ผลรายงานคุณภาพอากาศทั่วโลกประจำปี 2024 เผยผลน่าตกใจสำหรับประเทศไทย เมื่อกรุงเทพมหานคร ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 5 อันดับแรกของเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก สถานการณ์น่าเป็นห่วงเมื่อพบว่าเมืองหลวงของไทยมีคุณภาพอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ดีเพียงแค่ 3 เดือนต่อปีเท่านั้น ขณะที่ช่วงเวลาที่เหลือประชาชนต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศที่เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพ
IQAir เปิดเผยรายงานคุณภาพอากาศโลกประจำปีฉบับที่ 7 แสดงให้เห็นแนวโน้มที่น่าวิตกของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย และภูมิภาคที่มีมลพิษสูงที่สุดในโลกประจำปี 2024
สำหรับรายงานปีนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านคุณภาพอากาศของ IQAir ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก ครอบคลุม 8,954 พื้นที่ใน 138 ประเทศ และภูมิภาคทั่วโลก
ข้อมูลสำคัญจากรายงานคุณภาพอากาศทั่วโลก 2024
– มีเพียง 17% ของเมืองทั่วโลกที่เป็นไปตามเกณฑ์ทางมลพิษทางอากาศขององค์การอนามัยโลก
– มีเพียง 7 ประเทศที่ผ่านเกณฑ์ ค่าเฉลี่ย PM2.5 รายปีตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก 5 µg/m³ ได้แก่: ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์เบโดส เอสโตเนีย เกรนาดา ไอซ์แลนด์ และนิวซีแลนด์
– ทั้งหมด 126 ประเทศและภูมิภาค (คิดเป็นร้อยละ 91.3) จาก 138 แห่ง มีคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีสูงเกินค่าแนะนำของ WHO ที่กำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
– เมือง Byrnihat ในอินเดีย เป็นเขตเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในปี 2567 มีคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 128.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อินเดีย เป็นที่ตั้งของ 6 ใน 9 เมืองที่มีมลพิษสูงที่สุดในระดับโลก
5 ประเทศที่มีมลพิษสูงสุดในปี 2024 ได้แก่
- ชาด (91.8 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 18 เท่า
- บังกลาเทศ (78.0 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 15 เท่า
- ปากีสถาน (73.7 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 14 เท่า
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (58.2 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 11 เท่า
- อินเดีย (50.6 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 10 เท่า
เมืองอากาศสะอาดมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
- 1 เมืองออสโลประเทศนอร์เวย์ ค่า AQI อยู่ที่ 13
2 นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ค่า AQI อยู่ที่ 15
3 เมืองเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย ค่า AQI อยู่ที่ 16
4 เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ค่า AQI อยู่ที่ 18
5 เมืองออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ค่า AQI อยู่ที่ 20
คุณภาพอากาศทั่วโลก 91.3% ของประเทศและภูมิภาคทั่วโลก มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงเกินเกณฑ์ที่ WHO กำหนด
- เบอร์นิฮัต, อินเดีย เป็นเขตเมืองที่มีมลพิษสูงที่สุดในปี 2024 ด้วยค่าเฉลี่ย PM5 รายปีที่ 128.2 µg/m³ \
Cr. ภาพ : iqualityair.com
แนวโน้มคุณภาพอากาศในภูมิภาคต่าง ๆ
- เอเชียใต้และเอเชียกลาง เป็นที่ตั้งของ 7 ใน 10 เมืองที่มีมลพิษสูงสุดในโลก
- อินเดีย ครองตำแหน่งประเทศที่มีเมืองมลพิษหนักติดอันดับโลกมากที่สุด โดย 6 ใน 9 เมืองที่มีมลพิษสูงสุดอยู่ในอินเดีย
- สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิสเป็นเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากที่สุด ส่วนออนแทรีโอ (แคลิฟอร์เนีย) เป็นเมืองที่มีมลพิษสูงสุดในประเทศ ขณะที่ซีแอตเทิล (วอชิงตัน) เป็นเมืองใหญ่ที่อากาศสะอาดที่สุด
- มายากูเอซ (เปอร์โตริโก) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเขตมหานครที่อากาศบริสุทธิ์ที่สุดของปี 2024 ด้วยค่า PM5 เฉลี่ยเพียง 1.1 µg/m³
- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณภาพอากาศดีขึ้นในทุกประเทศ แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามพรมแดนและอิทธิพลของเอลนีโญ
- อินโดนีเซีย ยังคงเป็นประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดในภูมิภาค โดยอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก
- แอฟริกา ขาดแคลนข้อมูลคุณภาพอากาศอย่างหนัก โดยมีสถานีตรวจวัดอากาศเพียง 1 แห่งต่อประชากร 3.7 ล้านคน
- ละตินอเมริกา ไฟป่าในป่าแอมะซอนทำให้ค่าฝุ่น PM5 ในบางเมืองของบราซิลพุ่งสูงขึ้นถึง 4 เท่าในเดือนกันยายน
- โอเชียเนีย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นภูมิภาคที่มีอากาศสะอาดที่สุด โดย 57% ของเมืองในภูมิภาคนี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ WHO
สำหรับ ประเทศไทย ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมลพิษทางอากาศสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีค่าเฉลี่ย PM2.5 เกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ถึง 4 เท่า ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหามลพิษที่ยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
คุณภาพอากาศในประเทศไทยปี 2024 เป็นอย่างไร?
จากข้อมูลปี 2024 สะท้อนถึงปัญหามลพิษที่ทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง โดยแนวโน้มมลพิษในภาคเหนือและภาคอีสานมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น
- ประเทศไทยมีคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับที่ 45 ของโลก และอันดับที่ 6 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปริมาณฝุ่นพิษ 5 เฉลี่ยรายปีที่ 19.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยสูงกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO ถึง 3.96 เท่า
- กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับที่ 42 ของเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดของโลก มีปริมาณฝุ่นพิษ 5 เฉลี่ยรายปี 18.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
- ในปี 2567 เดือนมีนาคม – เมษายน เป็นช่วงที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุด โดยจังหวัดเชียงใหม่มีค่าเฉลี่ยฝุ่นพิษ 5 รายเดือนเรียงตามลำดับอยู่ที่ 71.6 และ 76.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินมาตรฐานค่าแนะนำของ WHO มากกว่า 10 เท่าซึ่งหมายถึงระดับมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ
- 6 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุด เรียงตามลำดับ ปริมาณฝุ่นพิษ 5 เฉลี่ยรายปี ได้แก่
- เชียงใหม่ (26.4)
- แม่ริม (25.2)
- ขอนแก่น (23.7)
- นครราชสีมา (21.5)
- กรุงเทพฯ (18.9)
- และหาดใหญ่ (14.3)
Cr. ภาพ : iqualityair.com
กรุงเทพมหานคร เผชิญฝุ่นหนักตลอดทั้งปี
ข้อมูลจาก IQAir แสดงให้เห็นว่า กรุงเทพฯ มีคุณภาพอากาศที่ดีเพียงแค่ 3 เดือนต่อปี ในขณะที่เมืองใหญ่อื่นๆ อย่างเชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่นเผชิญกับระดับฝุ่น PM2.5 สูงตลอดทั้งปี หลายเมืองในไทยมีมลพิษรุนแรงต่อเนื่องตลอดทั้งปีจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรกาจัดการคุณภาพอากาศ
ข้อมูลคุณภาพอากาศที่ไม่พอเพียงและบทบาทของชุมชน
แม้ว่าจะมีการขยายเครือข่ายตรวจวัดอากาศในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ชุดข้อมูลที่ขาดหายไปในแต่ะละพื้นที่ยังคงเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศราคาประหยัดที่ดำเนินการโดยประชาชน นักวิจัย และองค์กรชุมชน มีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้
“มลพิษทางอากาศเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่ประชากรส่วนใหญ่ยังคงขาดข้อมูลเกี่ยวกับระดับมลพิษที่พวกเขาเผชิญอยู่” Frank Hammes ซีอีโอของ IQAir กล่าว “ข้อมูลคุณภาพอากาศสามารถช่วยชีวิตได้ และช่วยสร้างความตระหนัก กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข และให้อำนาจแก่ชุมชนในการดำเนินการลดมลพิษทางอากาศ”
สำหรับ IQAir เป็นบริษัทสัญชาติสวิสที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการฟอกอากาศ โดยมีจุดมุ่งหมายช่วยให้บุคคล องค์กรและชุมชนสามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศและการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2506 IQAir เป็นผู้นำระดับโลกและดำเนินงานในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
อ้างอิง
https://policywatch.thaipbs.or.th/article/environment-99
https://www.greenpeace.org/thailand/press/54877/air-pollution-iqair-report-2024/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ