“ลุงตู่”ชูยุทธศาสตร์ 10 ปีบูรณาการน้ำทั้งระบบ

“ลุงตู่”ชูยุทธศาสตร์ 10 ปีบูรณาการน้ำทั้งระบบ


(1)
การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ (2) การแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในหมู่บ้าน โรงเรียน
ชุมชน และชนบท  (3)
การแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำภาคการผลิต ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำ น้ำบาดาล สระน้ำชุมชน  

               (4) การป้องกันอุทกภัย
ด้วยการฟื้นฟูทางน้ำ ขุดลอกคูคลอง  (5)
การจัดการคุณภาพน้ำ แม่น้ำลำธาร และการบริหารจัดการเพื่อรักษาระบบนิเวศน์
ผลักดันน้ำเค็ม และ (6) การบริหารจัดการน้ำ ทั้งนอกและในเขตชลประทาน
ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้   (7)
การบริหารจัดการที่ดินอย่างบูรณาการ เพื่อให้ประชาชนผู้ยากไร้ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีความเท่าเทียม
เป็นธรรม และเป็นการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าด้วยอย่างยั่งยืน

              นอกจากนี้ในช่วงฤดูร้อน
2 เดือนคือมีนาคม
พฤษภาคม ทุกปีนั้น จากสถิติจะมีการใช้ไฟฟ้าสูง   ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากประชาชนดำเนินการตามมาตรการ
4 ป ปิด ปรับ ปลด เปลี่ยน ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม –  30 พฤษภาคม  ในช่วงบ่าย 2บ่าย 3
โมง 
ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น, “ปรับอุณหภูมิแอร์มาที่
26 องศาเซลเซียส  
ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน 
และ
เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
เบอร์ 5 นะ เบอร์ 5 เป็นสัญลักษณ์การประหยัดพลังงาน  เปลี่ยนมาใช้หลอด
LED ที่ช่วยประหยัดพลังไฟฟ้าได้กว่า
80 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งเข้าร่วมการรณรงค์
ปิดไฟ 1 ชั่วโมง
ให้โลกพัก

               สำหรับประเด็นสำคัญที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าที่มีความจำเป็นอาจต้องแลกด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
บางส่วนไม่ให้เสียหายทำให้เกิดความสมดุล คุ้มค่าในภาคประชาชน  สิ่งแวดล้อม และส่วนอื่นๆแก้ไขอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน
เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงาน และพลังงานสำรองภายในประเทศ ให้ได้ 70% ตามแผน
PDP
 ที่มีพลังงานที่เกิดจากอินทรียวัตถุ
เช่นก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ถ่านหิน  
โดยอาจจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดขึ้น  ทั้งนี้ประชาชนที่คัดค้านนั้น  อยากให้ไปดูบางประเทศที่เขายกเลิกใช้ถ่านหิน
เมื่อเขายกเลิกแล้วใช้อะไรแทน เขาใช้โรงงานนิวเคลียร์แทน  ถ้าหากต้องการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทำโรงงานนิวเคลียร์แล้วท่านจะว่าอย่างไร  

               นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(กพช.) ยังได้เห็นชอบแผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานโดยให้มีการส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า
(
Electronic
Vehicles : EV) ในประเทศไทยเพื่อผลักดันให้ไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตรถไฟฟ้าในภูมิภาค นำร่องการใช้งานกลุ่มรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้าก่อน
แล้วขยายผลไปสู่การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในอนาคตตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์

                 สำหรับเรื่องเพิ่มเติมคือเรื่องกรณีที่กลุ่มสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัยที่มีการยื่นเรื่องขอให้ชะลอการบังคับใช้
พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลตามกฎหมายเมื่อ 5 มี.ค. 59
ที่ผ่านมานั้น ในประเด็นสัญญาได้แก่ (1) บริษัท รปภ. จดทะเบียนให้ถูกต้อง  (2) พนักงาน รปภ. ต้องมีสัญชาติไทย จบ ม.3
อันนี้เป็นประเด็นใหญ่ ขณะนี้อาจจะต้องมาทบทวน 
ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้ผ่อนผันให้ทำงานตรงนี้ไปก่อน อย่างไรก็ตามกระทรวงแรงงาน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ความมั่นคง 
จะหารือกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามในอนาคตทุกคนต้องปรับปรุงตนเอง

              ส่วนเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐบาลและคสช.ได้มีการปลดล็อคเงื่อนเวลา 
การศึกษาผลกระทบ
EIA หรือ EHIA  เป็นการทำงานแบบ คู่ขนานเพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เร็วขึ้น  ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันว่าได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพอนามัยประชาชน
และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะต่างประเทศเขาก็มีกฎหมายเหล่านี้อยู่เพียงแต่ว่าเราลดเวลา
ทั้งการสาธารณูปโภคพื้นฐาน อ่างเก็บน้ำ โครงการใหญ่ ๆโดยผู้ลงทุน เริ่มต้นทำโครงการเริ่มหาผู้ร่วมลงทุน  ร่าง
TOR ไว้ก่อน
ขณะที่สัญญาจ้างต้องรอจนว่าจะผ่าน
EIA  ห้ามเซ็นต์สัญญาโดยเด็ดขาด

           สำหรับเรื่องสุดท้ายนั้น รัฐบาลและ
คสช.อยากเห็นก่อนมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
คือการเริ่มต้นวางพื้นฐานในประเด็นกิจการที่สำคัญ  ในระยะแรกคือในปีงบประมาณ 59-60 ให้ได้
เช่นในเรื่องของการศึกษา การวิจัยพัฒนา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นรูปธรรม การปฏิรูประบบราชการ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นธรรมไม่มีสองมาตรฐาน
ปรับโครงสร้างการบริหารงาน 
ปฏิรูปหน่วยงานตนเองจากภายใน ไปสู่ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน โดยขอความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุด