สาเหตุส่วนใหญ่ที่ประชาชนย้ายค่ายเดิมไปเป็นค่ายใหม่นั้น
เนื่องจากโปรโมชั่นที่ค่ายใหม่เสนอให้เป็นแรงจูงใจที่ต่างจากค่ายโทรศัพท์มือถือเดิม
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือการยื้อยุดเวลาในการดำเนินการโอนย้ายค่ายให้ล่าช้า
ดังตัวอย่างกระทู้ในเว็บไซต์ Pantip.com หลายกระทู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในเชิงต่อว่าโอเปอร์เรเตอร์ของผู้ให้บริการ
เช่นกรณีของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือค่ายหนึ่งได้เปิดเผยกับ
“ThaiQuote” ว่าตนใช้บริการโทรศัพท์ในระบบเติมเงินของค่ายผู้ให้บริการรายเดิม(สีฟ้า)
และได้ทำเรื่องขอโอนย้ายไปค่ายผู้ให้บริการราย ใหม่ (สีส้ม)
โดยยังคงใช้เบอร์โทรศัพท์เดิมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากนั้นอีก 4 วันค่ายบริการรายใหม่ได้ส่งข้อความยืนยันว่าได้ดำเนินการติดต่อค่ายเดิมให้แล้ว
หากไม่ได้รับความสะดวกให้ติดต่อร้องเรียนกับทางกสทช.ได้
กระทั่งวันที่
9 มี.ค.59ทางค่ายบริการเดิมได้ส่งข้อความมาว่า“ขออภัยในความไม่สะดวกในการโอนย้าย เนื่องจากผู้ให้บริการรายใหม่ของท่านดำเนินขอยื่นหลักฐานการโอนย้ายไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของการโอนย้าย
ทั้งนี้บริษัทได้ยื่นเรื่องกับกสทช.ในเรื่องดังกล่าวแล้ว”
สำหรับความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
เนื่องจากระยะเวลาที่ล่าช้าเกินกว่า 3-5 วันตามระยะเวลาที่ผู้ให้บริการกำหนดไว้ในการให้บริการ
และกรณีของผู้ใช้บริการนั้นได้ใช้บริการในระบบเติมเงินซึ่งมีอายุเวลาการใช้งานในวงเงินตามที่ผู้ให้บริการกำหนด
ซึ่งจะต้องเติมเงินเข้าสู่ระบบมีถึงวันหมดระยะเวลาใช้งาน และจะต้องมีความเคลื่อนไหวของยอดเงินในระบบอยู่ตลอดเวลาเพื่อยืนยันว่ายังคงมีการใช้งาน
“ความเดือดร้อนของการย้ายค่ายใหม่เบอร์เดิม
คือค่ายผู้ให้บริการไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้บริโภคในเรื่องของความล่าช้า
รวมถึงการที่จะต้องเติมเงินให้อยู่ในระบบเพื่อให้มีการอัพเดตการใช้งาน ซึ่งเมื่อมีการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการแล้ว
ปรากฏว่าจำนวนเงินที่เติมนั้นจะไม่ได้รับคืนหลังจากมีการโอนย้ายค่ายสำเร็จแล้ว”
นี่คือหนึ่งในกรณีตัวอย่างความเดือดร้อนของผู้บริโภคต่อกรณีดังกล่าว
ซึ่งจะสังเกตได้ว่าตามข้อมูลที่ผู้ให้บริการทั้งรายเดิมและรายใหม่ให้กับผู้บริโภคคือ
การปัดภาระความรับผิดชอบไปให้กับกสทช.หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาตามกรณีดังกล่าว
ปรากฏว่าที่ผ่านมากสทช.ได้กำหนดหลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์มือถือ
และมีการร้องเรียนผ่านคอลเซ็นเตอร์ โทร.1200เป็นจำนวนมากเนื่องจากประสบปัญหาไม่สามารถโอนย้ายค่ายได้สำเร็จ
และใช้เวลากว่า 7 วัน
ต่อกรณีดังกล่าวนายฐากร
ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.กล่าวว่าตนได้ลงนามในคำสั่งให้โอเปอเรเตอร์ทุกรายปฏิบัติตามคำสั่งในกรณีดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ซึ่งหากบริษัทไม่ปฏิบัติตาม กสทช. จะใช้อำนาจตามมาตรา
66 พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยมีคำสั่งให้บริษัทชำระค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้