กทม. สรุปผล ‘ปิดไฟ 1 ชั่วโมง’ ปี 68 ลดพลังงานมากกว่าปีก่อน 5 เท่า!

กทม. สรุปผล ‘ปิดไฟ 1 ชั่วโมง’ ปี 68 ลดพลังงานมากกว่าปีก่อน 5 เท่า!

 “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” ในปี 2568 ร่วมกับ 7,000 เมืองทั่วโลก โดยสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 134 เมกะวัตต์และลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ 58.6 ตัน มากกว่าปีก่อน 5 เท่า

 

รุงเทพมหานคร (กทม.) จัดกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน ปี 2568” (60+ Earth Hour 2025) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 โดยร่วมกับ 7,000 เมืองใน 190 ประเทศทั่วโลก รณรงค์ให้ประชาชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานต่างๆ ปิดไฟและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ระหว่างเวลา 20.30 – 21.30 น. เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและลดภาวะโลกร้อน

 

โครงการ “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” จัดขึ้นเป็นปีที่ 18 โดยมี กรุงเทพมหานคร, มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (FEED), องค์กร WWF ประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  อาทิ ไฟประดับ ไฟอาคาร ป้ายโฆษณา เครื่องปรับอากาศ เตารีด เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลมตั้งพื้น 

 

 

สรุปผลปิดไฟ 1 ชั่วโมง ปี 2568

จากการคำนวณโดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) พบว่าการปิดไฟในปีนี้สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ถึง 134 เมกะวัตต์ ลดค่าไฟฟ้ากว่า  6 แสน 2 หมื่นบาท  และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 58.6 ตัน 

ซึ่งเทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 5,860 ต้น ภายใน 1 ปี หรือเท่ากับการปิดไฟของ 263,700 ครัวเรือน รวมถึงลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้เทียบเท่ากับ 485 เที่ยวบิน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ หรือระยะทางการใช้รถยนต์ดีเซลกว่า 351,600 กิโลเมตร

 

เปรียบเทียบโครงการปี 2567 และ 2568

เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของโครงการ “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” ระหว่างปี 2567 และ 2568 พบว่าปี 2568 มีผลลัพธ์ที่ดีกว่าปีก่อนอย่างชัดเจนมากกว่าปี 2567 เนื่องจากลดได้เพียง 24.65 เมกะวัตต์ น้อยกว่าปี 68 ถึง 5.43 เท่า ลดค่าไฟได้เพียง 130,182 บาท  และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพียง 11.0 ตัน  แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมในปี 2568 ได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนและหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น 

 

5 แลนด์มาร์คสำคัญร่วมปิดไฟเชิงสัญลักษณ์
เพื่อเป็นการแสดงพลังและสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน กรุงเทพมหานครได้ปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ใน 5 แลนด์มาร์คสำคัญ ได้แก่

 

  1. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

 

     2. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

 

     3. เสาชิงช้า

 

     4.  วัดภูเขาทอง  (วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร)

 

5. สะพานพระราม 8

 

นอกจากนี้ การไฟฟ้านครหลวงยังร่วมปิดไฟที่อาคารสำนักงาน เช่น อาคารวัฒนวิภาส (สำนักงานใหญ่คลองเตย), สำนักงานย่อยเพลินจิต และอีก 17 เขตของ กฟน.  

นอกจากนี้ยังสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์กร ให้มีจิตสำนึกเป็นหนึ่งเดียวกันที่จะช่วยกันประหยัดพลังงานแก้ไขและบรรเทาสาเหตุที่จะนำไปสู่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตการณ์อันเกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม 

 

│  กิจกรรมนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น หากประชาชนร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการประหยัด พลังงาน เช่น การเลือกใช้ขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ปลูกต้นไม้ และใช้พลังงานสะอาด 

 

พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของ กทม. เปิดเผยว่า ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก จึงได้รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนและทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือ ซึ่งกิจกรรมปิดไฟ เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความร่วมมือ หากประชาชนทุกคนตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและร่วมอนุรักษ์พลังงาน ด้วยการปฏิบัติให้เป็นวิถีชีวิตประจำวัน เช่น ถอดปลั๊กไฟทุกครั้งหากไม่ใช้งาน ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ปิดไฟที่ไม่ใช้งานทุกครั้ง การใช้จักรยาน การปลูกต้นไม้ การลดใช้รถยนต์ เดินทางด้วยรถสาธารณะมากขึ้น ก็จะช่วยโลกของเราจากปัญหาโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน 

 

 

ที่มาภาพ : กรุงเทพมหานคร 

อ้างอิง :  การไฟฟ้านครหลวง

และ กรุงเทพมหานคร 

 

เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ  : 

บทสรุป! คุณภาพอากาศทั่วโลกประจำปี 2024 ‘กรุงเทพมหานคร’ ติดท็อป 5 เมืองคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก

ผู้บริโภคคิดอย่างไร? เมื่อ Grab ใช้ AI สร้างภาพเมนูอาหาร !