เปิดพิมพ์เขียว Rubber Cityทางรอดอุตฯยางพารา

เปิดพิมพ์เขียว Rubber Cityทางรอดอุตฯยางพารา


ผมได้เดินทางลงพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดสงขลา
พร้อมกับคณะเพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานต่างๆ ตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลอาทิเช่นโครงการ
Rubber City มูลค่ากว่า 1,670 ล้านบาท
ณ ศูนย์บริการการลงทุนโครงการนิคมอุตสาหกรรมเมืองยาง ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ต.ฉลุง
อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา
ที่ได้มีการจัดตั้งมานานมาแล้วแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จสูงสุด”

             
ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจและชวนให้ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง ภาพที่หลายคนได้เห็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นดร.สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ก็ดีหรือแม้แต่ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรมฯลฯ
ได้รับการต้อนรับจากประชาชนด้วยบรรยากาศอันอบอุ่นก่อนจะตามติดคณะรัฐมนตรีไปเยี่ยมชมโครงการด้วย
นับเป็นภาพที่น่าประทับเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางหรือที่รู้จักกันในนามของ   
Rubber city

             อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวต่อว่ารัฐบาลนี้ได้เข้ามาสานต่อ
ผลักดัน ขยายผลการสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบคลัสเตอร์
ที่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงภาคธุรกิจอื่นๆด้วย เริ่มจากในพื้นที่ขยายไปสู่จังหวัด
ภูมิภาคและทั่วประเทศ และไปต่างประเทศ จึงจะเรียกได้ว่าเป็น
ฐานการผลิตยางพาราที่เต็มรูปแบบสามารถรองรับการลงทุนจากนักธุรกิจ
ผู้ประกอบการทั้งภายในและนอกประเทศได้ในอนาคต

            “เราได้ตั้งเป้าไว้ว่าในปี
2564 จะมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนโรงงานยางพาราไม่ต่ำกว่า 70 ราย รวมมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า
8,000 ล้านบาท ผลที่ตามมาจะเกิดขึ้นมากมายอาทิเช่นการจ้างงานกว่า 7,000 คน
การเพิ่มปริมาณการใช้ยางพารา ไม่ต่ำกว่า 1
2 แสนตัน/ปี และมูลค่าการผลิต 6,00014,000 ล้านบาทต่อปีเป็นต้นนะครับ
ทั้งหมดนั้นเป็นวิธีการแก้ปัญหายางอย่างยั่งยืนโดยการใช้ภายในประเทศให้มากขึ้น”

           
ขณะที่เวบไซด์ Thai quote ได้ติดตามถึงพิมพ์เขียวโครงการดังกล่าวของกระทรวงอุตสาหกรรม
พบรายละเอียดว่า นิคมอุตสาหกรรมยางภาคใต้นั้นอยู่ที่ จ.สงขลา ตั้งอยู่ในพื้นที่ต.ฉลุง
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 2,284 ไร่
มีการแบ่งการพัฒนาใช้พื้นที่ออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ระยะที่ 1 จำนวน 867 ไร่
ซึ่งจะประกอบด้วยเขตอุตสาหกรรมทั่วไปจำนวน 205 ไร่ เขตประกอบการเสรีอีกจำนวน 114
ไร่ และยังมีพื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 548 ไร่ ส่วนระยะที่ 2
พื้นที่สำหรับพัฒนาอีกจำนวน  632 ไร่
และระยะที่ 3 อีกจำนวน 764 ไร่           

               ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้ระบุว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมต่อการลงทุนของอุตสาหกรรมยางเป็นอย่างยิ่ง
ไม่เพียงแต่ทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและโลจิสติกส์ทางบก
น้ำ และอากาศที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น แต่ประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับ
1 ของโลก ซึ่งโครงการ Rubber City ริเริ่มและพัฒนาภายใต้แนวคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ที่มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รองรับอุตสาหกรรมยางขั้นกลาง และขั้นปลาย เช่น
ยางคอมปาวด์ ยางรถยนต์ ถุงมือยาง และมีความร่วมมือกับหน่วยงานอำนวยความสะดวกสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมยางต่างๆ
อย่างครบครัน ช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
โดยการพัฒนาโครงการ
Rubber City จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี
2560

               เรื่องราวของนิคมอุตสาหกรรมเมืองยาง
ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ 
จ.สงขลา

โครงการสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ทางภาคใต้ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวคงจะถูกผลักดันให้เกิดผลสำเร็จได้ในเร็ววันนี้