6 ข้อเสนอ ปฏิรูป COP 29 บากู เวทีที่ต้องบังคับโลกเร่งเดินก่อนถึงเส้นตาย

6 ข้อเสนอ ปฏิรูป COP 29 บากู เวทีที่ต้องบังคับโลกเร่งเดินก่อนถึงเส้นตาย

แกะรอยข้อเสนอผู้เชี่ยวชาญ ผู้ร่วมประชุม อดีตผู้ร่วมประชุมใน COP ชี้เร่งลดโลกร้อนล่าช้า ควรเร่งรัดให้การประชุม COP29 ล่าสุดที่บากู อาเซอร์ไบจาน ไม่สูญเปล่า เดินตาม 6 ข้อปฏิรูปวางแผนให้จบก่อนเส้นตายปี 2568 และบรรลุเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามข้อตกลงปารีส ในปี 2573 หรือในอีก 5 ปีจากนี้   

โดย ประกายดาว แบ่งสันเทียะ

 

 

งานวิจัยระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจะต้องลดลงประมาณ 50 % ภายในปี 2573 จึงจะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามข้อตกลงในพันธสัญญาปารีส ( Paris Agreement) หรือเท่ากับว่าจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงต่อไปอีก 50% ในทุก10 ปี จึงจะทำให้บรรลุข้อตกลงดังกล่าว อันจะนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ตามข้อตกลงภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) 

ทั้งนี้ ผลการประชุมข้อตกลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่ามีความล่าช้า ในการบรรลุข้อตกลง จากรายงาน Emssion Gap 2024 ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ที่ระบุว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2566 ได้ทำสถิติปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นสูงสุด 57.1 กิกะตันคาร์บอน เพิ่มขึ้น 1.3 % เมื่อเทียบจากปี 2565 หากปล่อยไปเช่นนี้โดยไม่ทำอะไรเลย จะไม่อาจหยุดยั้งอุณหภูมิโลกที่จะสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส 

ดังนั้น การเจรจาที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2024 (พ.ศ.2567) หรือ COP29 ล่าสุดที่กรุง บากู ประเทศ อาเซอร์ไบจาน จึงมีวาระสำคัญ ที่จะต้องร่วมกันปฏิรูปและปรับแนวทางการขับเคลื่อน ตามพันธสัญญาฯให้เป็นรูปธรรม  เพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน ประชากรบนโลกมีสุขภาพดี มีความยุติธรรม และเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์ ทำให้โลกอยู่รอดปลอดภัยจากสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) 

 

 

 

 

ด้วยการออกแบบกระบวนการ COP และสร้างผู้นำในการขับเคลื่อนในการเปลี่ยนแปลงลดผลกระทบด้านสภาพอากาศให้โดยเร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากของภาวะโลกร้อน ประชากรบนโลกจะอยู่รอดบนโลกที่ปราศจากมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความเท่าเทียม เกิดสันติสุข 

โดยการประชุม COP 29 หัวข้อในการหารือจะครอบคลุม ตั้งแต่ การกำหนดนิยามและแนวทางการเงินในการเปลี่ยนผ่านใหม่ (New collective quantified goal -NCQG)  ไปจนถึงการลดผลกระทบ และลดการสูญเสีย และความเสียหายต่อสภาพอากาศของนานาชาติ 

ก่อนการเจรจาในบากู เจนนิเฟอร์  แบนซาร์ด (Jennifer Bansard) หัวหน้าทีม Earth Negotiations Bulletin ของ IISD ได้ตรวจสอบวาระการประชุมและอธิบายสิ่งที่ต้องจับตามองเตรียมพร้อมการประชุมที่ประเทศ อาเซอร์ไบจาน

 

 

สิ่งสำคัญที่สุดในวาระการประชุมที่ COP 29  

หัวใจสำคัญของการประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ จะต้องร่วมมือกันกำหนดแผนและเป้าหมาย NCQG เพื่อกำหนดกรอบในการทำงาน และข้อสรุปที่ชัดเจนและท้าทายให้มีความก้าวหน้า ก่อนเส้นตายในปี 2568 โดยกำหนดการรับรองตามข้อตกลงปารีส ที่จะต้องคำนึงถึงการความจำเป็นในการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนผ่านของประเทศกำลังพัฒนาเป็นวาระสำคัญที่สุด

 

 

 

 

ก่อนหน้านี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะร่วมกันระดมเงินทุน 100,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (3.4 ล้านล้านบาท)ต่อปี ภายในปี 2563-2564 ปรากฎว่ามีความคืบหน้าล่าช้า ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ จึงสร้างความไม่ไว้วางใจต่อการประชุมจากประเทศกำลังพัฒนา จึงต้องนำคำมั่นสัญญาในการระดมทุนดังกล่าวกลับมาเจรจาบนเวทีนี้อีกครั้ง เพื่อให้บรรลุข้อตกลงทางการเงิน 

แม้ทุกประเทศจะพยายามต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่หลายประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ต่างมีข้อจำกัดด้านขีดความสามารถ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในการเปลี่ยนผ่านด้านสภาพภูมิอากาศ จึงต้องเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกระตุ้นให้กลุ่มประเทศรร่ำรวย เดินตาม ‘คำมั่นสัญญา’ ภายใต้ข้อตกลงปารีส 

 

 

กระตุ้นให้ประเทศร่ำรวย 

สนับสนุนการเงินประเทศกำลังพัฒนา

ดังนั้นการหารือ เกี่ยวกับ NCQG จึงเป็นกุญแจสำคัญในการรื้อฟื้น ความไว้วางใจขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกระตุ้นให้กลุ่มประเทศร่ำรวย กำหนดแนวทางการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านระดับประเทศ ตามแผนการดำเนินงานของประเทศต่าง ๆ (NDC-Nationally Determinded Contributions) ที่ประกอบด้วย นโยบาย และมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภายใต้ข้อตกลงปารีส 

ท่ามกลาง ข้อกังขา ของนักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศถือป้ายประท้วงต่อต้านฟอสซิล และเร่งให้กำหนดเป้าหมาย NCQG หลังจากมีข้อตกลงใน COP 28 ที่ ดูไบ ที่ถือว่ามีความคืบหน้ามากที่สุดนับตั้งแต่เคยเจรจามา เพราะได้กำหนดการเปลี่ยนผ่าน ลดเชื้อเพลิงฟอสซิล และการขยายกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน ถือเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และท้าทาย ที่ถือเป็นทางออกที่ชัดเจนที่สุด ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ขณะที่ การประชุม ที่ บากู อาเซอร์ไบจาน ถือเป็นความหวังที่จะมีความคืบหน้าชัดเจนขึ้น ผ่านการกำหนดการทำงานที่จะช่วยลดผลกระทบ หรือกำหนดแนวทาง NDC เพื่อนัดประเมินในรอบถัดไป โดยต้องมีมาตรการติดตามพันธสัญญาที่ชัดเจน จากนานาประเทศถึงแนวทางการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อร่วมกันเดินให้ถึงเป้าหมายปี 2573

 

 

 

 

การประชุมที่บากูจะเป็นช่วงเวลาสำคัญ เพราะจะเป็นการหารือประเมินความก้าวหน้าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการร่วมมือกันจากฝ่ายต่าง ๆ จะทบทวนข้อกตกลง และกลไกระหว่างประเทศ ที่ช่วยลดการสูญเสียและความเสียหายจากการเปลี่ยนผ่าน จากวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ช่วยเหลืองวิธีการสนับสนุนทางการเงิน จะไม่ใช่ในรูปแบบกองทุนที่อิงตามโครงการซึ่งใช้เวลานานมากในการเข้าถึงเงินทุน แต่จะมีวิธีการกระตุ้นให้เกิดความชัดเจนในการสนับสนุนอย่างรวดเร็วไปยังประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่าน 

หลังจากที่มีการเจรจามาอย่างยาวนาน จนนำไปสู่การหารือกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือระดับโลกในการเตรียมพร้อมการปรับตัว โดยมีองความรู้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างยุติธรรม ที่ร่วมกันติดตามตรวจสอบ ท่ามกลางความตรึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการลดงบประมาณ

ผู้เคยร่วมประชุมมีความเป็นห่วง จึงร่างจดหมายลงความเห็นแนวทางการปฏิรูปรูปแบบการประชุมจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอาชีพต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำนโยบาย รวมถึงลอว์เรนซ์ ทูเบียนา อดีตทูตด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศประจำประเทศฝรั่งเศสและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมูลนิธิสภาพอากาศแห่งยุโรป แมรี่ โรบินสัน อดีตประธานาธิบดีไอร์แลนด์และทูตพิเศษสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ตลอดจน บัน คี มูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ  ได้ลงนามในจดหมาย เรียกร้องให้อันโตนิโอ กูเตร์เรสและไซมอน สตีลล์ เลขาธิการบริหารของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC – United Nations Framework Convention on Climate Change)

 

 6 เป้าหมายปฏิรูป สานต่อ สัญญาปารีส 

โดยแนวทางการปฏิรูปเป้าหมายหลักในการประชุม COP เพื่อหลีกเลี่ยง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตรายโดยการดำเนินการตามข้อตกลงปารีส  ประกอบด้วย 

 

1.เร่งและขยายการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดการปล่อยก๊าซทั่วโลกลง 50% ภายในปี 2573 ตามเส้นทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกที่ปลอดเชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2593 ลดการใช้ฟอสซิล เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด

 

2.เปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลกจากแหล่งที่มาไปยังแหล่งกักเก็บ ส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ฟื้นฟู และปกป้องแหล่งกักเก็บคาร์บอนธรรมชาติทั้งหมด

 

3.ขยายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีการชดเชยผ่านการดักจับและกักเก็บคาร์บอนและการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์

 

4.สร้างความยืดหยุ่น ปรับตัว รับต่อสภาพภูมิอากาศต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

5.ชดเชยการสูญเสียและความเสียหาย

 

6.ตั้งกลไกกองทุนลดผลกระทบและความเสียหาย 100,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐไปยังรัฐบาลที่เปราะบางที่สุดในโลกทันที เนื่องจากกลไกปัจจุบันไม่เพียงพอ

 

 

 

 6 องค์ประกอบ ปลายขับเคลื่อน COP

ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเสาหลักสำคัญต่อไปนี้จำเป็นต้องถูกนำกลับมาเป็นศูนย์กลางของกระบวนการ COP อย่างเร่งด่วนเพื่อให้โลกมีโอกาสบรรลุข้อตกลงปารีส จึงต้องมีการดำเนินการดังนี้ คือ 

  • การแลกเปลี่ยนความรู้และการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน
  • การปรับแผนการบรรเทาผลกระทบให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
  • การปรับตัว
  • การเงิน
  • การส่งมอบ
  • ความรับผิดชอบผ่านการวัดผล การรายงาน และการตรวจสอบ

 

 

ปฏิรูปกระบวนการประชุม สั้น กระชับ

ตรงเป้าปัญหา ติดตามชี้ทางออก

แนวทางการปฏิบัติควรถูกปรับโครงสร้างใหม่ด้วยการประชุม COP ประจำปีที่เล็กลง ควบคู่ไปกับการประชุมระหว่างช่วงที่บ่อยขึ้นซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง ในขณะเดียวกันก็รับประกันการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายอย่างกว้างขวาง

โดยจะแยกการเจรจาและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ การเจรจาหลายฝ่ายเป็นหัวใจสำคัญครอบคลุมการประชุม COP 

ซึ่งการปรับบทบาทที่มีโครงสร้างและถูกต้องตามกฎหมายของผู้มีบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคม ธุรกิจ และชนพื้นเมืองในฐานะผู้พิทักษ์โลก เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเข้าถึงกระบวนการทางการเมือง และการเป็นตัวแทนที่เหมาะสมระหว่างการเจรจา

การแยกเสาหลักเพิ่มเติมเพื่อกำหนดวาระที่มีความจำเป็น ตัวอย่างเช่น ธีมการส่งมอบที่มีโครงสร้างการลดพลังงานฟอสซิล ประกอบด้วย 1. ถ่านหิน 2. น้ำมัน 3. ก๊าซ 4. ป่าไม้ โดยมีหัวข้อย่อยเกี่ยวกับแผนการเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการลดเงินอุดหนุน การกำหนดราคาคาร์บอน เพื่อพัฒนาโครงการลงทุน

สำหรับองค์ประกอบ ประเด็นที่อาจเป็นพื้นฐานของวาระการปฏิรูปกระบวนการ COP  เพื่อวางรูปแบบการเจรจาจากความแตกต่างกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเร่งการดำเนินการ ป้องกันการเจรจาไม่สำเร็จทำให้ต้องกลับมาเจรจาใหม่ ประกอบด้วย 

1.การมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการและการส่งมอบไม่ได้ลดความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้าง การอำนวยความสะดวกในการเจรจาหลายฝ่ายและการรับรองการเป็นตัวแทนที่มีสิทธิ์เท่าเทียมกันเพราะถือเป็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดและการเข้าถึงกระบวนการทางการเมืองอย่างโปร่งใส ควรเป็นองค์ประกอบหลักของกระบวนการปฏิรูป 

 

2.กระบวนการ COP ที่ปรับโครงสร้างใหม่สามารถใช้รูปแบบไฮบริดได้ ตัวอย่างเช่น การประชุม COP อาจอยู่ในรูปแบบของการประชุมสุดยอดขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมที่มุ่งเน้นภายนอกและการนำเสนอแนวทางออก และความก้าวหน้าในการดำเนินการโดย ‘แชมป์ด้านสภาพภูมิอากาศ’ ที่แตกต่างกันทุกๆ 3 ปี ผู้เจรจาสามารถพบกันเพื่อเซ็นสัญญาครั้งสุดท้ายในเอกสารการทำงานที่เจรจาก่อนหน้านี้ เพื่อสร้างแรงผลักดันอย่างต่อเนื่อง

 

3.มีการตอบรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ รัฐบาล ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เยาวชน และเสียงของชนพื้นเมือง เพื่อส่งมอบแนวคิด และข้อเสนอแนะในการเจรจาเพื่อให้แน่ใจว่าบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ตามสัญญาปารีส 

 

4.ควรจัดตั้งกลไกการสร้างแบบจำลองและการคาดการณ์ระดับโลกสำหรับการคำนวณผลกระทบของอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ พร้อมกันกับระบุสถานะที่การประชุมสุดยอด COP ที่ปฏิรูปแล้ว (ทำให้เกิดการรายงานติดตามผลแบบรายวันว่าโลกอยู่ห่างจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส แค่ไหน

 

5.มีการจัดลำดับ ประเทศที่ควบคุมอุณหภูมิไม่สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสได้ โดยสำนักเลขาธิการ UNFCCC และการประชุม COP  ทำหน้าที่เผยแพร่ประเทศที่มีความก้าวหน้าอย่างแท้จริง

 

 

 

ข้อสรุป ขับเคลื่อนสัญญา COP29 ให้บรรลุเป้าหมาย  

สำหรับแนวทางการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศและพหุภาคีทั้งหมดควรมุ่งเน้นดำเนินการพร้อมกันดังนี้ ประกอบด้วย 

  • การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  • การปรับโครงสร้างงระบบอาหาร
  • การจำกัดปริมาณคาร์บอนและหาวิธีดูดซับในธรรมชาติที่สมบูรณ์
  • การสร้างแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอนธรรมชาติ เช่น การปลูกป่า การฟื้นฟูธรรมชาติ)
  • การหาทางออกโดยพึ่งพิงธรรมชาติด้านอื่นๆ 
  • การพัฒนาเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CCS/BECCS/CDR/DAC)
  • การปรับตัว/ความยืดหยุ่น การเงิน/ความเสมอภาค และการชดเชยความสูญเสียและความเสียหาย
  • การอัปเกรดข้อมูล สนับสนุนที่กำหนดในระดับประเทศควรได้รับการชื่นชม 

 

ทั้งนี้ให้บรรลุเป้าหมายโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 เซลเซียส จึงไม่ควรเสียเวลาไปกับการเจรจาที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความเสี่ยงต่อการถอยหลังมากกว่าการบรรลุเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นไปที่การส่งมอบ สหประชาชาติต้องมั่นใจว่าการเจรจา COP มีโครงสร้างเพื่อความสำเร็จ สิ่งนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากรูปแบบปัจจุบันเพื่อรับประกันความเท่าเทียมและความหลากหลายในตัวแทน ความปลอดภัยและสิทธิมนุษยชนของผู้แทนรัฐและผู้ที่ไม่ใช่รัฐทั้งหมด และบรรยากาศที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้สำหรับการแลกเปลี่ยน

 

ที่มา: https://www.hl.co.uk/news/us-election-2024-will-trump-or-harris-win-and-what-could-it-mean-for-the-economy

https://www.esgdive.com/news/us-election-2024-kamala-harris-donald-trump-esg-sustainability-climate-views-impacts-policies/731788/

https://www.cnbc.com/2024/05/02/trump-sec-would-end-climate-disclosure-rule-target-esg-investments.html

https://www.iisd.org/articles/explainer/what-will-happen-cop-29

What’s at stake for climate policy? ‘Who the hell cares,’ Trump says.