ชำแหละเงินหมื่นดิจิทัล แค่ยาแก้ปวด ยิงเป้าชั่วคราว หรือ วางโครงสร้างแก้หนี้ เศรษฐกิจไทยยั่งยืน

ชำแหละเงินหมื่นดิจิทัล แค่ยาแก้ปวด ยิงเป้าชั่วคราว หรือ วางโครงสร้างแก้หนี้ เศรษฐกิจไทยยั่งยืน

ที่ประชุมกระตุ้นเศรษฐกิจ เคาะแจกเงินหมื่นดิจิทัล เฟส 2 หรือ ดิจิทัลวอลเล็ต กลุ่มคนเปราะบาง หวังกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงเทศกาลตรุษจีน หลังตัวเลขไตรมาส 4 ปี 2567 จีดีพีเติบโต พบ 3 ข้อ แก้โจทย์วิพากษ์ นโยบายแค่ยาแก้ปวด สู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างไทยยั่งยืน ปลดล็อกปัญหาหนี้ครัวเรือน

 

 

ที่ประชุมคณะกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2567 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอแนวทางการกระจายเงินช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุ หรือ มาตรการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป รวม 4 ล้านคน ใช้ใช้งบประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนเปราะบาง โดยมีเงื่อนไขในการจะต้องเป็นผู้ที่ “ลงทะเบียนแอปทางรัฐ”  มีรายได้ไม่เกิน 840,000 บาท/ปี พร้อมกับต้องไม่มีเงินฝากทุกบัญชีเกิน 5 แสนบาท   โดยกลุ่มคนที่ได้รับเงินไปแล้วในเฟสแรก จำนวน 14.55 ล้านราย จะถูกตัดสิทธิ์ 

อย่างไรก็ตามโครงการถูกวิพาษ์พิจารณ์ว่าอาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะมีความเสี่ยงที่การโยนเงินไปจะสูญเปล่าเงินไม่ถูกหมุนไปวงกว้าง กลุ่มคนเปราะบางยังคงไม่หลุดพ้นความยากจน นั่นทำให้ประเทศไทยไม่สามารถหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางมายาวนานหลายทศวรรษ 

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงโครงการที่เข้าไปเติมเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ว่าจะพิจารณาคัดเลือกกลุ่มคนที่จำเป็น ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงวัย มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวน 3-4 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเปราะบางแต่ไม่นับกลุ่มผู้สูงอายุทุกคน เฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นได้เป็นผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ หลังจากมีการตรวจสอบสิทธิครบถ้วน

รัฐบาลยังเชื่อว่า โครงการดังกล่าวจะต้องขับเคลื่อนต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมามีผลลัพธ์ที่ดี ประเมินจากตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรก ปีนี้หลังแจกเงิน กลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านราย มีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะหลังจากคนกลุ่มนี้รับเงินกลุ่มคนเหล่านี้ก็มีแนวโน้มการใช้จ่ายสูง ทำให้ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 4/2567 คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ 4.3 – 4.4% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เติบโตค่อนข้างสูง เป็นผลมาจากหลายปัจจัย แต่หนึ่งในสิ่งสำคัญมาจากการกระจายเม็ดเงิน 10,000 บาทของรัฐบาล

 

 

3 ปัจจัย รักษาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยยั่งยืน 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องพิจารณาถึงแนวทางการ เยียวยา  ‘รักษา’ ต้นเหตุสำคัญของความเปราะบางเศรษฐกิจไทย ที่ยังไม่หลุดกับดักความยากจนมาเกินกว่าทศวรรษนั้น ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหา ด้วยการปฏิรูปเชิงโครงสร้างและการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจในระยะยาว ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ คือ 

1.ติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลควรมีระบบติดตามและประเมินผล เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการต่าง ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน 

2.ความยั่งยืนทางการคลัง การดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว รัฐบาลต้องบริหารจัดการรายรับรายจ่ายอย่างรอบคอบ 

3.การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน นอกจากมาตรการพักชำระหนี้แล้ว รัฐบาลควรส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงิน และสร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชน เพื่อป้องกันปัญหาหนี้สิน

ดังนั้น ทางกระทรวงการคลัง จึงหารือเกี่ยวกับมาตรการการแก้หนี้ครัวเรือน หนี้ SMEs เป็นเรื่องหลักที่จะต้องผลักดันก่อน ทางกระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ สนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้ไม่เกิน 1 ปี โดยเลือกกลุ่มที่น่าจะดูแลและรับผิดชอบตัวเองได้ในช่วงเข้าสู่การฟื้นฟูหนี้ ภายหลังจากปรับโครงสร้างหนี้ กลุ่มคนเหล่านี้ ถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต 

นายพิชัย ได้อธิบายถึง มาตรการในการเข้าไปช่วยแก้ปัญหานี้ จะเลือกประเภทการเป็นหนี้หลัก ๆ เช่น หนี้บ้าน รถยนต์ และกลุ่มค่าใช้จ่ายเรื่องหนี้ค่าบริโภค โดยรวมมูลค่า 1.2-1.3 ล้านล้านบาท หากเข้าไปแก้ไขปัญหาจะช่วยลดภาระ  โดยพักหนี้แบบไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี โดยในระหว่างนั้นจะช่วยให้ประชาชน มีเงินไปบริโภคได้มากขึ้น หรือใช้จ่ายด้านลงทุน

“ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องเงินต้น ใน 3 ปีแรกให้ลดจำนวนผ่อนน้อยหน่อย แต่สำหรับคำว่าพักดอกเบี้ย ที่พัก 3 ปี สำหรับคนที่ปฏิบัติได้ดี ระยะยาวผ่อน 5-10 ปีก็จะได้ลดดอกเบี้ย แต่หากยังปฏิบัติไม่ดีจะต้องรับภาระดอกเบี้ยต่อไป” 

 

 

วิพากษ์ เงินดิจิทัล 2 แกนสำคัญ ที่ต้องยิงให้ตรงเป้า

ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ เคยโพสต์เฟซบุ๊กวิพากษ์นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยสรุปเกี่ยวกับนโยบาย มี 2 แกนสำคัญที่ผูกติดอยู่ด้วยกัน ยุทธศาสตร์ต้องการแก้ไขปัญหา ที่มีความพยายามยิงนัดเดียวให้ได้นก 2 ตัว

วิพากษ์แกนที่ 1 ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โจทย์เร่งด่วน มีข้อพิจารณาดังนี้คือ 

-รูปแบบไหน – แจกทุกคน หรือ มีข้อแม้อะไรบ้าง ไอเดียหนึ่งคือแทนที่จะแจกทุกคน แจกเฉพาะคนที่รายได้น้อยและจำเป็นต้องใช้เงินจริง ๆ ได้ไหม เพราะกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสจะใช้เงินที่ได้มามากที่สุด จึงถือว่ามีคัดกรองคนที่รายได้น้อยอาจทำได้ยาก เพราะกลุ่มแรงงานกว่าครึ่งอยู่นอกระบบ แต่วิธีหนึ่งที่อาจใช้ได้ตามที่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้เคยเสนอ ให้คัดกรอง ตัดกลุ่ม ‘คนรวย’  ออกเพราะข้อมูลตรงนั้นอาจหาได้ง่ายกว่า แม้จะรั่วไปบ้างอย่างน้อยก็ไม่ใช่คนรวยทุกคนจะได้

 

 

จ่ายไปเท่าไร – ใช้เงินเท่าไรถึงจะเหมาะสม

ในสภาวะเศรษฐกิจเปราะบาง และการส่งออกซึมยาวไปอีกนาน การจะกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่คำถามคือปริมาณเงินที่ใช้จำเป็นต้องมากขนาด 5 แสนกว่าล้านบาท เพื่อฟื้นการติดลบ 3% หรือไม่ ทางเลือกหนึ่งคือใช้เงินน้อยกว่านั้น 

โดยที่เก็บ “ยาแก้ปวด”ทางการคลังไว้ รองรับสถานการณ์เผื่ออนาคตเศรษฐกิจโลกล้มป่วยอีกเราจะยังได้มียาไว้ทาน แน่นอนว่าหากไม่ได้แจกทุกคนก็ช่วยประหยัดงบประมาณ

 

 

เอาเงินจากที่ไหน  และ จะกระทบฐานะการคลังของประเทศหรือไม่ 

โครงการนี้ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่มาก (มากกว่างบลงทุนในปีงบประมาณล่าสุดทั้งปี) จึงค่อนข้างจะมีความน่ากังวลว่าหากมีการแจกโดยที่ไม่สามารถเพิ่มจีดีพี ไปถึง 5-7% ตามที่คาดหวัง อีกทั้งไม่มีการส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ทางภาษีเป็นแสนล้านจะทำอย่างไร  จึงควรจะต้องลดลดขนาด นโยบายเพื่อรองรับการสูญเสียงบประมาณ 

 

 

เปลี่ยนผ่านโครงสร้าง สู่อนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลยั่งยืน 

แกนที่ 2  การเปลี่ยนผ่าน หรือ ทรานสฟอร์ม เพื่อโครงสร้างพื้นฐานรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล ถือเป็น โจทย์ระยะยาว เพื่อรองรับอนาคต

บางคนในภาคเทคโนโลยีชี้ให้เห็นว่านโยบายนี้อาจไม่ได้มองแค่กระตุ้นระยะสั้น แต่เป้าหมายจริง ๆ คือการวางโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลใหม่ เช่น ระบบชำระเงินของประเทศแบบใหม่บน Blockchain ที่แตกต่างจากพร้อมเพย์-เป๋าตังค์ที่คุ้นเคยกัน

ดังนั้น การแจกเงินอาจไม่ใช่แค่กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นแต่เป็นการสร้างแรงจูงใจดึงดูดให้คนเข้ามาใช้โครงสร้างพื้นฐาน สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ของประเทศ

 

 

พัฒนา Blockchain

สำหรับระบบการชำระเงินของพร้อมเพย์และวอลเลทเป๋าตังถือว่าดีมากอยู่แล้ว แต่การพัฒนา Blockchain ขึ้นมา จะช่วยเพิ่มโครงสร้งพื้นฐานที่แข็งแรง 3 ด้าน คือ Transparency (โปร่งใส) Security (ปลอดภัย) และ Programmability (โปรแกรมได้) แต่นโยบาย 10,000 บาท จะไม่ได้รับประโยชน์ชัดเจนทั้ง 3 ด้าน 

2.2 ความสัมพันธ์กับ CBDC คือยังไง

รัฐบาลอาจต้องจัดลำดับความสำคัญกับโจทย์การกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ โจทย์สร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่มากกว่ากัน กับความต้องการเป้าหมายยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวแม้เป็นไอเดียที่ดีก็มีความเสี่ยงที่จะพลาดนกทั้งสองตัว