ประเด็นก็คือ สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการโดยการปฏิรูปประเทศและวางแผนยุทธศาสตร์ของประเทศในระยะเวลา
20 ปี โดยระยะแรกคือการกำหนดยุทธศาตร์ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
12 เพื่อเป็นการปูแนวทางการพัฒนาประเทศในกับรัฐบาลในอนาคต
ถัดมาเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ที่จะต้องเริ่มต้นจากการสร้างรายได้ให้กับประชาชน การเริ่มต้นจากการสร้างความเข้มแข็งภายในชาติ
ก่อนจะขยายไปสู่ประเทศในกลุ่ม CMLV ประเทศในกลุ่มอาเซียน
และตลาดโลก
ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่จะสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศนั้นคือ
การสร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านการคมนาคมระบบขนส่งมวลชนให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
โดยเริ่มจากระบบราง การเชื่อมโยงรถไฟ- – รถไฟฟ้า – รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า – รถรางไฟฟ้าล้อยางเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการจราจร วางโครงสร้างพื้นฐานการจัดระเบียบวางผังเมือง
การขยายเมืองสร้างสังคมเมืองใหม่ขึ้น ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์ในระยะยาวรวมถึงการเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนระหว่างกรุงเทพ
– หัวเมืองต่างๆ และระบบบริการสาธารณะที่เชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชน
ทั้งที่จอดรถ ที่พักคอย อาทินโยบายการสร้างที่จอดรถใต้ดิน ซึ่งอาจจะให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนร่วมด้วยเพื่อลดภาระของรัฐบาล
ขณะที่โครงการรถไฟฟ้า
10 เส้นทางในกทม.กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างมีบางส่วนที่แล้วเสร็จแล้วอย่างโครงการสายสีม่วงบางใหญ่
– เตาปูน จะเปิดให้บริการได้ในเดือน ส.ค. 59 นี้ ส่วนโครงการอื่นๆ จะทยอยแล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กทม.ได้เสร็จสมบูรณ์ใน
สิ้นปี 63
ส่วนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่กว่า
4,000 ก.ม. จะต้องมีการสร้างโดยเฉพาะในเส้นทางสำคัญทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรองรับการขนส่งสินค้าขนาดหนัก เพื่อสะดวกในการขนส่งคนระหว่างเมือง มี 2 เส้นทาง โดยเส้นทางที่จะเริ่มก่อสร้างในเดือน ธันวา 58 ถึงต้นปี 59 ได้แก่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลอง 19 – แก่งคอย คาดว่าแล้วเสร็จปี 61 และช่วงชุมทางถนนจิระ –
ขอนแก่น แล้วเสร็จปี 62 กับอีก 4 เส้นทาง
ที่อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณารายงาน EIA คือ
ช่วงประจวบคิรีขันธ์ – ชุมพร, มาบกะเบา
– ชุมทางถนนจิระ, นครปฐม – หัวหิน ,ลพบุรี – ปากน้ำโพ จากนั้นก็จะนำเสนอ ครม.
เมื่อผ่านการทำประชาพิจารณ์แล้ว ให้ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป
นอกจากนี้ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วปานกลาง
ในความร่วมมือไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ – แก่งคอย จะให้บริการขนส่งผู้โดยสารเพียงอย่างเดียว
และ ส่วนช่วงหนองคาย – นครราชสีมา, นครราชสีมา
– แก่งคอย และแก่งคอย –มาบตาพุด
บริเวณท่าเรือ/นิคมอุตสาหกรรม จะให้บริการขนส่งทั้งประชาชนและสินค้าด้วย
เรื่องที่
2 โครงการความร่วมมือรถไฟไทย – ญี่ปุ่น ระยะทางรวม 672 กิโลเมตร ช่วง กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ อยู่ระหว่างทำการศึกษาโครงการ
คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จ ในเดือน มิ.ย. 59
เรื่องที่
3 โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งคาดว่าจะเป็นการลงทุนร่วม
กับภาคเอกชน หรือ PPP Fast Track จำนวน 2 โครงการ 2 เส้นทาง คือ ช่วงกรุงเทพฯ – หัวหิน 211 กิโลเมตร และ กรุงเทพฯ – พัทยา – ระยอง 193 กิโลเมตร
เรื่องต่อไปคือเรื่องโครงการพัฒนารถไฟฟ้าคือ
รถที่ใช้แบตเตอรี่เป็นรถไฟฟ้าเพื่ออนาคตซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในปัจจุบันคือการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึง
โอกาสในการพัฒนาส่วนประกอบต่างๆก่อน และการจัดหารถโดยสารไฟฟ้า
500 คัน มาใช้ในส่วนของ ขสมก. ซึ่งอาจเป็นการเช่าก่อน 200 คัน คาดว่าจะได้รับรถในปี 60
อันดับต่อไปคือเรื่องการออกแบบสถานีต่างๆ
ซึ่งควรเป็น “อารยสถาปัตย์” และคำนึงถึงการรองรับการเดินทางของผู้พิการ
ผู้ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น
ตำรวจ-ทหารผ่านศึก สตรีมีครรภ์ และเด็กเล็กด้วย
ถัดมาที่โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
จำนวน 3
เส้นทาง ได้แก่ สายพัทยา – มาบตาพุด
สร้างแล้วเสร็จปี 62, สายบางปะอิน – นครราชสีมา
ลงนามสัญญาก่อสร้าง เม.ย. 59 แล้วเสร็จปี 63 และ สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี จะลงนามสัญญาก่อสร้าง ก.ค. 59 และกำหนดเสร็จปี 63 เช่นกัน
นอกจากนี้ในระหว่างวันที่
14
– 18 ก.พ. นายกฯจะมีภารกิจเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ
อาเซียน – สหรัฐฯ
สมัยพิเศษ ณ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สุดท้ายนายกฯยังได้ฝากถึงวัยรุ่นและเยาวชนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ซึ่งเป็น
“วันแห่งความรัก” ว่าขอให้ระมัดระวังตัวเอง
ผู้หญิงต้องระวังตัว มีคุณค่า ส่วนผู้ชายก็ต้องให้เกียรติผู้หญิง พร้อมย้ำขอให้ “รู้ รัก สามัคคี”