตรกร โดยเฉพาะปัญหาเกษตรกรยากจนนั้นประสบปัญหาด้านการผลิตและสินค้าตกต่ำ
ทำให้มีความเสี่ยงในการชำระหนี้สินของครัวเรือนมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
นับจากปี 2546 เป็นต้นมา ซึ่งสาเหตุมาจากเกษตรกรขาดความเชี่ยวชาญด้านการจัดการด้านทางการเงินและขาดการกระจายความเสี่ยงในด้านการลงทุนการเกษตร

อย่างไรก็ตาม
นายนิพนธ์ ยังได้เสนอแนะถึงวิธีในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกร ว่ารัฐบาลจะต้องเร่งทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรให้เข้มแข็ง
โดยการสร้างอาชีพที่หลากหลาย การใช้กลยุทธ์ทางด้านการแปรรูปและการตลาดให้มากขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า
ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ มาใช้รวมถึงรัฐจะต้องให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านการวิจัยและการพัฒนาทางด้านการเกษตรให้มากขึ้น
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในการพัฒนาเกษตรกรในระยะยาว

“ไม่ใช่มีแค่ประเทศไทยที่มีหนี้ในภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง
มาเลเซียและเกาหลีใต้ก็มีหนี้ภาคครัวเรือนในระดับสูงเช่นกัน
ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าหนี้ภาคครัวเรือนของไทยดังกล่าวยังมีความเสี่ยงต่ำเพราะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่คุ้มทุน
ทั้งนี้การสร้างวินัยทางการเงินให้ภาคครัวเรือน
จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเกษตรกรและสถาบันการเงินของไทยได้”