“ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้วยว่าทำยังไงจะช่วยประเทศไทยให้เข้มแข็งขึ้น
แล้วก็เชื่อมโยงกับโรงงานชิ้นส่วนประกอบซึ่งผมคิดว่าเราทำได้
ชิ้นส่วนอุปกรณ์หลักก็ว่ามาแต่ส่วนประกอบภายในหรืออื่น ๆ
เราก็น่าจะต้องทำเองได้บ้างเหมือนกับหลาย ๆ ประเทศรอบบ้านเขาก็ทำแบบนั้น
แล้วก็พยายามใช้วัสดุอื่น ๆ ด้วย วันหน้าก็ต้องพัฒนาไปสู่การทำรางที่มีคุณภาพ ต้องไปหาอุตสาหกรรมแหล่งต้นน้ำ
มันจะทำให้ประเทศเข้มแข็งไม่ใช่ว่าต้องพึ่งพาทุกอย่างไป”
เป็นประโยคสำคัญที่ทำให้เวบไซด์
Thai
quote นำไปต่อยอดสืบค้นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะเมื่อขบวนรถไฟฟ้าหลากสีถือกำเนิดขึ้นจากปฐมบทโครงการสายสีม่วง
(บางใหญ่ – เตาปูน) ถึงตอนนั้นประเทศไทยจะเป็นเช่นไร
การเตรียมการในการรองรับเมื่อวันนั้นมาถึงเป็นเรื่องน่าคิดน่าติดตาม
ที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือหลักสูตรในรั้วมหาวิทยาลัยกับการผลิตบุคคลากรรับกระแสดังกล่าวจะเป็นเช่นไร
เราลองไปฟังเรื่องราวดี ๆจาก ผศ.ดร.ศิวกร อ่างทอง คณบดีคณะวิศกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.)พูดถึงเรื่องนี้กันดีกว่า
“ถ้าพูดถึงวิศกรที่จะมาทำงานทางด้านรถไฟ
จริง ๆแล้วมันต้องอาศัยจากวิศวกรหลาย ๆด้านลำพังเพียงด้านเดียวคงทำไม่ได้
ยกตัวอย่างเช่นเครื่องกลจะทำหน้าที่ในการออกแบบ ซ่อมบำรุงถ้าเป็นรถไฟระบบไฟฟ้าจะต้องมีไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อน
โยธาก็จะเป็นเรื่องการทำระบบ การวางราง การทำสถานี ในส่วนของอิเล็กทรอนิคก็ทำหน้าที่ในการควบคุม
จะเห็นว่ามันมีวิศวกรหลายสาขามากๆเบื้องต้นก็เป็นความขัดแย้งกัน หลาย ๆ คนคิดว่าทำไมเราไม่ทำวิศวะสาขาเช่นวิศวกรรมระบบรางขึ้นมา
1 สาขาประเภทที่ว่าตรง ๆ กันไปเลย แต่ในความเป็นจริงมันทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะว่าวิศวะในแต่ละสาขามันต้องมีความเป็นเฉพาะทางถ้าเรียนรู้ทุกอย่างมันจะกลายเป็นเป็ดที่ไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนอย่างในวงการแพทย์ที่จะต้องมีแพทย์เฉพาะทาง
อันนั้นมันจะไปอีกทางหนึ่งที่จะมีความเชี่ยวชาญ”
เพราะฉะนั้นในมุมมองของตนคิดว่าทำไมเราถึงไม่ทำวิศวกรรมที่เป็นวิศวะระบบรางโดยเฉพาะเพราะว่ามันไม่สามารถทำได้ในเวลาที่มีข้อจำกัด
4 ปี เด็กเหล่านี้จะไม่สามารถไปทำงานคือเราไม่สามารถสอนเด็กให้เรียนรู้ระบบรางทุกเรื่องได้
เราจึงต้องแยกกัน แยกสาขา แยกความเฉพาะเจาะจงเมื่อเรียนเป็นวิศวะแล้ว อย่างเรียนวิศวะเครื่องกลก็ไปทำหน้าที่ในการออกแบบชิ้นส่วน
ถ้างานของโยธาก็ไปเรียนเรื่องของการออกแบบ การซ่อมบำรุง เราก็กลับมาคิดว่าแล้วเราจะทำแบบไหน
ปัจจุบันมีหลายแห่งที่เปิดแล้ว ยกตัวอย่างเช่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังก็เปิดแล้ววิศวกรรมระบบราง
แต่ก็เป็นเครื่องกลระบบรางเหมือนกัน น่าจะมีสัก 1-2 ที่ที่กำลังเปิดอยู่
เราเองก็คิดว่าโอเคเราทำวิศวะมานานน่าจะลองทำเพื่อจะให้เด็กของเราวิศวกรของเรามีความรู้พื้นฐานพอที่จะเข้าไปทำงาน
ต้องเข้าใจอย่างนี้นะครับว่าในมหาวิทยาลัยนี่เราไม่สามารถสร้างคนให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูงได้ระดับที่เรียน
4 ปี จบปุ๊บสามารถทำงานตรงไหนก็ได้
แต่เราจะสร้างคนให้มีพื้นฐานพอที่จะเข้าไปอยู่ในเซคเตอร์ของการทำงานแล้วเข้าไปเรียนรู้ได้รวดเร็ว
สามารถทำงานได้อย่างตรงตามความต้องการ นั่นคือสิ่งที่เรามีความพยายาม
ผศ.ดร.ศิวกร
ยังได้กล่าวต่อว่าเราได้พัฒนาหลักสูตรของคณะวิศวะ เห็นว่าเรื่องของวิศวกรรมระบบรางมีส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตของเราเลยทำหลักสูตรใหม่ขึ้นมา
1 หลักสูตรโดยพัฒนาหลักสูตรจากวิศวกรรมเครื่องกลเดิมที่เรามีอยู่แต่ก็ยังสามารถทำงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้
โดยวิศวกรรมกลุ่มนี้จะมีความเชี่ยวชาญมีความรู้พื้นฐานพอจะไปทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านระบบรางได้ก็คือมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
เราจะใส่รายวิชาทางด้านระบบรางให้เขาเพื่อสามารถออกไปแอพพลายส์ใช้กับความรู้เครื่องกลเดิมที่มีอยู่
เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้นอกเหนือไปจากที่เป็นวิศวกรรมเพียวด้านเครื่องกล
ก็เลยทำหลักสูตรออกมา
ถามว่าความแตกต่างมีเยอะมั้ยต้องบอกว่าด้วยข้อจำกัดที่บอกว่าจะต้องเอากว.เครื่องกลด้วย
มันจะมีแค่ประมาณสักถ้าผมจำไม่ผิดในหลักสูตรน่าจะมีประมาณ 16 – 17 หน่วยที่มีความต่าง
ที่เด็กสามารถเลือกลงรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับระบบราง
ส่วนประเด็นที่ว่าหลักสูตรของเรากับมหาวิทยาลัยอื่นต่างกันหรือไม่
เรื่องนี้ได้รับการชี้แจงว่าจะมีความต่างกันบ้างเล็กน้อยตามลักษณะของแต่ละที่แต่ละแห่ง
สำหรับของมทร.ที่จะเปิดนั้นจะพยายามเปิดให้มีความโดดเด่นตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่า
เราต้องการสร้างวิศวกรที่เป็นนักปฏิบัติเพราะฉะนั้นเราก็มานั่งคุยกันว่าเราจะเปิดรับเด็กปวส.ที่จบทางด้านเครื่องกล
ปวส.ทางด้านช่างยนต์เดิมหรือช่างกลประเภทอื่น ๆเพราะเด็กปวส.จะมีทักษะมีพื้นทางด้านปฏิบัติดีอยู่แล้ว
เราก็เอามาใส่ให้เป็นวิศวกรรมระบบราง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาสั้น ไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องความอดทนของเด็ก
เรื่องของนิสัยในการทำงาน ความเป็นช่างเด็กเขามีอยู่แล้วนี่คือจุดเด่นของที่เราจะเปิด
เราเปิดหลักสูตรตามสภาวิชาชีพของเรา
คือการทำหลักสูตรของที่นี่ไม่ได้คำนึงถึงว่าเราทำหลักสูตรให้มันมีหลักสูตรขึ้นมา เราคำนึงว่าเด็กของเราจบไปจะไปประกอบอาชีพอะไร
ถ้าเขาไม่สามารถไปอยู่ในวงการวิศวกรรมทางด้านโดยตรง เขาจะสามารถทำอาชีพอื่น ๆได้
วิศวกรรมดครื่องกลทำที่อื่น ๆก็ได้ ทำในโรงงานอื่น ๆก็ได้
เพราะว่าเขาถือใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกล ตราบใดถ้าเกิดเขาถือใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมระบบรางอย่างเดียวมันไม่ได้
ไปทำอย่างอื่นไม่ได้มันก็มีข้อจำกัด
ตอนท้ายของการสัมภาษณ์คณบดีคณะวิศกรรมศาสตร์
มทร.ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้น่าสนใจว่าการที่ประเทศไทยจะมีโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ในการพัฒนาระบบราง
แน่นอนย่อมต้องใช้บุคลากรจำนวนหลายหมื่นคน จากตัวเลขของสวทน.ประมาณว่า 4 -5 หมื่นคนเฉพาะทางด้านวิศวกรไม่เกี่ยวกับคนงาน
มันต้องมีการเตรียมความพร้อมแล้วคนกลุ่มนี้ไม่ใช่สร้างเสร็จมันก็จะจบ เพราะว่าตอนนี้เราสร้างเราสร้างเฉพาะเมนโรด
ระบบมันจะต้องขยายออกไปเยอะ ฉะนั้นถึงแม้ว่าการลงทุนครั้งแรกจะแพงแต่ในที่สุดมันจะขนส่งได้เยอะแล้วก็ประหยัด
เพราะฉะนั้นคิดว่าการเปิดหลักสูตรในครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการทำตามนโยบายของรัฐประการแรก อีกประการก็คือตัวของมหาวิทยาลัยเองก็คงจะต้องเคลื่อนไหวเพื่อที่จะส่งเสริมนโยบายของรัฐด้วย
แล้วก็เตรียมความพร้อมให้เด็กของเราเหมือนกันว่าในเมื่อเขาจบไปต้องไปทำงานในกลุ่มนี้