ปลดล็อกแล้ว! “โซลาร์รูฟท็อป” ทุกกำลังผลิต ไม่ต้องขออนุญาตเป็นโรงงานแล้ว จากเดิมเกิน 1,000 กิโลวัตต์

ปลดล็อกแล้ว! “โซลาร์รูฟท็อป” ทุกกำลังผลิต ไม่ต้องขออนุญาตเป็นโรงงานแล้ว จากเดิมเกิน 1,000 กิโลวัตต์

ต่อจากนี้ไป การติดตั้ง”โซลาร์รูฟท็อป”ของไทย จะเติบโตแบบก้าวกระโดด มุ่งไปสู่ Carbon Neutrality ได้สะดวกขึ้น โดยโซลาร์รูฟท๊อปขนาดใหญ่ไม่เป็นต้องขอจดทะเบียนเป็นโรงงาน อันไม่ขัดต่อกฎหมายผังเมืองอีกต่อไป

ต้องขอยกเครดิตให้กับ 2 รมต. คือ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ร่วมใจกันแก้พระราชบัญญัติ 4 เรื่อง ในส่วนของ โซลาร์รูฟท็อป ได้สำเร็จ

 

 

เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ … (พ.ศ. …) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดยกเว้นให้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ทุกกำลังการผลิต ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานและไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งเดิมกฎหมายโรงงานกำหนดให้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก Solar Rooftop ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

 

ซึ่งการปลดล็อกจะช่วยอำนวยความสะดวก ลดความยุ่งยาก และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอกชนรายย่อยให้สามารถเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าสะอาดจากพลังแสงอาทิตย์ และจะกลายเป็นจุดแข็งสำคัญที่จะตอบสนองต่อเทรนด์การค้าโลกในอนาคตและช่วยดึงดูดการลงทุนต่างประเทศ (FDI) ให้เพิ่มมากขึ้น

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศแบบ “ซีโร่คาร์บอน” (Zero Carbon Emissions) และนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่ “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ที่สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศในการลงทุน และเน้นย้ำเรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนให้มากที่สุด

 

 

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดสรรเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐ ที่ได้จากผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ที่ได้รับสิทธิในการสำรวจแร่หรือการทำเหมือง มูลค่ากว่า 525 ล้านบาท ให้แก่ จ.สระบุรี 248 ล้านบาท จ.ลำปาง 41 ล้านบาท จ.นครราชสีมา 19 ล้านบาท จ.สุพรรณบุรี 19 ล้านบาท จ.ชลบุรี 16 ล้านบาท จ.นครศรีธรรมราช 14 ล้านบาท จ.ราชบุรี 11 ล้านบาท เป็นต้น

 

 

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างพิจารณาขยายกรอบการปลดล็อกโซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) และ โซลาร์ โฟลทติ้ง (Solar Floating) โดยได้ประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงานอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฮับของพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

 

อย่างไรก็ดี ในปี 2568 กพร. ยังมีแผนที่จะจัดสรรเงินกระจายสู่ชุมชนอื่นที่อยู่โดยรอบการประกอบกิจการเหมืองแร่เพิ่มเติม โดยตั้งเป้าหมายจะสามารถจัดสรรเงินได้ปีละไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเร่งให้ชุมชนได้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง กพร. มีแนวทางในการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องจากกิจการเหมืองแร่

 

รวมถึงการจัดสรรผลประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งแร่ให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง และผลักดันให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการด้วยความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการเหมืองแร่สีเขียว เพื่อมอบรางวัลให้กับเหมืองแร่ดีเด่นที่สามารถรักษามาตรฐานการประกอบการเพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรแร่อย่างคุ้มค่า

 

อ้างอิง

https://www.thansettakij.com/business/economy/615840
https://www.dailynews.co.th/news/4196654/