ปูนซีเมนต์นครหลวงจัดพอร์ตโพลิโอใหม่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เพื่อโลกยั่งยืน ชูนวัตกรรมปูนไฮดรอลิก เผาคาร์บอนต่ำ-ใช้พลังงานสะอาด
การนำหลักการปฏฺิบัติตามแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่กับ รักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ( ESG practices) เป็นสิ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ยุคที่ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เสื่อมโทรม อุตสาหกรรมซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรสูงและยังปล่อยปริมาณคาร์บอนสูง จึงจำเป็นต้องออกแบบอุตสาหกรรมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การยืนยันการปฏิบัติตามกฎหมายที่มีการกำกับดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากข้น และยังเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด การบริหารจัดการความเสี่ยง และการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่ดีของทางสังคมและโลก จึงจะนำความยั่งยืนและความมั่นคงในระยะยาวมาสู่อุตสาหกรรม
ปูนซีเมนต์นครหลวง ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านความยั่งยืน ในงานมหกรรมนวัตกรรมใหญ่ที่สุดของภาคใต้ ‘SITE 2024’ โชว์วิสัยทัศน์ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก ESG พร้อมชู ‘นวัตกรรมปูนซีเมนต์รักษ์โลก’ พลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ เดินหน้าผสานธุรกิจ ชุมชน สถาบันการศึกษา พร้อมดึงคนรุ่นใหม่ร่วมแสดงพลังขับเคลื่อนภารกิจลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ตอกย้ำเป้าหมายใหญ่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2573 (INSEE Sustainability Ambition 2030)
นายมนตรี นิธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง นวัตกรรมพลังงานทางเลือกเพื่อความยั่งยืนในกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ผ่านการบรรยายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหัวข้อ ‘Green Cement for Greener Future’ ในงานมหกรรมนวัตกรรมใหญ่ที่สุดของภาคใต้ ‘SITE 2024’ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Advancing the Southern Frontier : Unleashing Innovation for Sustainable Growth”
“กว่า 55 ปีที่กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ได้ผลิตและจัดจำหน่ายปูนซีเมนต์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆและบริการในกลุ่มบริษัทฯ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรม โดยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามจรรยาบรรณธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งดูแลชุมชนและสังคมรอบข้าง (ESG)”
สอดคล้องกับคุณค่า และค่านิยมองค์กร ‘ห่วงใย ใส่ใจ อนาคต’ (Caring About Our Future) โดยออกแบบนโยบายตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลที่ดีและรับผิดชอบ ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
3 หมุดหมายปลายทางยั่งยืน ในปี 2573
นายมนตรี กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2573 (INSEE Sustainability Ambition 2030) แบ่งเป็น ด้าน ประกอบด้วย
1.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและพลังงาน (Climate and Energy) มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้ลดลงจาก 530 กิโลกรัมคาร์บอนฯ เหลือ 470 ตันคาร์บอนฯ ลดปริมาณการใ้ช้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 10% ใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าทางเลือกให้ได้อย่างน้อย 20%
2.เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circualr Economy) เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงขยะให้มากขึ้นเป็นสองเท่า จากการใช้งานปัจจุบันประมาณ 5 แสนตัน ให้กลายเป็น 1 ล้านตัน เพิ่มการใช้งาน by-product อาทิ เถาลอย (Fly Ash) และสแลค (Slag) ให้มีประมาณ 65% และผลักดันการใช้พัฒนาสินค้า by-product ให้ได้ถึง 1.4 ล้านตัน
3.ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรน้ำ (Biodiversity and water) สร้างผลกำไรเชิงบวก ควบคุมการใช้น้ำในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดนอกจากนี้มีการร่วมมือกับชุมชนและผู้มีส่นได้ส่วนเสีย
สินค้าที่มีลดคาร์บอน จะมีการพัฒนา 3 ด้าน ประกอบด้วย
1.การพัฒนาสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Portfolio)
ปูนซีเมนต์นครหลวง ถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกในประเทศไทยที่ขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงตลาดสู่ปูนลดโลกร้อน (ปูนไฮดรอลิก) โดยการเปลี่ยนความต้องการของตลาดให้หันมาใช้ ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในรูปแบบถุง 100% ตั้งแต่ปี 2561 ภายใต้แบรนด์ “อินทรีเพชรพลัส” และ “ปูนซีเมนต์อินทรีเพชร Easy Flow”
2.พลังงานสีเขียว (Green Energy)
สร้างกระบวนการผลิตโดยนำวัตถุดิบจากการเกษตรมาพัฒนาพลังงานชีวมวล หรือ นำเศษวัตถุดิบซีเมนต์ มาผสมกับพลังงานน้ำมันฟอสซิล
3.นวัตกรรมสีเขียว นำหลักการESG เป็นแรงขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซีเมนต์ เช่น เทคโนโลยีใหม่ๆ ่ได้รับการเผยแพร่ฉลากสิ่งแวดล้อม EPD (Environment Product Declaration) ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 (ISO14025) ที่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ และส่งผลดีต่อสภาพอากาศที่ดีในระยะยาว รวมทั้งการเพิ่มจำนวนต้นไม้เพื่อทดแทนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
อินทรี อีโคไซเคิล
พลังงานจากขยะในโรงงาน
ด้าน นางสาวสุจินตนา วีระรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด บริษัทในกลุ่มบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง กล่าวว่า อินทรี อีโคไซเคิล มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป้าหมายนี้อยู่ภายใต้ แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ผ่านกระบวนการจัดการของเสียทั้งจากภาคอุตสาหกรรม และขยะมูลฝอยชุมชนมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF)
ทั้งนี้ ได้มีการปรับระบบการใช้พลังงานทดแทนมาใช้ โดยใช้วัตถุดิบบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการจัดการของเสียอย่างถูกต้อง แทนการใช้พลังงานจากถ่านหิน และยังเกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจริง อีกทั้งยังสนับสนุนลูกค้าและพันธมิตร ในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
“นอกจากดำเนินการภายในองค์กรแล้ว ยังแสวงหาความร่วมมือกับภาคธุรกิจด้านพลังงานรายใหญ่อีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับ บี.กริม เพาเวอร์ เพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีหลากหลายรูปแบบทั้งพลังงานสะอาด และพลังงานชีวมวล ร่วมกับบริษัท CO2 Innovation” นางสาวสุจินตนา กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงฯ ได้ร่วมออกบูธนิทรรศการภายใต้คอนเซ็ปต์ “นวัตกรรมปูนซีเมนต์รักษ์โลก” นำเสนอนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ลดคาร์บอน หรือ ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ด้วยการบดหินปูนแบบแยกส่วนที่ทำให้สามารถลดปริมาณคาร์บอนตลอดขั้นตอนการผลิต ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกร้อน.