AI เทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นมิตรกับคนทำงานจริงหรือ? ช่วยลดภาระงาน หรือสร้างแรงกดดัน

AI เทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นมิตรกับคนทำงานจริงหรือ? ช่วยลดภาระงาน หรือสร้างแรงกดดัน

ปัจจุบันนี้ AI กลายเป็นเครื่องมืออัจฉริยะที่องค์กรและคนทำงานขาดไม่ได้ แต่จากการใช้งานจริง กลับสร้าง ‘ความเครียด’ ให้คนทำงาน จนอาจเข้าสู่ภาวะหมดไฟ

แปลโดย: วันทนา อรรถสถาวร

 

 

เมื่อแชทจีพีที (ChatGPT) เปิดตัวมาในช่วงปลายปี 2022 (พ.ศ. 2565) อนุรัก การ์ก (Anurag Garg)  ผู้ก่อตั้งบริษัทพีอาร์เอเจนซี ต้องการให้ทีมของเขา 11 คน นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับกระบวนการทำงานให้เร็วที่สุด เพื่อที่ธุรกิจของพวกเขาจะได้ตามคู่แข่ง

 

 

 

 

การ์ก สนับสนุนให้ลูกจ้างของเขาใช้เครื่องมือภาษาปัญญาประดิษฐ์ หรือ ‘AI’ สำหรับการงานประจำวันที่ยาวนาน ตั้งแต่การคิดไอเดียให้ลูกค้า

การนำเสนอต่อสื่อ การถอดเทปการประชุม และการสัมภาษณ์ แต่แทนที่มันจะช่วยเพิ่มผลิตภาพให้กับทีม มันกลับทำให้เกิดสภาวะตึงเครียด

 

 

AI ส่งผลให้การทำงานนานขึ้น

ทีมงานของบริษัทนี้ บอกว่า ในความเป็นจริง AI ทำให้การทำงาน แต่ละอย่างนานขึ้น เพราะพวกเขาต้องสร้างชุดข้อมูลสรุปและคำเตือน

สำหรับ ChatGPT ขณะเดียวกันก็ต้องตรวจสอบผลประมวล เพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด ซึ่งมักมีอยู่เป็นจำนวนมาก และทุกครั้งที่ ChatGPT มีการอัปเดต พวกเขาก็ต้องมาเรียนรู้การใช้งานใหม่ ๆ ซึ่งกินเวลาเพิ่มขึ้น

 

 

AI ไม่ลดแต่กลับเพิ่มเวิร์กโฟลว์

ทำให้พนักงานหมดไฟ

นายการ์ก ซึ่งบริหาร Everest PR ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอินเดีย กล่าวว่า  ทีมงานบ่นว่างานของพวกเขาใช้เวลานานขึ้นเป็นสองเท่า เพราะเราคาดหวังให้พวกเขาใช้เครื่องมือ AI

 “จุดมุ่งหมายโดยรวมของการนำ AI เข้ามาใช้ในบริษัทก็เพื่อลดความซับซ้อนในเวิร์กโฟลว์ของผู้คน แต่จริง ๆ แล้วกลับทำให้ทุกคนมีงานให้ทำมากขึ้น และทำให้พวกเขารู้สึกเครียดและหมดไฟ”

นี่คือสิ่งที่บริษัทพีอาร์เอเจนซีแห่งหนึ่ง ซึ่งมีฐานอยู่ในอินเดียและสหรัฐฯ เปิดเผยประสบการณ์การใช้ AI 

 

 

 

ผลสำรวจ ยิ่งใช้ AI ยิ่งเครียด

ความเครียดที่บริษัทนี้เผชิญจากการใช้เครื่องมือของเอในการทำงานเป็นเรื่องที่สะท้อนออกมาในงานวิจัย 

ล่าสุด จากการสำรวจพนักงาน “แรงงานความรู้” (knowledge worker) จำนวน 2,500 คนในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแคนาดาของแพลตฟอร์มฟรีแลนซ์ อัพเวิร์ค (Upwork) พบว่าผู้บริหารระดับสูง 96% กล่าวว่าพวกเขาคาดหวังว่าการใช้เครื่องมือ AI จะช่วยเพิ่มระดับผลผลิตโดยรวมของบริษัทได้ โดย 81% ยอมรับว่ามีความต้องการพนักงานเพิ่มมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

 

พนักงาน 77% ในการสำรวจระบุว่าเครื่องมือ AI ช่วยลดประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มปริมาณงานของพวกเขา และพนักงานที่ใช้ AI 47% ในการสำรวจระบุว่าพวกเขาไม่ทราบวิธีที่จะบรรลุประสิทธิภาพการทำงานตามที่นายจ้างคาดหวัง

จากผลการสำรวจความคิดเห็นของคนอเมริกัน 1,150 คน โดยบริษัทที่เขียน CV ชื่อว่าเรซูเม นาว (Resume Now) พบว่า 61% เชื่อว่าการใช้ AI ในที่ทำงานจะเพิ่มโอกาสที่จะประสบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน เพิ่มขึ้นเป็น 87% ในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 25 ปี

 

 

ระบุ AI ส่งผลกระทบเชิงลบ

ต่อสมดุลการทำงานและชีวิต

ผลการสำรวจของเรซูเม นาว ยังย้ำอีกว่าผู้คน 43% รู้สึกว่า AI จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิต ไม่ว่าเทคโนโลยีนั้นจะมีพื้นฐานมาจาก AI หรือไม่ก็ตาม การสำรวจแสดงให้เห็นว่าคนงานจำนวนมากรู้สึกเครียด สภาวะแบบนี้ยังเกิดกับวงการทนายความในอังกฤษอีกด้วย 

 

 

การสำรวจระบุพนักงานที่ใช้ AI 

ไม่สามารถคุมสถานการณ์ในงานได้

การศึกษาเพิ่มเติมโดยแพลตฟอร์มการจัดการงานอาซาน่า (Asana) ย้ำถึงผลของการแนะนำแอปที่เกี่ยวข้องกับงานมากขึ้น

จากการสำรวจพนักงานด้านความรู้ 9,615 คนในออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา พบว่าพนักงานที่ใช้แอป 6 ถึง 15 แอปในที่ทำงาน มีจำนวน 15% บอกว่าพวกเขาพลาดข้อความและการแจ้งเตือน เนื่องมาจากเครื่องมือที่มีจำนวนมาก

สำหรับผู้ที่ใช้ 16 แอปขึ้นไป  จำนวน 23% กล่าวว่ามีประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง และช่วงความสนใจลดลง เนื่องจากต้องสลับแอปอยู่ตลอดเวลา

ดังที่ แคสซี่ โฮล์มส์ (Cassie Holmes) ศาสตราจารย์ด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในลอสแองเจลิส ได้ให้ความเห็นไว้ในผลการศึกษาว่า การใช้แอปหลายตัวต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นในการเรียนรู้และสลับไปมาระหว่างแอปต่าง ๆ ซึ่งเวลาที่เสียไปนี้เป็นเรื่องน่าเจ็บปวด เพราะเป็นเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์

 

 

ลีอาห์ สตีล กล่าวว่าคาดว่าคนงานจะทำงานได้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง

 

AI ทำให้หมดไฟในการทำงาน

ลีอาห์ สตีล ทนายความที่ผันตัวมาเป็นโค้ช มีความเชี่ยวชาญด้านการช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเอาชนะภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยหลายคนรู้สึกกดดันกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทที่ทำงานอยู่ หลังจากนำเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ใช้ AI มาใช้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เธอคุ้นเคยดี หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการนำแพลตฟอร์มเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ทำให้จำนวนลูกค้าของเธอเพิ่มขึ้นจาก 50 เป็น 250 ราย

ลีอาห์ สตีล กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่พบคือ ความต้องการที่แข่งขันกันอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง แต่บริษัทต่าง ๆ ไม่ได้พิจารณาอย่างจริงจังว่าระบบและเทคโนโลยีที่พวกเขากำลังนำมาใช้นั้นให้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรือไม่ 

“ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว การต่อสู้เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญในพื้นที่ที่ล้ำสมัยเช่นนี้เป็นการต่อสู้ที่ต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง”

 

นางสาวสตีล กล่าวเสริมว่า ปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงานที่ทนายความกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ไม่ได้เกิดจากเพียงปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นของเครื่องมือด้านเทคโนโลยีและ AI เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่ตามมาอีกด้วย

“เมื่อเราพิจารณาถึงภาวะหมดไฟในการทำงาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณงานเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับว่าเรารู้สึกอย่างไรกับงานนั้น และเราได้รับอะไรจากงานนั้นด้วย” นางสาวสตีล กล่าว

“คุณอาจรู้สึกเครียดเมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีปริมาณงานสูงและการควบคุมต่ำ ”

นางสาวสตีล กล่าวเพิ่มเติมว่า ความเครียดที่เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นความเครียด เกี่ยวกับความเสี่ยงในการสูญเสียงาน และความกลัวที่จะถูกแทนที่ จึงไม่สนุกกับงานอีกต่อไป เนื่องจากงานเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

 

 

สมาคมกฎหมายฯ ส่งเสริมให้ใช้ AI อย่างสร้างสรรค์

สมาคมกฎหมายแห่งอังกฤษและเวลส์ ยอมรับว่า  ทนายความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนที่ดีขึ้นจากผู้นำสำนักงานกฎหมาย เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI ได้มากที่สุด

ประธานริชาร์ด แอตกินสัน (Richard Atkinson) กล่าวว่า แม้ว่าปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้การทำงานด้านกฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยทำให้การทำงานประจำวันเป็นแบบอัตโนมัติ แต่ก็อาจทำให้ทนายความต้องทำงานมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง 

“การเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือเหล่านี้ต้องใช้เวลา และทนายความมักต้องเข้ารับการฝึกอบรมและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เทคโนโลยีหลายอย่างไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อภาคกฎหมายโดยเฉพาะ ซึ่งอาจทำให้การเปลี่ยนแปลงมีความท้าทายมากขึ้น”

 

 

Alicia Navarro กล่าวว่า AI สามารถช่วยบริษัทขนาดเล็กได้มาก

 

อลิเซีย นาวาร์โร (Alicia Navarro) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฟราวน์ (Flown) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มและชุมชนออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถจดจ่อกับ ‘งานเชิงลึก’ ได้ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิอย่างต่อเนื่อง เธอเห็นด้วยว่ามีเครื่องมือ AI มากมาย แต่เธอบอกว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้ถูกต้อง

“การกรองและการเรียนรู้จำนวนมหาศาลจะเกิดขึ้นก่อนที่เครื่องมือเหล่านี้จะเริ่มเป็นองค์ประกอบที่สร้างประโยชน์ในชีวิตของเราได้”

แต่เธอยืนยันว่าสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่มีทรัพยากรจำกัด AI สามารถช่วยได้มาก

“เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่บริษัทสตาร์ทอัพสามารถทำอะไรได้มากขึ้น หรือบริษัทต่าง ๆ สามารถจ่ายเงินปันผลได้มากขึ้น หรือจ่ายเงินเดือนให้กับทีมงานได้มากขึ้น”

 

ที่มา: https://www.bbc.com/news/articles/c93pz1dz2kxo