“สตาร์ทอัพ”ไทยแลนด์ลุยเวทีโลก

“สตาร์ทอัพ”ไทยแลนด์ลุยเวทีโลก


ก่อนการกล่าวสุนทรพจน์จะเริ่มขึ้น
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเจ้าภาพได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการจัดงานไว้น่าสนใจว่า
โดยระบุว่าเพื่อตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการแข่งขันของประเทศ การประเมินจากสถาบัน
IMD
ถือเป็นสถาบันซึ่งเป็นที่ยอมรับย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศและมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน
ที่ผ่านมาสถานการณ์ความสามารถในการแข่งขันของไทยถือว่าลดลงมาก จากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่
27 หล่นมาเป็นอันดับที่ 56 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย,สิงคโปร์ได้รับการปรับอันดับที่ดีขึ้น
ดังนั้นการทำให้ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีจึงสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ ขณะเดียวกันยังต้องการรับฟังข้อเสนอแนะในการแข่งขันเพื่อให้แนวคิดในการพัฒนาเสนอต่อรัฐบาล
เพื่อกำหนดนโยบายเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป

             ขณะที่ดร.สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ว่าประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้หยุดนิ่งมานาน
ทั้งที่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยมีการพูดกันมามานานตั้งแต่
30 ปีที่แล้ว กระทั่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่ตนเข้ามาเล่นการเมืองได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขึ้น
แต่ปรากฏว่าไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด ทั้งนี้ยอมรับว่าจากปัญหาการเมืองที่ผ่านมาทำให้ขีดความสามารถของไทยต้องหยุดนิ่ง
กระทั่งเมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวและออกมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของไทยในเวทีต่าง

          อย่างไรก็ตาม
ตอนหนึ่งของการกล่าวสุนทรพจน์
รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการแข่งขันของประเทศว่า
รัฐบาลได้ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ๆมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้มีการผลักดันผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
(ครม.) ในการจัดทำโครงการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์
ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบไอทีของประเทศ มูลค่า
15,000
ล้านบาท และพัฒนาเกตเวย์อีก มูลค่า
5,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตชุมชนได้ทั่วประเทศ
อันจะเป็นประกอบทั้งในเรื่องของการค้า การศึกษาของประเทศได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังจะเสนอให้มีการปรับปรุงกระทรวงวิทยาศาสตร์
ด้วยการยกระดับให้เป็นกระทรวงเกรดเอ ที่จะเดินหน้าพัฒนานักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากอย่างจริงจัง
ที่ผ่านมาพบว่าคนเหล่านี้ไม่เคยได้รับการเหลียวแลทั้งที่งานวิจัยต่าง
ๆมีการศึกษาค้นคว้าไว้มากมาย ตนอยากสร้างความมั่นใจให้เอกชนว่าปี
2559 จะมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นโดยผ่านกระทรวงคมนาคมไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรถไฟฟ้า
การสร้างถนน การพัฒนาสนามบินทั้งที่สุวรรณภูมิและอู่ตะเภารวมถึงท่าเรือ
ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ตนมองว่าระยะเวลาปีครึ่งของรัฐบาลที่กำหนดจะเห็นเป็นรูปธรรม

             ดร.สมคิด
กล่าวอีกว่ารัฐบาลมีนโยบายในการปรับระบบการศึกษา โดยจะไม่เน้นการใช้ดัชนีชี้วัดด้วยการใช้งบประมาณต่อหัวแต่จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนามากที่สุด
ตั้งแต่ในระดับประถม อาชีวะและระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งยอมรับว่าหากจะเปลี่ยนสถานศึกษาที่เป็นของราชการคงจะทำได้ยาก
ดังนั้นรัฐบาลจะต้องขอความร่วมมือกับเอกชนในการนำร่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

             ตอนหนึ่งของการกล่าวสุนทรพจน์
รองนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่พบว่ายังมีความล่าช้าว่า ยอมรับว่าการเข้ามาตรวจสอบโครงการคอร์รัปชันต่าง
ๆ เช่นกรณีของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)บางครั้งพบว่ามีการเข้มงวดการตรวจสอบมาก
มีขั้นตอนยุ่งยากจนทำให้ข้าราชการโดยเฉพาะในท้องถิ่นไม่กล้าดำเนินการใด ๆอย่างโครงการตำบลละ
5 ล้านบาทไม่มีใครกล้าทำโครงการเพราะเกรงว่าจะถูกตรวจสอบย้อนหลังทำให้กระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณในท้องถิ่น
หรือแม้แต่การช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่กล้าใช้งบประมาณในการช่วยเหลือเพราะกังวลเรื่องเอกสารสิทธิ์
และลูกจ้างสวนยางจำนวนมากยังเป็นแรงงานต่างด้าวทำให้โครงการเป็นไปอย่างค่อนข้างล่าช้ามาก

          นอกจากนี้ที่ผ่านมาเอกชนยังได้ร้องเรียนว่าระเบียบของราชการในการทำธุรกิจมีขั้นตอนยุ่งยากมาก
โดยเฉพาะในส่วนของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และการศึกษาผลกระทบในเรื่องของสิ่งแวดล้อม
(อีไอเอ) ยังมีความล่าช้ามาก อนาคตขั้นตอนต่าง ๆเหล่านี้จะต้องลดขั้นตอนลง
ตอนนี้เราได้ลงลึกแก้ไขขีดความสามารถการแข่งขันแล้ว เชื่อว่าปีหน้าประเทศไทยน่าจะมีอันดับที่ดีขึ้น
ลำพังรัฐบาลอย่างเดียวคงไม่ได้ในส่วนของเอกชนก็จะต้องเข้ามาช่วยในเรื่องการกรอกข้อมูลโดยทำอย่างระมัดระวังไม่ใช้ให้เลขาทำ