จับตาเปอร์เซีย –อาหรับ ตลาด “ตัวช่วย”ศก.ไทย

จับตาเปอร์เซีย –อาหรับ ตลาด “ตัวช่วย”ศก.ไทย


                ล่าสุดในวันที่รองนายกรัฐมนตรีในฐานะแม่ทัพเศรษฐกิจ พร้อมคณะได้เดินทางไปเยือนยังประเทศอิหร่าน
และโอมาน ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปิดตลาดสินค้าไทยสู่
เปอร์เซียและภูมิภาคตะวันออกกลาง

             ประเทศโอมานนั้น ถือเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง สินค้าส่งออกที่สาคัญ
ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง
ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง ผ้าผืน
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และ หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ

                ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากโอมาน นั้น อาทิ น้ำมันดิบ
สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สัตว์น้าสด แช่เย็น
แช่แข็ง แปรรูป รถยนต์นั่ง เคมีภัณฑ์ เนื้อสัตว์สาหรับการบริโภค ผลิตภัณฑ์ทาจากพลาสติก
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก และ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม

                การเดินทางไปเจรจาการค้าของดร.สมคิด
และคณะในครั้งนี้ จึงมีการคาดการณ์กันว่าจะเป็นการเจรจาเกี่ยวกับการสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจระหว่างไทย-โอมาน 
การจัดตั้ง JTC หรือสภาธุรกิจ ไทย-โอมาน
ที่จะช่วยเปิดทางให้กับการค้าระหว่างสองประเทศเป็นไปได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

                นอกจากนี้น่าจะมีเรื่องเกี่ยวกับความตกลงการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทยไปยังโอมาน
ทั้งข้าว และยางพารา เพราะโอมานเป็นหนึ่งในประเทศ ที่มีการผลิตยานยนต์
และมีความต้องการจะต้องใช้ยางพารา รวมถึงอาจข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องแรงงาน
และเรื่องของการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระหว่างกัน

                ขณะที่ประเทศอิหร่าน
ถือเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญเพราะ
เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก และเคยเป็นอดีตคู่ค้าที่สำคัญของไทย
 แต่เนื่องจากประเทศอิหร่านถูกมติคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมาเป็นเวลา
และเพิ่งผ่านพ้นจากการคว่ำบาตรมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดังนั้นการเดินทางไปเยือนของ
ดร.สมคิดและคณะ จึงถือเป็น “ชาติแรกๆ” ที่เยือนประเทศอิหร่าน

                สำหรับตลาดสินค้าไทยในอิหร่าน
จะมีสินค้าสำคัญ ๆ ที่เป็นทั้งสินค้าในภาคการเกษตรที่มีปัจจัยต่อเศรษฐกิจไทย อย่าง
ข้าว ยางพารา ผลไม้กระป๋อง แปรรูป และสินค้าที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม อย่าง เครื่องปรับอากาศ
และกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน

                ขณะที่สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอิหร่าน
จะมีสินค้าสำคัญๆ อย่างเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล สินแร่และโลหะ รวมถึงเรื่องของเทคโนโลยีในด้านพลังงาน
และในด้านอื่นๆ ที่อิหร่านมีความเชี่ยวชาญสูง

                แต่สิ่งที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ
และจับตามองเป็นพิเศษจะโฟกัสไปที่สินค้าส่งออกสำคัญของไทย อย่าง ข้าว และยางพารา

                 ต่อกรณีดังกล่าว
“ดร.เลอพงษ์ ซาร์ยิด” นายกสมาคมนักเรียนเก่าไทย – อิหร่าน เปิดเผยกับ  
THAIQUOTEว่า “เรื่องของข้าวไทย 3
แสนตันเชื่อว่าทางอิหร่านจะมีสัญญาณที่ดีในการนำเข้าจากไทย จากที่ก่อนหน้านี้อิหร่านเคยเป็นลูกค้าสำคัญของข้าวไทย
แต่ประสบกับปัญหาเรื่องคุณภาพ และเรื่องของการถูกคว่ำบาตรทำให้การค้าขายข้าวระหว่างไทยกับอิหร่านต้องสะดุดลง
กระทั่งอิหร่านก็หันไปซื้อข้าวจากอินเดียและเวียดนามแทน  เชื่อว่าต่อจากนี้คงจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นรวมถึงเรื่องของยางพารา
ที่เชื่อว่าการเดินทางไปของ ดร.สมคิด และคณะในครั้งนี้จะช่วยให้การค้าระหว่างไทยกับอิหร่าน
กลับมาพลิกฟื้นสู่ความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีได้อีกครั้ง

                เพราะอิหร่านไม่เพียงแต่เป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากร
75 ล้านคน แต่การเข้าถึงตลาดอิหร่าน ก็เท่ากับเป็นการขยายตลาดไปสู่ประชากรอีกกว่า
300 ล้านคนในตะวันออกกลางด้วย” นายกสมาคมนักเรียนเก่าอิหร่านกล่าว

                เมื่อทัพใหญ่ของไทยนำโดยแม่ทัพอย่างดร.สมคิด ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดฝีมือในด้านเศรษฐกิจ
ด้านการขยายตลาด นำขุนพลธุรกิจไทยเหินฟ้าสู่อาหรับ และเปอร์เซีย
จึงกลายเป็นสัญญาณเชิงบวกให้กับ ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจไทย ที่มั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า

                รัฐบาลมีความจริงใจที่จะช่วยขยายตลาด
และช่วยในการสร้างฐานสำคัญสำหรับสินค้าไทย ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
และกำลังจะกลายเป็นความสำเร็จที่นับจากนี้ไปภาคเอกชนของไทย จะต้องเตรียมความพร้อม
และต่อยอด เสริมสร้างศักยภาพเพื่อเจาะฐานตลาดที่เกิดขึ้นนี้ให้ได้  ตลาด 300 ล้านคน ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทั้งอาหรับ
และเปอร์เซีย