นำระบบไอทีบริหาร ‘โอทอป’ ต่อยอดธุรกิจขับเคลื่อนสู่เอสเอ็มอี

นำระบบไอทีบริหาร ‘โอทอป’ ต่อยอดธุรกิจขับเคลื่อนสู่เอสเอ็มอี


เปิดไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ
“โอทอปโชว์เคส” สาขาทำเนียบรัฐบาล ร้านจำหน่ายสินค้าโอทอป ต้นแบบ โดยวันเปิดร้านนอกจากจะได้รับเกียรติจาก
รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล เป็นประธานแล้ว ยังมีผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี อาทิศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีและผู้บริหารกรมพัฒนาชุมชน
เข้าร่วม

อาจารย์จริญญา
ทะหลวย อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมทร.ธัญบุรี
ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา เปิดเผยว่า การสร้างโปรแกรมบริหารจัดการสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าโอทอปโชว์เคส
เป็นผลงานของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในโครงการจัดทำแผนการจัดตั้งและพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านจำหน่ายสินค้าโอทอป
ซึ่งเป็นการนำเรื่องราวของเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยเสริมการทำงาน โดยมีหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมทร.ธัญบุรีเข้ามาช่วยและเริ่มลงมือเขียนโปรแกรม
ทดสอบการใช้งานและปรับแก้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง

ขณะที่
น.ส.อัญชลี เสงี่ยมจิตร์ นักศึกษาชั้นปีที่
4
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า “โอทอป
โชว์เคส” สาขาทำเนียบรัฐบาลถือเป็นร้านต้นแบบ ที่มีผลิตภัณฑ์โอทอปจำหน่ายมากมาย
อาทิผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้ของประดับตกแต่ง ของที่ระลึก
รวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งมาจากหลายจังหวัดทั่วทั้งประเทศไทย ในฐานะผู้สร้างสรรค์ซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการร้านสินค้ารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์โอทอป
ช่วยบริหารจัดการเพื่อยกระดับสินค้า ชุมชนท้องถิ่นจากภูมิภาคต่าง ๆ
ให้เป็นเอสเอ็มอี รวมถึงการส่งออกในต่างประเทศต่อไป
อันจะช่วยสร้างรายได้สู่ชุ่มชนอย่างทั่วถึง

 

            อย่างไรก็ตามอาจารย์จริญญา
ยังได้กล่าวต่อในตอนท้ายว่า ผลงานที่เกิดขึ้นของนักศึกษานอกจากจะเป็นการนำองค์ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดไปสร้างสรรค์และพัฒนา
จนเกิดเป็นโปรแกรมเพื่อบริหารจัดการร้านสินค้าแล้ว
ยังทำให้เกิดการแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน เกิดเป็นเครือข่ายสินค้าโอทอปที่มีความเชื่อมโยงกันทางธุรกิจ
ส่งผลทำให้เกิดความเข้มแข็งมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันในตลาด
และที่สำคัญหากคนไทยซื้อของในร้านจำหน่ายสินค้าโอทอปนี้
เงินจะกระจายหมุนเวียนกลับไปสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างแน่นอน

                และนี่คืออีกหนึ่งเรื่องราวดี
ๆที่เกิดขึ้นจากรั้วมหาวิทยาลัย
กระทั่งนำมาสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมจนเกิดเป็นร้านต้นแบบการจำหน่ายสินค้าโอทอปผลิตภัณฑ์ชุมชน
อันสอดรับกับแนวทางที่รัฐบาลได้กำหนดไว้