เดินเครื่องศก.ฐานรากชุบชีวิตชุมชน

เดินเครื่องศก.ฐานรากชุบชีวิตชุมชน


ประการแรก
เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐโดยการสร้างรูปธรรมพื้นที่เศรษฐกิจชุมชน
โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน โดยเครือข่ายองค์กรชุมชน 77
จังหวัด กับภาคีภาครัฐและภาคธุรกิจ 21 องค์กร ได้แก่ธนาคารออมสิน
, สานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กรมการค้าภายในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) สานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ
สโมสรโรตารีสัมพันธวงศ์ กรมการพัฒนาชุมชน สานักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ
สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายธุรกิจ
Biz Club
Thailand สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท
เอสซีอีอินเตอร์เนชั่นแนล จากัด มูลนิธิสายใยแผ่นดิน เครือข่ายไทยพีจีเอสออร์แกนิคพลัส
,
องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) สานักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มูลนิธิสัมมาชีพ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
, สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ประการที่สอง
เป็นการบันทึกลงนามความร่วมมือ
สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่
โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน ระหว่างองค์กรชุมชน
หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน
ประการที่สาม เพื่อกำหนดแนวทางการเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากสู่การขับเคลื่อนการทำงานเชิง
Cluster และเชิงพื้นที่

             ทั้งนี้ดร.สมคิดได้กล่าวว่า
การที่ภาครัฐเอกชนและภาคประชาชนมาร่วมแสดงความสามัคคีแสดงพลังร่วมกันในการดูแลเศรษฐกิจฐานราก
แสดงให้เห็นว่าทุกคนจุดประกายร่วมกันเนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับท้องถิ่น
ซึ่งจะมีในเรื่องของยุ้งฉาง โกดัง การส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายในพื้นที่ การแปรรูปสินค้า
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า หากเกษตรกรต้องการลงทุนหรือเอกชนสร้างโรงงานแปรรูปสินค้าก็จะเสนอสิ่งจูงใจทางด้านการลงทุนเพื่อยกระดับสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
จะให้นำไปหักค่าใช้จ่ายภาษีของบริษัทได้

             คาดว่าปีนี้จะเริ่มเดินหน้าโครงการ
1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี ดังนั้นการลงนามในครั้งนี้จึงขอความร่วมมือจากภาคเอกชน
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้เข้ามาร่วมในการมองหาตลาดจากสินค้าเกษตรเพื่อเป็นเครือข่ายจำหน่ายสินค้าและกระจายตลาดไปตามช่องทางต่าง
ๆ รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่และแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ด้วยการกลับไปพัฒนานำสินค้าเกษตรมาวางขายตามแหล่งท่องเที่ยว โดยปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
จะลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
1 ตำบล 1
อำเภอ
1 แหล่งท่องเที่ยว เพื่อผลักดันเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาในปีนี้
1,500 ตำบล และเพิ่มเป็น 2,500 ตำบล
ในปี
2560

          ทั้งนี้แผนพัฒนาทุกด้านที่วางไว้จะเห็นเป็นรูปธรรมในปีนี้อย่างแน่นอน
และยังได้เดินหน้าในการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถค้าขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ
หากพื้นที่เป็นนักพัฒนาจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตและพัฒนาจีดีพีในพื้นที่เติบโตได้อย่างเข้มแข็ง
ยืนยันเจ้าสัวไม่ได้เข้ามากินประเทศอย่างที่มีบางคนตั้งข้อสงสัย
เพราะภาคเอกชนเข้ามาร่วมงานกับรัฐบาลทำงานจึงขอให้รอดูผลงานเพื่อพิสูจน์ผลงานร่วมกัน
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศจะปราศจากเอกชนไม่ได้

“ไม่ต้องกลัวว่าการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมจะเป็นการนำปลาใหญ่มาฮุบปลาเล็ก
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องดีที่ทุกคนยินดีเข้ามาช่วยกัน ถ้าเขาไม่ช่วยก็ได้เพราะเขาก็รวยอยู่แล้วแต่นี่เขายินดีเข้ามาช่วยเพราะมองเห็นแล้วว่าประเทศไทยเดินต่อไปแบบเดิมไม่ได้”

รองนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวต่อว่า
ภาครัฐจะผลักดันในเศรษฐกิจฐานรากผ่าน
5 มาตรการใหญ่
ๆด้วยกัน คือ
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชนบท ในสิ่งที่จำเป็นต่อการผลิตต่อชีวิตของคนในท้องถิ่น
2.การสร้างเอสเอ็มอีเกษตรอุตสาหกรรม เพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาสร้าง
1 เอสเอ็มอี เกษตรอุตสากรรมให้เกิดขึ้นใน 1 ตำบล 3.การสร้างตลาดให้ภาคการเกษตร 4.การผลักดันอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
และมาตรการสุดท้ายก็คือ ภาครัฐจะลงทุนอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ในทุกตำบล
เพื่อเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีคอมเมิร์ซ ซึ่งล่าสุด ครม.อนุมัติในหลักการแล้ว
โดยจะเริ่มลงทุนเดินหน้าให้เกิดขึ้นในทันที

          ขณะที่ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทไทยเบฟเวอเรจ กล่าวว่า
คณะกรรมการขับเคลื่อนประชารัฐได้มีแนวทาง 3 ข้อในการขับเคลื่อน โดยจะประกอบด้วย
1.การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง 2.การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ
3.การเพิ่มขีดความสามารถ
เบื้องต้นเอกชนจะจัดงบฝึกอบรมพนักงานในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น
เพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น