“เขื่อนหลานชาง”หรือ“ล้านช้าง”เป็นเขื่อนขนาดยักษ์กั้นแม่น้ำโขง
ที่มีความยาวถึง 5,000 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลที่ปากอ่าว ประมาณการณ์กันคร่าว ๆ ว่ามีประชาชาติที่ต้องพึ่งพาการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนนี้ราว
60 ล้านคน
ในช่วงฤดูแล้งของปีนี้หลายประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงล้วนแล้วประสบปัญหา
“แล้งจัด” พื้นที่เกษตรกรรมกว่า 2 ล้านไร่ของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบ
นอกจากนี้แล้วยังมีพื้นที่อีกนับล้านไร่ที่ได้รับผลกระทบในทางอ้อม
ทั้งในส่วนของการขาดแคลนน้ำอุปโภค –บริโภค และการใช้น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์
ความพยายามของประเทศต่าง
ๆในลุ่มแม่น้ำโขง เกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยการเจรจากับต้นทาง คือประเทศจีน
ประสบความสำเร็จโดย “นายหลู กัง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน เปิดเผยว่าจีนได้ตัดสินใจ
ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนเหนือแม่น้ำหลานชางหรือแม่น้ำโขง
ไปช่วยประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง หลังเวียดนามได้ร้องขอให้จีนปล่อยน้ำจากเขื่อนจินหง
ในเขตสิบสองปันนา ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำในมณฑลหยุนหนาน
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเพื่อบรรเทาความแห้งแล้งในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
และจะมีการบริหารจัดการการปล่อยน้ำไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน เพื่อช่วยเหลือกัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, ไทยและเวียดนาม
ต่อไป
การปล่อยน้ำจากเขื่อนในแม่น้ำโขงครั้งนี้ของจีน
ถือเป็นการตัดสินใจบนแนวคิดการเกื้อกูลกันของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงที่ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการน้ำแบบ “คุณธรรม” และเพื่อการอยู่ร่วมกัน
และการสร้างความสัมพันธ์อันดีของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
แม้ว่าในประเทศจีนเองก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นนี้เช่นเดียวกัน
ในพื้นที่มณฑลหยุนหนาน และอีกหลายมณฑลที่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางของแม่น้ำโขง เรียกว่าไม่ต่างจากประเทศ
พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ที่ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปรากฏการณ์เอล
นีโญ ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ
นอกจากนี้การตัดสินใจปล่อยน้ำของประเทศจีนในครั้งนี้ยังเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญ
หลังเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนต่าง ๆ ในเขตแดนจีน กับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงก่อนหน้านี้
ในเรื่องที่จีนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ อย่างม่านวาน
เมื่อปี 2537 และเขื่อนต้าเฉาซาน เมื่อปี 2546 และอีก 4 เขื่อนในช่วงปี 2552
ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ปลายทางของน้ำจนกลายเป็นประเด็นข้อขัดแย้งกับประเทศต่าง
ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง
การปล่อยน้ำของจีนในครั้งนี้อาจเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกัน
ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง
จีนกับประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับภูมิภาคอาเซียน
ที่ประเทศสมาชิกครึ่งหนึ่งเป็นประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง
สำหรับประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการปล่อยน้ำของจีนในครั้งนี้
โดยมีพื้นที่ครอบคลุม 8 จังหวัดในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร
อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี