“ดร.อรรชกา”แจงโรดโชว์ตปท.เชิญลงทุนคลัสเตอร์

“ดร.อรรชกา”แจงโรดโชว์ตปท.เชิญลงทุนคลัสเตอร์


โดยถือโอกาสชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ รวมทั้งมาตรการสนับสนุนต่าง ๆเพื่อเร่งรัดการตัดสินใจอันจะนำไปสู่การสร้าง
10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต
นอกจากเป็นการสร้างรับรู้และทำความเข้าใจกับนักลงทุนเป้าหมายโดยตรงแล้ว
ยังถือโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการไทยจะได้จับคู่ทำธุรกิจร่วมกัน
ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (
BOI)
และภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อเข้าถึงและสร้างความเชื่อมั่นในการดึงดูดนักลงทุนโดยมั่นใจว่าจะมีบริษัทยื่นขอการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายคลัสเตอร์ฯ
ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป

ผลการเยือนญี่ปุ่น
(12-15 กุมภาพันธ์ 2559)

ให้ความสำคัญกับ
2 จังหวัดคือจังหวัดฟูกุอิและจังหวัดโทยาม่า ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ
เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมกับกระทรวงอุตสาหกรรมไปเมื่อปี 2557 โดยได้เข้าพบ
นายนิชิกาว่า อิสเซอิ ผู้ว่าราชการจังหวัดฟุกุอิ ณ ศาลาว่าการจังหวัดฟูกุอิ
เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือกับผู้ว่าราชการฯ สมาชิกสภาจังหวัดและผู้บริหารฯ
เรื่องความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนในประเทศไทยตามนโยบายคลัสเตอร์เป้าหมาย

ขณะที่งานสัมมนา
Otagai
Forum ครั้งที่ 13 มีนักลงทุนชาวญี่ปุ่นกว่า 150 ราย
ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยจาก 10 บริษัทชั้นนำของจังหวัดฟูกุอิ
โดยทั้งหมดมีความต้องการร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการไทย ผลการเจรจามีแนวโน้มที่บริษัท
SEIREN (เซเรน) Co.Ltd. ซึ่งประกอบกิจการทำเส้นใยสำหรับเบาะนั่งในรถยนต์
สัดส่วนตลาดอยู่ในอันดับที่ 1 ของโลก และบริษัท
NIKKA Co.Ltd. ซึ่งสกัดสาร Bio Silica จากแกลบข้าวเพื่อเป็นส่วนผสมในสิ่งทอรวมถึงโลหะเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการใช้งาน
ทั้ง 2 รายจะเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในประเทศไทย

ส่วนการเข้าพบคณะผู้ว่าราชการจังหวัดโทยาม่า
เพื่อหารือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม
มีผู้บริหารจังหวัดและบริษัทชั้นนำของจังหวัดโทยาม่าเข้าร่วมกว่า 50 บริษัท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อเรื่อง
ความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและนโยบายคลัสเตอร์เป้าหมายของรัฐบาลเพื่อชักจูงบริษัทให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
และมีการเยี่ยมชมบริษัท
FUJIKOSHI ผู้ผลิตหุ่นยนต์ (Robot)
รายใหญ่ภายใต้แบรนด์ Nachi ได้ชักจูงให้มาลงทุนผลิต
Robot ในประเทศไทย ผลการเจรจาเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าทางบริษัทฯได้ตอบตกลงและจะเดินทางมาประเทศไทยและในวันที่
2 มีนาคม 2559 กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้นัดหมายให้ซีอีโอบริษัท
FUJIKOSHI เข้าพบ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทจะพิจารณาย้ายสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคมาตั้งอยู่ในประเทศไทย

นอกจากนี้
รมว.อุตสาหกรรมยังได้หารือกับผู้อำนวยการโรงเรียน
Japan Aviation High
School (ภายใต้ Japan Aviation ACADEMY) ซึ่งเป็นสถาบันที่สอนด้านการบินที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ผลิตบุคลากรด้านอากาศยาน ทั้งนักบิน พนักงานให้บริการบนเครื่องบิน และช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน
สถาบันฯ ได้มีการลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
และมีการมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนไทยปีละ 20 ราย ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านอากาศยานถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรองรับนโยบายคลัสเตอร์อากาศยานในอนาคต

ผลการเยือนสหรัฐอเมริกา
(15-19 กุมภาพันธ์ 2559)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปชักจูงการลงทุน
ณ สหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและชักจูงการลงทุนบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ได้แก่คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน 
คลัสเตอร์ดิจิทัล และคลัสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม ทั้งนี้
BOI
ได้จัดกิจกรรมที่หลากหลายประกอบด้วย 1) การพบหารือกับคนไทยกลุ่ม startup
company ที่อยู่ในเมืองซานโฮเซ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน
startup
company และ venture capital ในประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล
2) งาน
“Thailand Exclusive Roundtable Luncheon Meeting” เป็นการพบหารือกับกลุ่มนักลงทุนชั้นนำรายใหญ่ของสหรัฐฯ
รวม 12 บริษัทที่สนใจลงทุนหรือขยายการลงทุนในประเทศไทย 3)การพบนักลงทุนชั้นนำของสหรัฐฯในกลุ่มคลัสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
และคลัสเตอร์ดิจิทัล รวม 3 บริษัท
เพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมการลงทุนรูปแบบคลัสเตอร์ และกองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ
ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจสิทธิประโยชน์ที่คณะฯ นำเสนอ
และกำลังพิจารณาที่จะขยายการลงทุน
เพื่อใช้ประโยชน์จากมาตรการที่รัฐบาลออกมาใหม่นี้ ซึ่งทีม
BOI จะติดตามเพื่อให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกนักลงทุนต่อไป

ส่วนกิจกรรมที่เมืองดีทรอยด์
มลรัฐมิชิแกนได้พบนักลงทุนรายใหญ่ของโลกในกลุ่มคลัสเตอร์ยานยนต์ 1 บริษัท
ซึ่งเป็นนักลงทุนที่ลงทุนอยู่แล้วในประเทศไทย
เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและอุปสรรคปัญหาของนักลงทุน และเพื่อชักชวนให้บริษัทพิจารณาขยายการลงทุนโดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์ออกแบบวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
ที่เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและจะช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้น
โอกาสนี้คณะได้นำเสนอมาตรการใหม่ๆของรัฐบาล เช่น กองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ
ซึ่งจะให้การส่งเสริมทั้ง
SUPPLY CHAIN เป็นต้น
จากผลการหารือดังกล่าว
ทำให้บริษัทแสดงความสนใจและจะพิจารณาการขยายการลงทุนอย่างไรก็ตามจะต้องมีการติดตามกันต่อไป

ผลการเยือนสหพันธรัฐรัสเซีย
(24-25 กุมภาพันธ์ 2559)

มีดร.สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ ได้หารือกับบริษัท
Group-IB
ซึ่งทำธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบไอที (Cyber
Security) แสดงความสนใจจะเข้าไปใช้ประเทศไทยเป็นฐานการเข้าไปทำธุรกิจในอาเซียน
จากที่เคยตั้งบริษัทในสิงคโปร์แต่ได้ปิดตัวลงเนื่องจากต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงเกินไป
บริษัทสนใจไปลงทุนในประเทศไทยและจัดตั้ง
Cyber Security Lab ในประเทศไทย
เนื่องจากทราบว่าไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถด้าน
IT คาดว่าในเดือนเมษายนนี้
บริษัทจะเดินทางไปศึกษาลู่ทางการลงทุน โดยรองนายกรัฐมนตรีมอบให้
BOI จัดโปรแกรมให้บริษัทได้พบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พร้อมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้าน
IT ตามที่บริษัทได้แจ้งความประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของบุคลากรด้าน
IT ของไทย
ซึ่งคาดว่าบริษัทจะยื่นคำขอรับการส่งเสริมในเร็ววันนี้

นอกจากนี้
บริษัท
SISTEMA
(Sistema Joint Stock Financial Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซียมีธุรกิจทั้งหมด
12 กลุ่ม เช่น โทรคมนาคม เทคโนโลยีขั้นสูง เทคโนโลยีทางอวกาศ ไมโครอิเล็กทรอนิกส์
การค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค การธนาคาร พลังงาน น้ำมัน สื่อสารมวลชน สินค้าเกษตร
บริการทางการแพทย์/สุขภาพ เป็นต้น โดยธุรกิจด้านโทรคมนาคมของบริษัทจัดเป็นอันดับหนึ่งในประเทศรัสเซีย
และการทำธุรกิจด้านคลินิกบริการสุขภาพเอกชน
ของบริษัทในเครือถือเป็นอันดับหนึ่งของรัสเซียเช่นกัน
ซึ่งบริษัทให้ความสนใจที่จะขยายธุรกิจในกลุ่มอาเซียน

ทั้งนี้
บริษัทมีการลงทุนในเอเชียแล้ว เช่น การลงทุนด้านโทรคมนาคมในอินเดีย
สำหรับประเทศไทยยังไม่เคยมีการลงทุนในไทย
โดยได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยในระดับหนึ่งและเห็นว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะรองรับการลงทุนของบริษัทได้
โดยสาขาที่บริษัทให้ความสนใจมี 6 ธุรกิจ ได้แก่ 
(1) การตั้งคลินิกสุขภาพในประเทศไทย
เนื่องจากมีเทคนิคพิเศษในการรักษาสุขภาพโดยจะผสมผสานกับการนวดแผนไทย (2)
ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจด้านเทคโนโลยีขั้นสูง
โดยสนใจจะร่วมทุนกับฝ่ายไทยและเปิดกว้างในเรื่องของรูปแบบความร่วมมือ  (3) ธุรกิจท่องเที่ยว เนื่องจากบริษัทมีบริษัทในเครือที่ดำเนินธุรกิจด้านนี้อยู่แล้ว
คือบริษัท
“Intourist”  (4) อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ
ในปัจจุบันบริษัทมีโรงงานที่รัสเซียซึ่งผลิตขายในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก  (5)
อุตสาหกรรมเกษตรอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับผักและผลไม้ ซึ่งบริษัทมีความชำนาญ  (6) อุตสาหกรรมอากาศยาน
ปัจจุบันบริษัทมีความร่วมมือกับบริษัทโบอิ้ง และเป็น
Supplier ของสายการบินต่างๆ 
ซึ่งผู้บริหารบริษัทฯ จะเดินทางไปประเทศไทยประมาณสัปดาห์ที่ 3 หรือ 4
ของเดือนเมษายนปีนี้ เพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุนและพบปะหารือกับบริษัทไทยที่อาจเป็นผู้ร่วมทุนหรือหุ้นส่วนทางธุรกิจ
และรัฐบาลไทยจะจัดกำหนดการที่น่าสนใจสำหรับบริษัทให้อย่างเต็มที่

ด้าน
บริษัท
FESCO
Integrated Transport ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือและระบบโลจิสติกส์มีความประสงค์จะตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่แหลมฉบัง
จ.ชลบุรี เพื่อส่งออกไปรัสเซีย และกลุ่ม
OJSC Magnet Hypermarket Group ซึ่งมีเครือข่าย 9,800 ซุปเปอร์มาร์เก็ตครบวงจร ปัจจุบันมีการนำเข้าข้าว
ผลไม้อบแห้ง เข้ามาขาย ก็ได้เห็นโอกาสในการลงทุนผลิตสินค้าอาหารในไทย
เพื่อป้อนตลาดรัสเซีย ซึ่งเราจะต้องหาผู้ร่วมทุนเช่นกัน

นางอรรชกา
กล่าวว่า
ไทยและรัสเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตยาวนานมาก
แต่การค้าการลงทุนระหว่างสองประเทศยังมีอยู่น้อยมาก
ปัญหาอยู่ที่ทั้งสองฝ่ายขาดฐานข้อมูลและความเข้าใจระหว่างกัน
ประเทศไทยพร้อมจะสนับสนุนให้นักธุรกิจทั้งสองฝ่ายได้พบปะกันมากขึ้น ทั้งนี้
นายกรัฐมนตรีของไทยมีแผนจะเดินทางมาเยือนสหพันธรัฐรัสเซีย
และคาดว่าจะมีการลงนามความตกลงหลายฉบับ
รวมทั้งจะได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนไทย-รัสเซีย เช่น
ความร่วมมือด้านเอสเอ็มอี เป็นต้น

 

ผลการเยือนประเทศเบลารุส
(26 กุมภาพันธ์ 2559)

คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ได้เข้าพบรัฐมนตรีอุตสาหกรรมเบลารุส (นายวิทาลี่ มิฮาโลวิช โวฟ์ค)
และผู้แทนภาคเอกชน โดยได้เยี่ยมชมกิจการ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท
MSW
ผลิตรถแทรกเตอร์ทางการเกษตร บริษัท MAZ ผลิตรถขนส่ง
รถบรรทุก และบริษัท
BELAZ ผลิตรถบรรทุกสำหรับเหมืองแร่ ทั้ง
3 รายสนใจขยายตลาดไปยังประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
โดยมีความเป็นไปได้ที่จะลงทุนในประเทศไทย