1 มกราคมนี้ ที่ดินทั่วประเทศไทย
มีการปรับราคาขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังจากกรมธนารักษ์
มีการประเมินราคาที่ดินใหม่ในรอบบัญชี2559–2562 ทำให้ทั่วประเทศราคาที่ดินปรับขึ้น 25% ขณะที่ทำเลเกาะแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสายเก่าและส่วนต่อขยายสายต่างๆ
ราคาขึ้นสูงถึง 75% ล่าสุดมีการสำรวจจากบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้
จำกัด ระบุว่าปีหน้า ทำเลเกาะแนวรถไฟฟ้าที่ครองใจผู้บริโภคมากที่สุด
ยังคงเป็นสายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อน คือย่านอ่อนนุช
นายภูมิภักดิ์
จุลมณีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรกล่าวว่า จากการกลุ่มคนทำงานอายุ 25-35 ปี
และใช้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อนเป็นหลัก
ส่วนใหญ่ต้องการที่อยู่อาศัยใกล้รถไฟฟ้า เนื่องจากเดินทางสะดวก
และอยู่ห่างจากรถไฟฟ้า 500 เมตร ราคาอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท และส่วนใหญ่ 75% ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
ซึ่งส่วนหนึ่งจากคอนโดมีเนียมเสนอขายราคาสูงกว่างบประมาณที่มีอยู่ สะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่อาศัยคอนโดมิเนียมบริเวณโครงข่ายกลางกรุงเทพ
(เส้นสีเขียว) ที่เป็นเจ้าของส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้รถไฟฟ้าเป็นประจำ จึงประเมินได้ว่า
ยังมีความต้องการคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมากจากผู้ที่ต้องการซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
สำหรับทำเล
ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดสำหรับคนที่ใช้รถไฟฟ้าสายสีเขียวก็คือ “อ่อนนุช” ซึ่งมีราคาห้องชุดที่ต่ำกว่าสุขุมวิทชั้นใน
ทำให้เกิดการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่
โดยเฉพาะบริเวณแยกบางนาได้มีการสร้างแบงคอก มอลล์ บนพื้นที่ 100 ไร่
และการสร้างส่วนต่อขยายของไบเทค ตลอดจนคอมมูนิตี้มอลล์บริเวณอ่อนนุช–พระโขนง ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวคึกคักและมีการสัญจรที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ตลาดเช่าที่เป็นชาวต่างชาติ
เช่น จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฯลฯ ได้ให้ความสนใจทำเลอ่อนนุชเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ปัจจุบันราคาปล่อยเช่าคอนโดฯ ในย่านอ่อนนุชขยับตัวขึ้นไปถึง 13% มาอยู่ที่ค่าเช่าเฉลี่ย 458.89 บาทต่อตารางเมตรหรือประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน
ในห้องชุดรูปแบบ 1 ห้องนอน
ทั้งนี้จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สัญจรด้วยรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อนเป็นหลัก
วิเคราะห์ได้ว่าความต้องการที่อยู่อาศัยในรูปแบบคอนโดมิเนียมมีแนวโน้มเติบโตขึ้น
เพราะสามารถขยายตลาดไปได้กว้างขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าที่ขยายออกไปสู่เมืองชั้นนอก
โดยผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสำคัญว่าจะต้องอยู่ใกล้ที่ทำงานให้มากที่สุด
แต่ถ้าหากสามารถเดินทางได้สะดวกก็พร้อมที่จะขยับขยายออกไปสู่พื้นที่ชั้นนอก
และอีกหนึ่งปัจจัยคือจากตัวเลขการสำรวจพบว่า 53% มีที่พักเป็นของตัวเอง
แต่มีเพียง 23% ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ อีก 22%อาศัยอยู่บ้านพ่อแม่
ที่เหลือ 8% อยู่กับคู่สมรส ซึ่งผู้บริโภคสองกลุ่มหลังนี้
เป็นกลุ่มที่มีโอกาสที่จะซื้อที่อยู่อาศัยในรูปแบบคอนโดมิเนียมในอนาคต
จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาโครงการใกล้ BTS ให้อยู่ในรัศมีไม่เกิน 500 เมตร ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก, ไม่เกิน800 เมตร ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลาง ส่วนกรุงเทพฯ
ชั้นในไม่จำเป็นต้องใกล้รถไฟฟ้า แต่ควรอยู่ในระยะ 1 กิโลเมตร ส่วนทางด้านราคาควรตั้งต่ำกว่า 3 ล้านบาท
เพื่อให้อยู่ในระดับที่ซื้อได้และคนกลุ่มนี้สามารถเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าได้เช่นกัน
ที่มา : Thaiquote