“ลุงตู่” ปลุกเกษตรกร ทำสวนผสม

“ลุงตู่” ปลุกเกษตรกร ทำสวนผสม


1. เรื่องการแก้ไขปัญหายางพารา
แบบยั่งยืน ครบวงจร ได้ให้รัฐมนตรีเกษตรฯ
, คลัง, อุตสาหกรรม, วิทยาศาสตร์สวทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆประชุมหารือในเรื่องการนำยางพาราตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน
เข้าสู่การผลิตให้ได้โดยเร็ว
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตรของฝ่ายเศรษฐกิจ  รวมทั้งการสนับสนุนให้บริษัทที่สมัครใจร่วมโครงการได้ใช้สิทธิประโยชน์
ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนของทั้ง สสว. และ
BOI  ในโครงการที่มีความต่อเนื่อง ตามกลไกตลาดเดิมที่มีอยู่แล้วโดยมีการแข่งขันทางการค้าโดยเสรี

2.
เรื่องการวิจัยและพัฒนา ที่ผ่านมาไม่ได้นำเข้าสู่การผลิต รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ภาครัฐ
ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันกำหนดความต้องการว่าผลงานการวิจัยใดบ้างที่จะตรงกับความต้องการของประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
สร้างนวัตกรรม ทำให้วัสดุต้นทุนมีราคาสูงขึ้นต้องแก้ไขหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขระเบียบการใช้จ่ายของสำนักงบประมาณเพื่อจะสามารถให้ใช้งบฯ
ได้ร้อยละ 10
– 30 ของแต่ละกระทรวง
เพื่อมาสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานการวิจัยพัฒนา

3.
เรื่องพื้นที่การปลูกยางพารามีการร้องขอการอุดหนุนจากรัฐบาลให้กระทรวงเกษตร
มหาดไทย กยท. ได้หารือแนวทางในการช่วยเหลือ 4.เรื่องการแก้ปัญหาการปลูกอ้อยเกินความต้องการ
พออะไรราคาดีก็แห่ปลูกอันนั้นจนราคามันตก กฎหมายที่เราออกไปในสมัยรัฐบาลนี้
ก็คือการมีมาตรการที่เข้มงวดในการที่จะก่อตั้งหรือสร้างโรงน้ำตาลห่าง 50 กิโลเมตร

“กฎหมายคือกฎหมาย
เพราะงั้นท่านก็ต้องไปใช้วิธีการอื่นนะครับ ว่าจะทำยังไง
แต่จะมาอ้างว่าเพื่อจะลดการช่วยเหลือ รัฐลง เพื่อที่จะรับซื้ออ้อยอะไรต่างๆเหล่านี้
จากเกษตรกรที่ปลูกไว้เยอะแยะไปหมด 4-5 แสนไร่ ผมว่าเหตุผลมันไม่พอดี เพราะงั้นหลักการคือกฎหมาย
เหตุผลก็คือทำยังไงจะลดพื้นที่การปลูกลง ไม่งั้นเดี๋ยวพออ้อยเยอะๆ มีปัญหาอีก
โรงงานผลิตไม่ทัน โรงงานไม่พอ รัฐบาลพยายามทำให้มันยั่งยืน”

5.
เรื่องการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ พยายามแก้ไข แต่ทุกท่านต้องร่วมมือทุกโครงการกับภาครัฐ
เอกชน และประชาชน ในลักษณะ
ประชารัฐ 6. การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร 
ทุกคนต้องเรียนรู้แก้ไขปัญห้าวยตัวเองต้องช่วยกันรักษาความสมดุลของธรรมชาติ
7. เรื่องการแก้ไขภัยแล้ง  หลายคนก็บ่น ว่ารัฐบาลมีมาตรการเพียงพอหรือยัง
แล้วจะแก้ยังไงในเมื่อต้นทุนมันไม่พอ ท่านต้องเรียนรู้  รัฐบาลมีมาตรการมาอย่างต่อเนื่อง 2 ปี เรื่องการสร้างการเรียนรู้
ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงสัตว์
เกษตรกรต้องปรับตัว วันนี้กังวลกับการประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง  พื้นทีปลูกพืชการเกษตรเดือดร้อนคนละอย่าง
แต่ถ้าประกาศเท่าเทียมกันทั้งหมด บางพื้นที่ไม่ได้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร
บางพื้นที่มีความเดือดร้อนเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค

“ฝากในส่วนของส่วนภูมิภาค
ส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยกันตรวจสอบ คสช. ไปตรวจสอบทุกพื้นที่
ว่าแล้งจริงหรือไม่  แล้งยังไง
แล้งเรื่องอะไร บางเรื่องอาจจะต้องดูแล บางเรื่องก็ไม่ต้องดูแล
เพราะมันไม่เท่ากันน่ะ อย่าให้รัฐบาลต้องบังคับใช้อำนาจใช้มาตรา 44”

ทีวี
โทรทัศน์ โซเชียลมีเดีย ไปทบทวนดูนะ จะช่วยประเทศชาติอย่างไร
ไม่งั้นก็เท่ากับช่วยกันทำลายประเทศต่อไปเรื่อยๆ
สร้างความเข้าใจไปต่อๆไปสอนให้ประชาชนไม่โตสักทีอะไรแบบนี้ ไม่โตเพราะอะไร
เพราะรัฐบาลที่ผ่านมาไม่เข้มแข็ง ไม่เข้มแข็งเพราะอะไร เพราะไม่แก้ปัญหาในเชิงองค์รวม
ไม่แก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ ไม่ยั่งยืน วันนี้ต้องให้เขาโตได้แล้ว ด้วยการเรียนรู้
ด้วยการสนับสนุน ด้วยการส่งเสริม
ด้วยความเข้าใจถ้าท่านไม่ช่วยผมไม่มีสำเร็จหรอกครับ

วันนี้ก็หลายกลุ่มเกษตรกรก็เตรียมการเคลื่อนไหว
เตรียมเรียกร้องเยอะแยะไปหมด บางคนก็ให้ไปแล้ว ก็มาขอใหม่อีก
ยางนี่ขอไม่รู้กี่ทีบางคนนี่นะ ผมก็จำได้นะ แล้วแก้ให้ตรงนี้แล้วก็โอเค รับได้
ยังไม่ทันแก้เสร็จเลย ขอใหม่ต่ออีกแล้ว 
ท่านจะเรียกร้องไปถึงไหนกัน ต้องอย่างใช้ผู้มีรายได้น้อยเป็นเครื่องมือ
นั่นแหละคือปัญหาประเทศไทย ขัดแย้งกันเอง ผลประโยชน์ตัวเอง สร้างความมีตัวตน จาก
No body เป็น Some body  ทำนองนี้

ปัญหาของชาติ
ทั้งสิ้น ต้องช่วยกันกลับมามองตนเองว่า เราจะร่วมมือกันอย่างไร ในคำว่า
ประชารัฐ ขอเวลาให้ รัฐบาล  คสช. ทำงานอีกปีครึ่ง จะได้ร่วมมือกันในเรื่องการปฏิรูปประเทศในระยะที่
1 แล้วปฎิรูปจะเป็น 2
3 4
5

สำหรับนักเรียนชั้น
ป.
ม.3 และ ม.6 ที่กำลังอยู่ในห้วงการอ่านหนังสือ ทบทวนตำรา
สำหรับการสอบประมวลความรู้ จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) หรือ
O-NET
 หลายคนก็บ่น O-NET  G-NET อะไรมันเยอะเกินไป
กระทรวงศึกษาเขาไปดูอยู่แล้ว บางอย่างก็จำเป็น แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เป็นภาระ
ทำไงให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการสอบ ระบบการศึกษาขณะนี้แย่ เพราะงั้นกระทรวงศึกษาก็ต้องสร้างความเข้าใจให้ทุกคนกระตือรือล้น
อยากสอบ อยากแข่งขัน อยากอ่าน แต่ไม่ขัดแย้ง นั่นแหละคือสิ่งที่สถานศึกษาต้องทำ บทบาทของ
ครู สำคัญที่สุด ต้องช่วยแนะนำแนวทางในการเตรียมตัวอย่างมีทิศทาง
ช่วยผู้ปกครอง ขอให้ทุกคนช่วยกันพัฒนาตัวเอง อย่าไปต่อสู้กับปัญหา
อย่าไปต่อสู้กับข้อสอบ ยากเกินไป ง่ายเกินไป อะไรทำนองนี้ คือโทษคนอื่นหมดยกเว้นตัวเอง

“การสอบไม่ใช่ความสำเร็จสูงสุด
หรือว่าการได้ปริญญาสูงสุด ไม่ใช่ มีงานทำ มีรายได้เพียงพอ เลี้ยงพ่อแม่
เหล่านี้สำคัญที่สุด”

ต้องขอความร่วมมือและให้กำลังทั้งผมทั้งท่าน
ต่างคนต่างให้กัน แต่สิ่งสำคัญคือความร่วมมือ แล้วก็อย่าหันไปมองที่ผ่านมาแล้ว
ถือว่าเป็นอดีตแล้วกัน ก็แก้ปัญหาตามวิธีการของกระบวนการอยู่แล้ว
แต่วันนี้ต้องมองอนาคต มองไปข้างหน้า มองไปข้างหน้า ว่าเราจะอยู่กันยังไง
พัฒนายังไงลูกหลานจะอยู่ยังไงมองอนาคต จะคุยกันได้รู้เรื่องทั้งหมด