ทุนสื่อสารอิหร่านลุยตลาด 4 จีไทย จ่อหอบเงินลงขันเสริมทุน”ค่ายแจ๊ส”

ทุนสื่อสารอิหร่านลุยตลาด 4 จีไทย จ่อหอบเงินลงขันเสริมทุน”ค่ายแจ๊ส”



นายมุห์เซน มุฮัมมาดี (Mr. Mohsen Mohammadi) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทย
เปิดเผยกับ
“Thai quote” ว่า
ขณะนี้มีบริษัทโทรคมนาคมของอิหร่านให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นร่วมทุนในบริษัทโทรคมนาคมของประเทศไทย
ด้วยวงเงินประมาณ 60-70 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2,100 -2,450
ล้านบาท)โดยบริษัทดังกล่าวได้ขอข้อมูลการลงทุนในกิจการโทรคมนาคมประเทศไทยจากสถานทูตอิหร่าน
ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีในการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างไทย-อิหร่าน

            ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าบริษัทธุรกิจเทเลคอมของอิหร่านที่สนใจเข้าร่วมลงทุนในกิจการโทรคมนาคมอาจจะเป็นบริษัท
Asia-Tak หรือ บริษัท Arsh
ซึ่งเคยร่วมลงทุนกับ
บริษัท 
Korea
Telecom (KT)
ในการสร้างระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศอิหร่าน โดย KT นั้นพบว่ามีความสัมพันธ์อันดีกับ JAS     

                ขณะที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทจัสมินฯกล่าวกับ  “Thai quote”ว่า
บริษัทฯไม่ปฏิเสธว่ามีผู้สนใจอยากเข้ามาร่วมธุรกิจด้วย โดยล่าสุดมีทั้งจากในเอเซีย
และทางยุโรป
แต่ทั้งนี้อาจจะเป็นการคุยกันหลังกำหนดชำระเงินงวดแรกให้กับทางกสทช.ไปแล้ว
พร้อมยืนยันชัดเจนว่าในเบื้องต้นจัสมินมีความพร้อมที่จะชำระเงินงวดแรกอย่างแน่นอน  
  

นอกจากนี้ยังมีรายงานความเคลื่อนไหวกรณีการจ่ายเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกของผู้ชนะการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่
900
MHz ที่ใกล้จะครบกำหนดชำระในวันที่ 21 มี.ค.59 โดย นายเดชา
ตุลานันท์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)เปิดเผยถึงกรณีบริษัทแจส
โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด (มหาชน) หรือ
JAS ได้ยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารฯเพื่อนำไปชำระค่าใบอนุญาต
4
G  ว่าขณะนี้
ธนาคารได้ให้บริษัท
JAS
กลับไปทำแผนธุรกิจเพื่อประกอบการขอสินเชื่อรอบใหม่  เนื่องจากที่ผ่านมา
JAS เคยยื่นขอสินเชื่อในวงเงิน
4 หมื่นล้านบาทมาแล้ว 1 ครั้ง และทำการยื่นขออีกครั้งภายหลังจากที่ชนะการประมูล
บนคลื่นความถี่ 900
MHz ในวงเงินรวมกว่า 7.56 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารสามารถปล่อยได้ในวงเงินดังกล่าวได้
แต่ทาง
JAS  จะต้องทำแผนธุรกิจที่ชัดเจนมานำเสนอ
เพื่อขอการอนุมัติสินเชื่อใหม่ สอดคล้องกับความคิดเห็นของนักวิชาการหลายฝ่าย ที่กังวลต่อการชำระเงินงวดแรกของผู้ชนะการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่
900
MHz ด้วยวงเงินจำนวน 8,040 ล้านบาท
ซึ่งหากผู้ชนะการประมูลไม่สามารถจ่ายเงินตามระยะเวลาที่กำหนดจะมีผลกระทบต่อภาครัฐอย่างแน่นอน

     
        ด้าน นายรุจิระ บุนนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แสดงความคิดเห็นต่อกรณีบริษัทฯที่ชนะการประมูลไม่สามารถชำระหนี้การประมูลว่า
หากผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่บางรายไม่สามารถจ่ายเงินการประมูลได้
จะมีผลเสียหายต่อรัฐเป็นอย่างมาก เนื่องจากรายได้จากการประมูลถือเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
ตามโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่

                เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อ
โดยเฉพาะในภาวะที่บริษัทฯชนะการประมูล
จะต้องจ่ายเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกของใบอนุญาตคลื่นความถี่
900 MHz ท่ามกลางกระแสข่าวที่เกิดขึ้นถึงความไม่พร้อม
การส่งสัญญาณข้ามประเทศจากนักลงทุนประเทศอิหร่านที่ประกาศชัดว่าสนใจในกิจการโทรคมนาคมไทย
จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองยิ่งนัก ไม่แน่ว่าการเข้ามาของทุนข้ามชาติอย่างอิหร่านในครั้งนี้อาจเป็นมิติใหม่ที่เกิดขึ้นในระบบโทรคมนาคมของไทยก็เป็นได้โดยเฉพาะกับค่าย
JAS