จุดเปลี่ยนชีวิตเพื่อคนริมคลอง

จุดเปลี่ยนชีวิตเพื่อคนริมคลอง


โดยจุดเริ่มต้นจากบริเวณเขื่อนเดิมอุโมงค์ยักษ์พระรามเก้ารามคำแหงไปทางประตูระบายน้ำคลองสองสายใต้ ความยาว 22.65 กิโลเมตร รวมระยะทางในการก่อสร้างเขื่อนสองฝั่งคลอง 45.30 กิโลเมตรจำนวนเงิน 1,645 ล้านบาท
ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการ
8 เขต ได้แก่ เขตดอนเมือง สายไหม
หลักสี่ บางเขน จตุจักร ลาดพร้าว ห้วยขวาง และวังทองหลาง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น
1,260 วัน

รองผู้ว่าฯกทม.
กล่าวว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนค.ส.ล.คลองลาดพร้าว-คลองสองเป็นโครงการนำร่องในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯเกิดจากความร่วมมือจากส่วนราชการ
ได้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) และกรมธนารักษ์โดยโครงการก่อสร้างดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลองจำนวน
43 ชุมชนในพื้นที่ 8 เขต รวมกว่า 7,000 หลังคาเรือน โดยในจำนวนนี้มีประมาณ 6
ชุมชนที่จะต้องย้ายออกไปยังที่ตั้งใหม่
ซึ่งได้มีการเจรจาเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องมากว่า
8 เดือนแล้ว

ทั้งนี้ภายหลังจากโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองลาดพร้าว-คลองสองแล้วเสร็จ
จะมีการขยายความกว้างคลอง
25-38 เมตรจะสามารถรองรับน้ำและผันน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้นกว่า
1 เท่าตัวขณะเดียวกันตามแผนงานบริหารจัดการน้ำของกทม.ระยะเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล
ยังมีคลองสำคัญที่ต้องดำเนินการอีก
8 คลอง ได้แก่
คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองเปรมประชากร คลองพระยาราชมนตรี คลองสามวา
คลองลาดบัวขาว คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองพระโขนง ซึ่งจะได้เตรียมการต่อไป

อย่างไรก็ตามกทม.ได้กำหนดแนวเขตก่อสร้างในพื้นที่โครงการแล้วตั้งแต่ระยะ
25-38 เมตรตามสภาพของคลองตามธรรมชาติเดิมก่อนถูกรุกล้ำ และคำนึงถึงประสิทธิภาพในการระบายน้ำเป็นสำคัญพร้อมทั้งได้เตรียมแผนงาน
3 ด้านในการดำเนินการควบคู่กันไป ได้แก่ แผนการก่อสร้าง
แผนการจัดหาที่อยู่อาศัย และแผนการประชาสัมพันธ์ โดยในส่วนของแผนการก่อสร้างนั้น
ภายหลังจากกทม.ลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทผู้รับจ้างแล้ว
ผู้รับจ้างจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ในทันทีในจุดที่ไม่มีบ้านรุกล้ำเป็นระยะทางประมาณ
8 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20
ของโครงการ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างต้นเดือนกุมภาพันธ์
2559 จากนั้นจะดำเนินการต่อเนื่องในชุมชนที่พร้อมเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่โครงการฯ
ต่อไ

ในส่วนของแผนการจัดหาที่อยู่อาศัย
กทม.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) (พอช.) กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมธนารักษ์ และกรมชลประทาน
ลงพื้นที่สำรวจบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำแนวเขตคลอง พร้อมทั้งจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนเพื่อรับฟังความต้องการ
และหารือแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม โดยพอช.ในฐานะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง
ได้สำรวจพบว่ามีชุมชนที่ได้รับผลกระทบโครงการ จำนวน
43 ชุมชน โดยในจำนวนนี้มี 6
ชุมชนที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตาม พอช. กรุงเทพมหานคร และกรมธนารักษ์
ได้ทำข้อตกลงร่วมกันที่จะเดินหน้าแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนริมคลองซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนฯ
สนับสนุนความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนริมคลอง
และพิจารณาการใช้ที่ดินราชพัสดุที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อื่นมาจัดทำโครงการที่อยู่อาศัยช่วยเหลือประชาชนรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ริมคลองที่มีความจำเป็นและฐานะยากจน
เป็นต้น

อนึ่ง
เมื่อโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองลาดพร้าว-คลองสอง แล้วเสร็จตามแผนงานในปี
2561 จะสามารถเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำฝนและการระบายน้ำได้มากขึ้นกว่าร้อยละ 80 หรืออีกกว่าเท่าตัว
อีกทั้งทำให้ง่ายต่อการขุดลอกทำความสะอาดคลองเพื่อเปิดทางน้ำไหล
ป้องกันการทรุดตัวของตลิ่งสองฝั่งคลอง
และแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในคลองรวมถึงทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมสองฝั่งคลองให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังสามารถเป็นเส้นทางเดินสัญจรและทางจักรยาน เพิ่มทางเลือกในการเดินทาง
เชื่อมสู่ระบบขนส่งมวลชน ล้อ ราง เรือ ในปัจจุบันและอนาคตได้สะดวกยิ่งขึ้น
อีกทั้งต่อยอดเพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำและเป็นแหล่งท่องเที่ยว
รวมถึงเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลองสาธารณะและการจัดระเบียบชุมชนแออัดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป