มองลอดช่อง สมคิด “สอนมวย” กระทรวงอุตฯ

มองลอดช่อง สมคิด “สอนมวย” กระทรวงอุตฯ


ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
(15ธ.ค.) รองนายกฯสมคิดพร้อมด้วยคณะทำงานจึงได้ไปติดตามผลงานของกระทรวงอุตสาหกรรม
ที่มี นางอรรชกา สีบุญเรือง เป็นรัฐมนตรีหรือเจ้ากระทรวง
โดยมีบรรดาข้าราชการประจำในแต่ละกรมกองเข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง โจทย์ใหญ่ของการเดินทางมาในครั้งนี้นอกจากจะติดตามเรื่องของผลงานกระทรวงแล้ว
ยังมีการเกาะติดในเรื่องการทำงานของบรรดาข้าราชการประจำก่อนจะลงเอยจบลงที่การแถลงข่าวในภารกิจสำคัญ

                “ผมได้นัดแนะกับทางรัฐมนตรีอรรชกาว่าจะมาให้นโยบายเพราะใกล้วันที่กระทรวงอุตฯจะต้องจัดทำงบประมาณเพื่อส่งสำนักงบฯฉะนั้นผมจึงอยากจะให้งบประมาณที่ทำขึ้นมาเข้าเป้า
แล้วสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้าที่ควรจะมี เพราะกระทรวงอุตฯเป็นกระทรวงสำคัญมากที่จะเป็นตัวที่สร้างสิ่งใหม่
ๆให้กับประเทศ”  ดร.สมคิดกล่าว
ก่อนจะแจงต่อถึงข้อคิดดี ๆที่ให้กับทางกระทรวงอุตสาหกรรม  

                ข้อที่ 1 คืออยากให้เน้นใน 3
ปัจจัยคือเรื่องการสร้างมาตรฐาน ประการต่อมาคือ
Productivity หรือคุณภาพการผลิต สามคือเรื่องนวัตกรรม ผมได้ยกตัวอย่างของสิงคโปร์ว่าสิงคโปร์นั้นเขามีเอเจนซีที่เรียกว่าสปริงบอร์ด
สปริงก็คือมาจากตัว
S ก็คือ Standard ตัว
P คือ Productivity ตัว I คือ Innovation  3 ตัวนี้นี่คือกุญแจแห่งความสำเร็จของการพัฒนาสิงคโปร์ที่แท้จริง
ประเด็นก็คือว่าถ้าเราจะสร้าง 3 สิ่งนี้ให้เกิดขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมควรจะทำอะไรบ้าง
และการทำสิ่งเหล่านั้นนี่มันไม่ใช่แค่ว่าทำภายในกระทรวงมันจะต้องเชื่อมโยงกับข้างนอก
ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาคเอกชนต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อดีไซน์สิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

                ผมได้เรียนทางกระทรวงว่าในครม.เราได้เสนอเพื่อทราบรายชื่อในลิสต์รายชื่อคณะทำงานร่วมรัฐบาลเอกชนต่าง
ๆ 12 คณะ โดย 3 ใน 4 คณะจำได้ว่ามีคณะนวัตกรรมแล้วก็
Productivity อยู่ในนั้น แล้วก็มีอีกหลายคณะที่ตรงนี้ที่จะเอาผู้นำเอกชนทั้งหลายมาช่วยกระทรวงอุตฯสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

                ข้อที่ 2 ได้เรียนกระทรวงอุตสาหกรรมว่าอนาคตข้างหน้าเป็นยุคที่จะต้องสร้างเครื่องยนต์ขับเคลื่อนตัวใหม่หรือ
New
S  curve 10 ตัวที่ได้ประกาศไปเป็นนโยบายรัฐบาลแต่ New S  curve 10 ตัวเหล่านี้มันจะต้องมีหน่วยงานที่รองรับในสิ่งเหล่านี้
ขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มตั้งในการประชุมครม.ครั้งที่แล้วเสนอให้มีคณะผู้บริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น
สัปดาห์หน้าจะมีการระบุชื่อขึ้นมาเลย ทางกระทรวงอุตฯก็ต้องมีหน้าที่สร้าง
New
S  curve นี้ขึ้นมา S  curve เหล่านี้ถ้าท่านยังจำได้เช่นเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งอนาคต
อิเล็คทรอนิกส์แห่งอนาคตเป็นต้น หมายความว่าบุคลากรในกระทรวงต้องมีแล้วที่จะรองรับสิ่งเหล่านี้
ถ้า
Expert ภายในกระทรวงมีไม่พอก็ต้องเอามาจากเอกชน
มาจากข้างนอกเพื่อให้สามารถที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ผลักดันให้การพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นได้

                “ในอดีตกระทรวงอุตฯถือเป็นเสาหลักที่สร้างเรื่องของอาหาร
เรื่องสิ่งทอ สร้างเรื่องเหล็ก แต่ขณะนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว แล้วเทรนด์ของประเทศไทยก็ไปอีกเส้นทางหนึ่งแล้ว
เราต้องเร่งสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ฉะนั้นก็ได้มาเรียนให้ทางกระทรวงทราบว่าให้รีบจัดตั้งเพื่อที่จะเตรียมการในเรื่องนี้โดยฉพาะ
ขณะเดียวกันสิ่งที่จะมารองรับคือ
S curve
ก็คือคลัสเตอร์ การบริหารจัดการคลัสเตอร์เหล่านี้องค์กรข้างในกระทรวงต้องมีการจัดองค์กรที่จะพร้อมที่จะช่วยทำให้การบริหารขับเคลื่อนให้เป็นไปโดยราบรื่น

                รองนายกฯยังได้กล่าวต่อว่า
สำหรับข้อที่ 3 ได้ฝากเรื่องของ
SMEs กับเรื่องของ New
start up อันนี้คงไม่ต้องพูดซ้ำซากเพราะคงทราบดีอยู่แล้ว
ประเด็นที่ตนพยายามย้ำก็คือว่าตัว
SMEs แล้วก็ตัว start
up ก็คือว่าตัว start up มันไม่ใช่รอให้ธุรกิจนี่เกิดขึ้นมาแต่มันต้องรอตั้งแต่สมัยธุรกิจมันเริ่มฟูมฟักขึ้นมาเพียงแค่แนวความคิดนี่จะไปเอามาจากไหน
อันนี้คือการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงกับบริษัทเอกชน ตรงนี้องค์กรของกระทรวงอุตฯต้องรองรับสิ่งเหล่านี้
ตนก็เสนอให้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมว่าให้ทำลักษณะคล้าย ๆมีบอร์ดอะไรขึ้นมาเหมือนสปริงบอร์ด
ที่เอาข้าราชการระดับสูงในกระทรวงบวกกับผู้นำที่เชี่ยวชาญในสิ่งเหล่านี้เข้ามาประชุมร่วมกันบ่อยครั้ง
เพราะผู้นำเหล่านี้เขาไม่ได้เข้ามาเพื่อจะขอ เขาขันอาสามาเพื่อจะเอาพลังของเขาในเอกชนมาช่วย
สักครู่ได้ถามทางกระทรวงยกตัวอย่างเช่นสถาบันสิ่งทอ เรามีหน้าที่ที่จะช่วยสร้างสิ่งทอแต่สิ่งทอสมัยนี้ไม่ได้แข่งกันที่ต้นทุนแข่งกันที่ดีไซน์
แต่สถาบันสิ่งทอไม่มีดีไซน์เนอร์ สิ่งเหล่านี้ต้องปรับเปลี่ยน
ซึ่งทางกระทรวงก็พร้อมที่จะทำเมื่อทิศทางชัดเจนเขาก็กล้าที่จะเคลื่อนไหว
ฉะนั้นคณะนี้ผมจะเรียกว่าบอร์ดร่วมกันระหว่างกระทรวงกับเอกชนอยากให้มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละครั้งสองครั้ง
แล้วงานมันก็จะเริ่มเดิน อันนี้คือหลักใหญ่ ๆ 3 ข้อ

อีกส่วนหนึ่งก็คือว่าเรื่องที่จะทำให้เขาเรียกว่า
Business
easing อะไรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินความสะดวกให้เร็ว
ขณะนี้เรื่องของการขอใบอนุญาตถือว่าเริ่มดีขึ้นแล้วแต่ต้องทำยังไงถึงจะให้สั้นที่สุด
น้อยกว่า 7 วันเป็นต้น เรื่องของกรมโรงงานมีอะไรที่ติดขัดไหมคือตรงนี้เป็นสิ่งที่เราควรจะอำนวยความสะดวกให้กับเอกชนเขา
หลัก ๆ ก็มีแค่นี้นะครับ
แต่ว่าข้างในนี้เป็นรายละเอียดอยากรู้อะไรก็ไปสัมภาษณ์ข้างในนะครับ

ผมเชื่อว่ารมต.อรรชกาทราบดีอยู่แล้ว
เพียงแต่บางทีไม่มีกำลัง ผมก็เรียนทางกระทรวงบอกว่าโครงสร้างกระทรวงมันเก่ามาก ลักษณะของงานมันเป็นไซโล

เช่นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกรมเดียวมันดูทุกอย่าง แต่ถ้าบอกว่า
New
S curve 10 ตัวนี่ถามว่าถ้าโดยโครงสร้างเดิมใครดู มันไม่มีใช่มั้ย Innovation
มีใครดูมั้ย
มันไม่มีใช่มั้ยเพราะมันไม่มีการดีไซน์สิ่งเหล่านั้นใช่มั้ย
ฉะนั้นวิธีเดียวที่จะทำให้มันเกิดก็คืออะไร
ก็คือลืมซะว่ามีอย่างนี้อยู่ใช่มั้ยครับก็ไปเวิร์คร่วมกันข้างบนแล้วก็ร่วมกันภายนอก
วิธีอย่างนี้มันก็ทำให้เป็นการ
Shot cut เพราะว่าบางทีไปเปลี่ยนโครงสร้างในระยะสั้นมันเปลี่ยนไม่ได้อยู่แล้ว
ก็บอกทางท่านอรรชกาว่าถ้าส่งดาร์ฟแล้วไม่ทันงบประมาณก็ไม่เป็นไร ช้าไป 2-3
วันแต่ว่าให้ดีไซน์ดี ๆคืองบให้มันพอดี ๆแต่ว่าชกแล้วมันถูกเป้า เอาในสิ่งที่ควรจะทำ
สิ่งที่ไม่ต้องทำก็ไม่ต้องขอ

เคยเห็นโครงสร้างกระทรวงมั้ย
สำนักงานปลัด กรมโรงงาน กรมสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริม โลกสมัยใหม่มันเปลี่ยนไปแล้ว
มันก็ไม่มีใครที่สามารถไปคอนโทรลได้ มันก็ต้องมาช่วยกัน ค่อย ๆแก้กันไป คือเวลามันมีน้อยแล้ว
ท่านอรรชกาท่านทำได้อยู่แล้ว
  
fดร.สมคิดกล่าวในตอนท้าย

ที่มา
:
Thaiquote